นักวิชาการติง กำหนดโควต้า "เรียกรถผ่านแอพ" สวนทางแข่งขันเสรี วอนรัฐพิจารณารอบด้านก่อนประกาศใช้

พฤหัส ๒๑ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๖:๐๗
นักวิชาการชี้กำหนดโควต้าจำนวนคนขับเพื่อให้บริการเรียกรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านแอพพลิเคชันสวนทางแนวคิดแข่งขันเสรี ฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล ด้านผู้ใช้บริการห่วงจำนวนรถไม่เพียงพอต่อความต้องการ วอนรัฐอย่าปิดกั้นโอกาสทำมาหากิน ขณะที่ผู้ให้บริการแอพหนุนหาทางออกให้ทุกฝ่ายโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน

ผศ.ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจดิจิทัล เผยว่า นับเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐอยู่ระหว่างการผลักดันให้บริการเรียกรถผ่านแอพเป็นเรื่องถูกกฎหมาย ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำประชาพิจารณ์ในช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมองว่าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุในร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารแบบบริการทางเลือก พ.ศ. …. นั้นอาจไม่สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปของเทคโนโลยี โดยเฉพาะประเด็นการกำหนดโควต้าจำนวนรถยนต์ที่จะให้บริการ ซึ่งเป็นระบบที่สวนทางและขัดแย้งกับแนวคิดของการแข่งขันอย่างเสรี และอาจเป็นต้นตอของปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาในอนาคตเหมือนกรณีศึกษาในต่างประเทศ อย่างฟิลิปปินส์หรืออินโดนีเซีย

"ในมุมมองของนักวิชาการ การผลักดันและส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ภาครัฐจะทำงานหรือกำหนดตัวบทกฎหมายในรูปแบบเดิมไม่ได้ ควรต้องเปิดโอกาสและรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในการเลือกทำอาชีพใดๆ รวมถึงกลไกตลาด และที่สำคัญ คือบริบทด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบัน ซึ่งการควบคุมแบบเดิมๆ อย่างการกำหนดโควต้าอาจจะเป็นเรื่องล้าหลังที่ถ่วงการพัฒนาของภาคธุรกิจในยุคดิจิทัล"

นายกิตติชัย กุณะวงศ์ ผู้โดยสารที่เรียกใช้บริการรถผ่านแอพ ให้ความเห็นว่า ในขณะที่ประชาชนกำลังรอให้เกิดการปฎิรูประบบขนส่งสาธารณะในประเทศ การมีแอพเรียกรถที่เข้ามาตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้โดยสารเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการสนับสนุน ทุกวันนี้เวลาที่เรียกรถผ่านแอพและได้รถบ้าน ผมก็ไม่มีปัญหา ในมุมผู้บริโภคเราให้ความสำคัญกับการได้รถทันทีในเวลาที่ต้องการเดินทางมากกว่า ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรเปิดเสรีให้บริการแบบนี้ถูกกฏหมาย และเปิดโอกาสให้คนที่สนใจหารายได้เสริมเข้ามาทำอาชีพนี้ได้อย่างเสรี

ดร.เก่งการ เหล่าวิโรจน์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันเรื่องนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถสร้างรายได้จากการนำรถส่วนบุคคลมาให้บริการรับจ้างสาธารณะผ่านแอพได้อย่างถูกต้อง ที่ผ่านมาแกร็บเองได้สนับสนุนนโยบายและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับภาครัฐ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากประสบการณ์การให้บริการทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดหวังให้ร่างกฎกระทรวงฯ นี้เป็นประโยชน์และสร้างความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เราได้เห็นบทเรียนจากตลาดอื่นๆ ในต่างประเทศมาแล้ว และไม่อยากเห็นความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง ทางออกที่ดีที่สุดคือการเดินหน้าต่อโดยพิจารณาถึงผลประโยชน์ร่วมกันของทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ

ที่มา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4