ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล คว้ารางวัล "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2020" จาก มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ศุกร์ ๒๒ มกราคม ๒๐๒๑ ๐๙:๔๗
วิกฤติ COVID-19 อุบัติขึ้นทั่วโลกเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว ในขณะที่บุคลากรและสถาบันทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านการดูแลสุขภาวะกันอย่างต่อเนื่อง

เป็นเวลากว่า 50 ปีที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รับใช้ดูแลประชาชนชาวไทยด้านสุขภาวะ นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2512 จนปัจจุบันโรงพยาบาลรามาธิบดีดูแลผู้ป่วยนอกถึงปีละ2.3 ล้านคน โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในช่วงวิกฤติ COVID-19 นี้ว่า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นกำลังสำคัญกับภาคส่วนอื่นๆในประเทศ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยประมวลงานวิจัยจากสถาบันต่างๆ ทั่วโลกและร่วมสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยเพื่อใช้ในการควบคุมโรค ป้องกันการแพร่ระบาดรักษากลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รวมถึงได้ดำเนินการให้ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นฐานสำคัญในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง โดยได้สร้าง Negative Pressure ICU เตรียมไว้ถึงประมาณ 70 ห้อง

นอกจากนี้ การขยายการบริการในส่วนของโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่พญาไท ทำให้พื้นที่ของอาคารหลักที่ให้บริการผู้ป่วยสามัญมายาวนานกว่า 50 ปี มีขนาดไม่เพียงพอต่อการรองรับการให้บริการ ประกอบกับตัวอาคารชำรุดตามระยะเวลาการใช้งาน จำเป็นต้องวางแผนระยะยาวคือ สร้างอาคารใหม่ทดแทนอาคาร 1 ซึ่งเป็นอาคารหลักของโรงพยาบาลฯ ซึ่งได้หารือกับทาง องค์การเภสัชกรรม เพื่อขอใช้พื้นที่ประมาณ 7 ไร่ ประกอบกับทางองค์การเภสัชกรรมมีแผนจะย้ายโรงงานบางส่วนไปที่โรงงานใหม่แถวรังสิตอยู่แล้ว โดยอาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่นี้ จะมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 190,000 ตารางเมตร คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้างจนแล้วเสร็จประมาณ 6 ปี อาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่นี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้บริการทางการแพทย์อย่างเดียว หากแต่จะมีศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ ซึ่งรวมเอาคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตพญาไท ซึ่งได้แก่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะวิทยาศาสตร์คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และ คณะสาธารณสุขศาสตร์มาร่วมกันสร้างนวัตกรรม ณ อาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่แห่งนี้ ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม ศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งอาคารแห่งนี้จะมีเตียงผู้ป่วยสามัญอยู่ในความดูแลประมาณ 800 เตียงเป็นฐานสำคัญในการวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านการแพทย์ และเพื่อส่งเสริมการให้การบริการผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพวกเราชาวมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมร่วมผลักดันพัฒนาชาติไทยให้พ้นวิกฤติด้านโรคอุบัติใหม่และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อมวลมนุษยชาติอย่างสุดกำลังกายและกำลังใจต่อไป

และเมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการยกย่องเป็น "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2020" จาก มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) โดยท่านได้กล่าวว่า เป็นรางวัลที่รับแทนชาวคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลทุกคนที่ทุ่มเททำงานเพื่อประชาชน ในการวิจัยสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ สร้างบุคลากรทั้งแพทย์และพยาบาลออกไปรับใช้ประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงให้การรักษาพยาบาลโรคสลับซับซ้อนที่รักษายาก ตามปณิธาน "ปัญญาของแผ่นดิน" ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี