ทีเอ็มบี คะแนนโดดเด่นขึ้นแท่นเบอร์หนึ่ง "การเงินที่เป็นธรรม" สองปีซ้อน ผนึกสองแบงก์เพิ่มพลังขับเคลื่อนสังคม มุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีให้คนไทย

ศุกร์ ๒๒ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๑:๓๔
ทีเอ็มบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นก้าวสู่ธนาคารที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ครองอันดับหนึ่ง "การเงินที่เป็นธรรม" ติดต่อกันเป็นปีที่สอง ด้วยคะแนนที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น จากการประกาศผล "ธนาคารไทยใส่ใจกี่คะแนน ปีที่ 3" จัดโดยแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย หรือ Fair Finance Thailand ปี 2563 พร้อมสานต่อพันธกิจการดำเนินธุรกิจธนาคารที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการเติบโต เพื่อตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รุกเดินหน้าสร้างชีวิตทางการเงิน หรือ Financial Well-being ที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งประเทศ เชื่อเป็นเรื่องสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีเอ็มบีมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่ธนาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Banking) ที่ทีเอ็มบีให้ความสำคัญและผลักดันมาโดยตลอด และพร้อมสานต่อพันธกิจการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายของทีเอ็มบีในการสร้างชีวิตทางการเงิน (Financial Well-being) ที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งประเทศ อันเป็นรากฐานที่จะช่วยให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้

"การที่ทีเอ็มบีได้รับคะแนนสูงสุด เป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องติดต่อกันสองปี จากการประกาศผล "ธนาคารไทยใส่ใจกี่คะแนน ปีที่ 3" ซึ่งประเมินผลความเป็นธรรมของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ตามแนวทาง Fair Finance Guide International โดยแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) ประจำปี 2563 การได้คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในหลายประเด็น เนื่องมาจากความมุ่งมั่นทุ่มเทปฏิบัติตามหลักการธนาคารที่ยั่งยืนและการเงินที่เป็นธรรม ตั้งใจสร้างประโยชน์ให้กับผู้คน เป็นผู้นำวงการธนาคารที่ใส่ใจลูกค้า ตลอดจนสร้างสังคมให้เข้มแข็งและมีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสิ่งที่ทีเอ็มบีนำมาตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน มีทั้งเรื่องการสร้างวินัยในการออมและการลงทุน รวมถึงโซลูชันทางการเงินอื่น ๆ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทุกช่วงชีวิต การสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อในทุกช่องทาง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม"

นายปิติ กล่าวด้วยว่าการสร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริงต้องเกิดจากความเชื่อของทั้งองค์กร เริ่มจากผู้บริหารและคณะกรรมการต้องเป็นแรงผลักดันสำคัญ โดยทั้งทีเอ็มบีและธนชาตมีความเชื่อมั่นตรงกันในเรื่องของความยั่งยืน ดังนั้นภายหลังการรวมธนาคารแล้วก็จะยังให้ความสำคัญต่อไปและผลักดันให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น

"เราเชื่อว่าประโยชน์สูงสุดของการรวมธนาคารในครั้งนี้จะอยู่ที่ลูกค้าของทั้งสองธนาคาร ด้วยการนำจุดแข็งของแต่ละธนาคารมาช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินต่าง ๆ ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ที่สำคัญด้วยแนวทางที่ตรงกันเรื่องความยั่งยืน เมื่อรวมกันแล้วธนาคารมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นทำให้เรามีความสามารถในการขับเคลื่อนประเทศและสังคมได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทิศทางที่สำคัญของธนาคารภายหลังการรวมคือต้องการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย เพราะเรื่องนี้มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อสังคมและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยปัจจัยเรื่องการก้าวสู่สังคมสูงวัยและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ทั้งธุรกิจและผู้บริโภคตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยในทุกเรื่อง"

ด้านนายนริศ อารักษ์สกุลวงศ์ หัวหน้ากลยุทธ์องค์กร ทีเอ็มบี กล่าวว่า ภารกิจของธนาคารไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ต้องพยายามเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริโภคและธุรกิจต่าง ๆ ให้ทราบด้วยว่าสุขภาพทางการเงินที่ดีหมายถึงอะไร ถือเป็นแนวทางที่ธนาคารพยายามทำให้สังคมเรียนรู้เรื่องนี้ในวงกว้าง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ทุกคนต่างได้รับผลกระทบทางการเงิน ซึ่งธนาคารมองเรื่องการสร้างความยั่งยืนและการเติบโตก้าวหน้าของธนาคารเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่ธนาคารจะเดินไปข้างหน้าโดยที่ลูกค้ามีสุขภาพทางการเงินย่ำแย่ ดังนั้น การผลักดันให้ธนาคารก้าวไปข้างหน้า ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น และหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ต้องไปในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับภาพรวมของประเทศก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงเป็นที่มาว่า Financial Well-being เป็นแก่นของการดำเนินธุรกิจของทีเอ็มบีและธนชาต

นอกจากนี้ ทีเอ็มบียังให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending) โดยธนาคารมีแนวคิดในการผลักดันการปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น จึงได้มีการทบทวนนโยบายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Responsibility Policy) เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายดังกล่าว สอดรับกับสถานการณ์ที่เหมาะสมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืน ขณะเดียวกัน ธนาคารได้ร่วมกับผู้ประกอบการที่มีแนวคิดเดียวกัน มีความเชื่อเดียวกันในส่งเสริมการทำธุรกิจที่มีความยั่งยืนต่อสภาวะสิ่งแวดล้อม ร่วมกันทำโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ร่วมกันส่งเสริมให้ลดการเผาไร่อ้อยที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าแนวทางการดำเนินธุรกิจกับความยั่งยืนไปด้วยกันได้

ที่มา: ชมฉวีวรรณ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version