มูลนิธิกระจกอาซาฮี มอบ 7 ทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม, วัสดุศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แก่ นักวิจัย มจธ.ประจำปี 2563

ศุกร์ ๒๒ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๓:๕๗
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับมูลนิธิกระจกอาซาฮี (The Asahi Glass Foundation - AF) สนับสนุนทุนวิจัย ประจำปี 2563 จำนวนทั้งสิ้น 7 โครงการ ใน 3 สาขา ได้แก่ สาขาวัสดุศาสตร์ (Materials Sciences), สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต (Life Sciences) และสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยมีพิธีมอบทุนอุดหนุนการวิจัยขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมประภา ประจักษ์ศุภนิติ (มจธ.)

ทุนวิจัยปี 2563 มีคณาจารย์และนักวิจัยของ มจธ. ได้รับทุนจำนวน 7 คน 3 สาขา ประกอบด้วย

  1. สาขาวัสดุศาสตร์ (Materials Sciences) มี 2 โครงการวิจัย ได้แก่ รศ. ดร.วิทูร อุทัยแสงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการวิจัยเรื่อง "การออกแบบและวิเคราะห์สมบัติวัสดุสำหรับกระบวนการอบชุบและการเชื่อมด้วยเลเซอร์โดยอาศัยแบบจำลองมัลติสเกล (Material design and characterisation for laser heat treating and welding process using a multi-scale approach)" และ ผศ. ดร.ภาติญา เขมาชีวะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการวิจัยเรื่อง "การสลายสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่เป็นอันตรายด้วยกระบวนการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์รูปแบบใหม่ที่มีแผ่นกระจกเคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่เจือด้วยไนโตรเจนภายใต้การฉายแสงที่มองเห็นได้และแสงอาทิตย์ (Photocatalytic Degradation of Hazardous Volatile Organic Compound using an Innovative Reactor with Nitrogen-doped Photocatalyst-Coated Glass Sheets Under Visible and Solar Light Irradiations)" ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการสลายสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่เป็นอันตรายด้วยกระบวนการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง เพื่อแก้ปัญหามลพิษในอากาศ โดยใช้เทคนิคการเคลือบตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่เจือด้วยไนโตรเจนบนแผ่นกระจกในรูปแบบของฟิล์มซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับหน้าต่าง หรือ ประตูภายในอาคาร อีกทั้งยังสามารถใช้ซ้ำและทำงานภายใต้แสงอาทิตย์ได้
  2. สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต (Life Sciences) มี 3 โครงการวิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.ดุจเดือน วราโห อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการวิจัยเรื่อง "การคัดเลือกนาโนบอดีที่จำเพาะกับ PCSK9 จากคลังนาโนบอดีประเภท synthetic camelized human nanobody library เพื่อลดระดับคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) สำหรับการรักษาโรคไขมันในเลือดสูง (Isolation of anti-PCSK9 from a synthetic camelized human nanobody library to reduce LDL-cholesterol for the treatment of dyslipidemia)" ดร.วราสิณี ฉายแสงมงคล อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม โครงการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาอัลกอริทึมการตรวจหาวัณโรคและโรคปอดบวมจากภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดในประชากรชาวไทย (Development and Validation of Tuberculosis and Pneumonia Detection Algorithms for Chest X-Ray Images in Thai Population)" และ ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ สถาบันการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา และจิตวิทยา นักวิจัยพัฒนาการด้านสมอง กระบวนการเรียนรู้และความจำ โครงการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยโรคแบบบูรณาการโดยใช้สมอง สำหรับวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นในเด็ก (Developing an integrated brain-based diagnostic tool for children with attention-deficit and hyperactivity disorder)"
  3. 3.สาขาสิ่งแวดล้อม (Environment) มี 2 โครงการวิจัย คือ ดร.วรธา กลิ่นสวาท อาจารย์คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี โครงการวิจัยเรื่อง "การประเมินผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์ต่อโครงสร้างประชากรและความหลากหลายทางพันธุกรรมของโลมาอิรวดี (Orcaella brevirostris) ในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย (Impacts of human disturbance on genetic connectivity and diversity of populations of coastal and riverine Irrawaddy Dolphin (Orcaella brevirostris) in Thailand and Indonesia)" ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยาเพื่อประเมินผลกระทบของสภาพแวดล้อมในอดีตต่อรูปแบบวิวัฒนาการด้วยข้อมูล mitogenome และผลของกิจกรรมมนุษย์ต่อโครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรในปัจจุบันด้วย microsatellite genotypes โดยฐานข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนจัดการประชากรและถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดีในระยะยาว และ นายอนุชา ขำจริง ผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ โครงการวิจัยเรื่อง "การประเมินภัยคุกคาม และการจัดลำดับความสำคัญของการจัดการเพื่อการอนุรักษ์นากอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทย (Threat assessment and management prioritization for otters' long-term conservation in coastal wetlands of southern Thailand)"

ดร.วรินธร สงคศิริ รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์วิจัย กล่าวว่า มจธ. และมูลนิธิกระจกอาซาฮี มีความร่วมมือกันตั้งแต่ปี 2555 โดยมูลนิธิกระจกอาซาฮีสนับสนุนทุนวิจัยเป็นเงินจำนวน 3 ล้านเยนต่อปี และเพิ่มเป็น 5 ล้านเยนต่อปี ให้กับ มจธ. ในการทำวิจัย โดยตั้งแต่ปี 2555-2563 มีโครงการวิจัยที่ได้รับทุนไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 53 โครงการ รวมงบประมาณ 31,000,000 เยน หรือ 9,169,424 บาท

โดยในปี 2562-2564 มจธ. ร่วมสมทบทุนวิจัยกับมูลนิธิกระจกอาซาฮี เป็นเงิน 10 ล้านเยนต่อปี (ฝ่ายละครึ่ง) เพื่อสนับสนุนให้เกิดผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ดร.วรินธร กล่าวว่า "ทุนวิจัยอาซาฮีเป็นแหล่งทุนสำคัญของ มจธ. ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานในด้านต่างๆ และหลากหลาย ได้ช่วยสร้างองค์ความรู้ใหม่และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของ มจธ. อาทิ การศึกษาวิจัยพลังงานทดแทนทั้งกังหันลมและเชื้อเพลิงชีวภาพ แนวทางการพัฒนา Biosensor โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการวิจัยประเภทวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาสัตว์ป่า การอนุรักษ์และนิเวศวิทยาผึ้งพื้นถิ่น และการต่อยอดการศึกษาสัตว์พื้นถิ่นตามภูมิภาคต่างๆ ที่โครงการเหล่านี้จะขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนอื่นได้ยาก"

นอกจากนี้ ทุนวิจัยอาซาฮียังเป็นทุนวิจัยที่ทำให้นักวิจัยได้ต่อยอดผลงานวิจัยที่มีอยู่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยขยายผลทำให้สามารถนำไปใช้ได้จริง เกิดเป็นผลงานเชิงประจักษ์ เช่น หุ่นยนต์ขึ้นมะพร้าวกำจัดแมลง การออกแบบแขนกลสำหรับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกาย การศึกษาวิเคราะห์สัญญาณสมอง และการบำบัดน้ำเสียรักษาสภาพแวดล้อม เป็นต้น

นอกจากนี้ ทุนวิจัยอาซาฮียังเป็นทุนวิจัยที่ทำให้นักวิจัยได้ต่อยอดผลงานวิจัยที่มีอยู่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยขยายผลทำให้สามารถนำไปใช้ได้จริง เกิดเป็นผลงานเชิงประจักษ์ เช่น หุ่นยนต์ขึ้นมะพร้าวกำจัดแมลง การออกแบบแขนกลสำหรับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกาย การศึกษาวิเคราะห์สัญญาณสมอง และการบำบัดน้ำเสียรักษาสภาพแวดล้อม เป็นต้น

ที่มา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO