ดร. ไมเคิล ฮาเซนสเตบ รองประธานบริหารประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน เทมเพิลตัน โกลบอล แม็คโคร (Templeton Global Macro)
มองแวบแรกดูเหมือนไม่มีอะไรในปี 2564 ที่จะเลวร้ายได้เท่าปี 2563 เราได้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายสุดในรอบ 80 ปีและวิกฤตสุขภาพโลกที่หนักหน่วงที่สุดในรอบ 100 ปีซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายมหาศาลต่อชีวิตและการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเมื่อสิ้นปี 2563 เศรษฐกิจโลกจะหดตัว 4.4% ยังมีแสงสว่างรำไรให้เห็นเมื่อเข้าสู่ปี 2564 เรากำลังเข้าใกล้ถึงจุดที่ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในปีที่แล้ว จะกลายเป็นบทนำไปสู่บทใหม่ของเศรษฐกิจในอนาคต IMF ยังได้คาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2564 จะขยายตัวถึง 5.2% ดีขึ้นจากระดับต่ำสุดของปีที่แล้ว วัคซีนที่เป็นความหวังของทั่วโลกมีการทดลองในหลายเคสและจะถูกส่งไปประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ภายในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะมีศักยภาพลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี ถ้ามองโลกในแง่ดีเรากำลังก้าวไปสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันรุนแรงกว่าที่คาดกันไว้มาก การแพร่ระบาดรอบสองของโควิด-19 เพิ่มขึ้นสูงอย่างน่าตกใจในยุโรปและสหรัฐอเมริกาช่วงเดือนท้าย ๆ ของปี 2563 ทำให้หลายภูมิภาคต้องกลับสู่มาตรการล็อกดาวน์ การแพร่ระบาดที่เลวร้ายที่สุดบางพื้นที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2563 ต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกของปี 2564 ในกรณีที่ไม่มีมาตรการแก้ไขการแพร่ระบาด จะเกิดความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกเดือนที่มีการยกระดับความเข้มงวดและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก สำหรับผู้คนและธุรกิจจำนวนมาก "เวลา" เป็นปัจจัยสำคัญที่พวกเขาต้องเผชิญกับการตกงานหรือภาวะล้มละลาย ในแต่ละวันที่ธุรกิจหยุดชะงัก ไม่มีรายได้และสร้างความเสียหายรวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ที่แย่ไปกว่านั้นคือสภาวะที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้มักจะดิ่งลงไปอีกก่อนที่จะผงกหัวปรับตัวดีขึ้นในที่สุด
โอกาสในการลงทุนกำลังปรากฏขึ้นจากมุมของการลงทุน การมองบวกในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ควรสมดุลกันกับการระวังความเสี่ยงระยะใกล้แบบเฉียบพลัน การระบาดของโรคสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อสินทรัพย์ทางการเงินจำนวนมหาศาล ผลกระทบในวงกว้างที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อลดลงมีแนวโน้มที่จะคงอยู่จนกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาเคลื่อนไหวได้เต็มที่ เรายังคงระมัดระวังสินทรัพย์เสี่ยงจากการคาดการณ์การระบาดระลอกสองของโควิด-19 ในช่วงฤดูหนาว
อย่างไรก็ตามโอกาสในการลงทุนระยะยาวหลายประเภทกำลังเริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น เราคาดว่าเป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันสำหรับการลงทุนบางประเภท เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างทางด้านเศรษฐกิจมหภาคพื้นฐานและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสในบางประเทศ ยอดผู้ป่วยโควิด-19 คาดจะพุ่งสู่จุดสูงสุดในช่วงฤดูหนาวก่อนที่วัคซีนอาจทำให้จำนวนการระบาดลดลงในช่วงฤดูร้อนปี 2564 ระยะเวลาและประสิทธิภาพของวัคซีนจะเป็นตัวกำหนดการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญในปีนี้
การขาดดุลทางการคลังและหนี้ในระดับสูงส่งผลต่อความเสี่ยงระยะยาวนอกจากนี้การทำแผนการดำเนินทิศทางเศรษฐกิจที่นอกเหนือจากแรงกระตุ้นของปี 2564 มีความสำคัญอย่างมาก โดยอัตราการเติบโตระหว่างการฟื้นตัวของปีนี้จะไม่ส่งผลต่อเนื่องไปสู่ปี 2565 และปีต่อ ๆ ไป การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของโลก (GDP) จะอยู่ในระดับปานกลางโดยจะเติบโต 3.8% ในช่วงปี 2565-2568 ตามการคาดการณ์ของ IMF ประเทศที่พัฒนาแล้วเศรษฐกิจจะเติบโตเฉลี่ย 2.2% ส่วนตลาดเกิดใหม่หรือประเทศกำลังพัฒนาจะเติบโตเฉลี่ย 4.9% ในท้ายสุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะลดน้อยลงเนื่องจากรัฐบาลที่มีภาระหนี้ระดับสูงก่อนการระบาดจะมีงบทางการเงินที่จำกัดและขาดดุลทางการคลังสูงขึ้น อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Debt-to-GDP) เพิ่มขึ้นสูงในทุกประเทศ นโยบายกระตุ้นที่แหวกแนว เช่นทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ (Modern Monetary Theory) และการพิมพ์เงินเพื่อชำระหนี้ (Debt Monetization) มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจในแง่การเมืองมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ซึ่งในขณะเดียวกันจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่ไม่มีวินัยทางการเงิน ในมุมมองของเราทั้งในประเทศและทางภูมิศาสตร์การเมืองอีก 10 ปีข้างหน้าปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการบริหารงานรัฐจะถูกเพ่งเล็งมากขึ้น
ความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองเพิ่มสูงขึ้นมิติความซับซ้อนของวิกฤตในปัจจุบันคือสภาวะความไม่มั่นคงของโลกที่มีอยู่ก่อนการระบาด ความตึงเครียดด้านปัจจัยทางการเมืองเพิ่มขึ้นสูง กระแสชาตินิยมที่เพิ่มขึ้นและการแบ่งข้างทางการเมืองทำให้หลายประเทศพบกับความยากลำบากในการหาจุดยืนที่จำเป็นร่วมกันในการจัดการกับความท้าทายจากทั้งภายในและภายนอก โควิด-19 ยังทำให้รัฐบาลหลายประเทศบังคับใช้ข้อกฏหมายที่เกินเอื้อมซึ่งจะทำให้เกิดการต่อต้านหรือคัดค้านได้
นอกจากนี้แนวโน้มการทวนกระแสโลกาภิวัตน์หรือ (Deglobalization) ที่มีอยู่ก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 จะถูกเร่งให้เกิดเร็วขึ้นเนื่องจากหลายประเทศหันกลับมาให้ความสำคัญกับความกังวลภายในประเทศมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศกำลังลดถอยลงท่ามกลางระบบเศรษฐกิจหลัก ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนเชิงโครงสร้างไปสู่การผลิตภายในประเทศและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคจะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินไปอีกหลายปีข้างหน้า
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและธรรมาภิบาล (ESG) จะกำหนดสถานการณ์ยุคหลังโควิดปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและธรรมาภิบาล (ESG) จะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางยุคหลังโควิดของโลกขึ้นใหม่ ความร่วมมือกันเป็นอันดีของคนในสังคมและรัฐบาลจะเป็นแรงผลักดันเร่งการฟื้นตัวหรืออาจฉุดรั้งการฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิดของประเทศได้ น่าเศร้าที่เราเห็นปัจจัย ESG ที่ไม่แข็งแรงในตลาดเกิดใหม่ในช่วงการแพร่ระบาด ประเทศที่ขาดความพร้อมรับมือโรคระบาดจากระบบการดูแลสุขภาพที่ไม่ดีพอและโครงสร้างพื้นฐานที่ด้อยพัฒนาหรือขาดการเตรียมพร้อมจากวิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากความไม่สมดุลทางการคลัง หนี้ในระดับสูงและการพึ่งพาภาคเศรษฐกิจภายนอก ประเทศเหล่านี้มักได้รับความเสียหายอย่างมาก ในทางตรงกันข้ามประเทศที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งมีสถาบันการเงินที่เข้มแข็งกว่า มีหนี้ในระดับที่ต่ำ และมีความหลากหลายทางเศรษฐกิจซึ่งโดยทั่วไปจะมีการฟื้นตัวที่ดีโอกาสเชิงกลยุทธ์สำหรับปีใหม่นี้เราคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นในหลายภูมิภาคเนื่องจากโลกเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคหลังโควิด อย่างไรก็ตามความเสี่ยงในระยะสั้นก็ยังคงมีอยู่ไม่น้อย การล็อกดาวน์และมาตรการข้อจำกัดในระดับภูมิภาคยังคงดำเนินต่อไปเพื่อยับยั้งการระบาดของโรค ข้อจำกัดด้านการเดินทางหรือเคลื่อนย้ายยังคงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการแพร่ระบาดไวรัสจนกว่าวัคซีนจะพร้อมสำหรับการแจกจ่ายในวงกว้าง กว่าจะถึงเวลานั้นรายได้ที่หายไปและอุปสงค์มวลรวมที่ได้รับผลกระทบจะสร้างความเสียหายต่อสภาวะเศรษฐกิจมหภาค เราคาดว่าสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและปลอดภัย (Safe-Haven Assets) ยังคงมีความสำคัญในช่วงเดือนที่การแพร่ระบาดยังรุนแรง แต่ในท้ายสุดสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและปลอดภัยจะสำคัญลดน้อยลงเมื่อวัคซีคสามารถยั้บยังการแพร่ระบาดได้ ในอนาคตเรายังคงมีโอกาสในตลาดสกุลเงินท้องถิ่นบางสกุลขณะที่ยังคงต้องระมัดระวังกับความเสี่ยงในระยะใกล้ เรายังคงมองสถานการณ์เป็นบวกในปีนี้เนื่องจากศักยภาพทางการแพทย์ในการยั้บยังและบรรเทาการแพร่ระบาดโควิด-19
อะไรคือความเสี่ยง?การลงทุนทั้งหมดมีความเสี่ยงรวมถึงความเสี่ยงในการสูญเสียเงินต้น โดยทั่วไปราคาพันธบัตรจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นเมื่อราคาของพันธบัตรในพอร์ตการลงทุนปรับตัวขึ้นตามอัตราดอกเบี้ย มูลค่าของพอร์ตการลงทุนอาจลดลง ความเสี่ยงที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศรวมถึงความเสี่ยงด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและเศรษฐกิจ แนวทางการซื้อขาย ความพร้อมของข้อมูล ตลาดการเงินและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายที่จำกัด ตราสารหนี้ภาครัฐมีความเสี่ยงหลายประการนอกเหนือจากความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้และหลักทรัพย์ต่างประเทศทั่วไปแต่ไปรวมถึง ความเสี่ยงที่หน่วยงานของรัฐที่ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยและชำระคืนเงินต้นสำหรับหนี้สาธารณะได้ การลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่อยู่ภายใต้ความเสี่ยงทั้งหมดของการลงทุนในต่างประเทศทั่วไปและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเนื่องจากขาดความมั่นคงทางกฎหมาย การเมือง ธุรกิจและสังคมที่ถูกตีกรอบไว้เพื่อสนับสนุนตลาดหลักทรัพย์
เกี่ยวกับแฟรงคลิน เทมเพิลตันแฟรงคลิน รีซอร์ส อิงค์ (Franklin Resource) [NYSE: BEN] เป็นองค์กรการจัดการการลงทุนระดับโลกซึ่งดำเนินกิจการร่วมกับบริษัทในเครือ แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (Franklin Templeton) ภารกิจของแฟรงคลินเทมเพิลตันคือช่วยให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการลงทุน การบริหารความมั่งคั่ง และ โซลูชั่นทางเทคโนโลยี โดยผู้จัดการการลงทุนผู้เชี่ยวชาญโดยบริษัทมีความชำนาญในสินทรัพย์ที่ครอบคลุม ทั้งตราสารทุน ตราสารหนี้ การลงทุนทางเลือกและโซลูชันการลงทุนในสินทรัพย์ผสม บริษัทฯ มีพนักงานอยู่ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 30 ประเทศรวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจำนวน 1,300 คน มีประสบการณ์การลงทุนมากกว่า 70 ปีและมีมูลค่าสินทรัพย์ที่อยู่ภายในการดูแล 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชม franklintempleton.com และติดตามเราได้ที่ LinkedIn, Twitter และ Facebook.
Copyright (C) 2020. Franklin Templeton Investments. All rights reserved.
ที่มา: พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง