นายปวิณ วรพฤกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ติงส์ ออน เน็ต จำกัด ได้เปิดเผยข้อมูลจากซิกฟอกส์ (Sigfox) ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบ LPWAN มีเครือข่ายครอบคลุม 72 ประเทศทั่วโลก ว่า ความท้าทายในช่วง 18 - 24 เดือนข้างหน้านี้ คือการเร่งพัฒนาเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ให้ทันการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ เพราะไอโอที คือหัวใจสำคัญในการเชื่อมต่อโลกทางกายภาพกับโลกดิจิทัล ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง และสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเทรนด์ไอโอทีที่น่าจับตามองในปี 2564 มีดังนี้
1. การติดตามและตรวจสอบสินค้า ในวงการการติดตามและตรวจสอบสินค้า ได้พัฒนาเครื่องมือในการระบุตำแหน่งด้วยเทคโนโลยีไอโอที เพื่อให้เกิดฟังก์ชันใหม่ๆ จากเดิมที่บอกแค่ว่าสินค้านั้นได้ส่งออก - ถึงมือผู้รับหรือยัง มาเป็นการติดตามสินค้าตลอดตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง การขนส่งสินค้าจากซัพพลายเออร์ถึงผู้ซื้อสามารถ Track ได้ตลอด เมื่อสินค้าถูกขนออกนอกเส้นทาง ระบบจะส่งสัญญาณเตือน ทำให้สามารถติดตามสินค้ากลับมาได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องเสียเวลาติดตามค้นหาสินค้า นอกจากนี้ ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของ workflow เพื่อนำมาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อความเสียหายในการขนส่งลดลง ประสบการณ์และความพึงพอใจของลูกค้าย่อมดีขึ้น ปัจจุบัน IoT trackers ไม่เพียงสามารถติดตามทรัพย์สินขนาดใหญ่ แต่ยังใช้กับการขนส่งสินค้าที่มีขนาดเล็ก หรือแม้แต่การขนส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งคาดการณ์ว่าภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ จะหันมาใช้บรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรมที่สามารถส่งคืนได้มากขึ้นโดยติดตั้งอุปกรณ์ติดตามที่เปิดใช้งาน IoT เพื่อหลีกเลี่ยงการรั่วไหลในการผลิตและขนส่ง เนื่องจาก IoT trackers สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานเชิงลึก ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนการใช้บรรจุภัณฑ์ระหว่างซัพพลายเออร์และผู้ผลิตในอัตราสูงสุด ลดการสูญเสีย และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน
2. การมอนิเตอร์สภาพแวดล้อมของสินค้าระหว่างขนส่ง เทคโนโลยีไอโอที สามารถตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นได้แบบเรียลไทม์ สำหรับภาคอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าในระหว่างการขนส่งควบคู่ไปกับการติดตามตำแหน่งของสินค้า ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการและลูกค้าในการขนส่งสินค้าที่ต้องมีการควบคุมและดูแลเป็นพิเศษ อาทิ การขนส่งอาหารหรือของสดต่างๆ รวมถึงการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ที่มีมูลค่าและความไวต่ออุณหภูมิสูง เป็นต้น
นอกจากนี้ ไอโอทีเซ็นเซอร์ยังสามารถประยุกต์ใช้กับเครื่องมืออื่นๆ ได้หลากหลาย เช่น เครื่องตรวจจับควัน หรือเครื่องตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งจะส่งสัญญาณเตือนเมื่อตรวจจับพบการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติไปยังผู้ใช้งาน โดยจะสามารถรับการแจ้งเตือนได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความโดดเด่นเหนือเครื่องมือรูปแบบเดิมๆ
3. ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เทคโนโลยีไอโอที มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงระบบโครงข่ายไฟฟ้า ช่วยให้มิเตอร์อัจฉริยะสามารถบริหารจัดการการไหลเข้าและออกของพลังงานจากโครงข่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ ป้องกันการรั่วไหลของไฟฟ้า ป้องกันการโจรกรรมพลังงาน และช่วยให้เจ้าของบ้านส่งพลังงานส่วนเกินจากแผ่นโซล่าร์กลับคืนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะทำให้ประหยัดค่าไฟได้อย่างมีนัยสำคัญ หรือแม้แต่การประยุกต์ใช้ IoT กับยานยนต์อัจฉริยะ smart vehicles ช่วยให้การชาร์จไฟมีประสิทธิภาพดีขึ้น
4. วงจรชีวิตการใช้งานและการเลือกใช้อุปกรณ์เฉพาะเจาะจง แนวโน้มหนึ่งที่มาแรงในปี 2564 คือการพัฒนาอุปกรณ์ IoT ที่เจาะจงการใช้งานมากขึ้น เป็นอุปกรณ์ที่มีวงจรชีวิต การใช้งานและความสามารถเฉพาะสำหรับการปรับใช้ อย่างเช่น เซ็นเซอร์แบบใช้งานครั้งเดียว มีฟังก์ชันที่ง่ายขึ้น แต่จำกัดการทำงานและถูกตั้งโปรแกรมให้มีหน้าที่เฉพาะการส่งข้อความที่ต้องการเฉพาะจะมีผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์
ท่ามกลางการแข่งขันเพื่อลดความซับซ้อน อุปกรณ์ IoT อาจจะง่ายขึ้นด้วยการจำกัดการทำงานหรือป้องกันการรวมเซ็นเซอร์ที่ซ้ำซ้อนกัน สิ่งเหล่านี้สามารถทำได้โดยใช้ฟังก์ชันที่ง่าย ในตำแหน่งที่ตั้งหลักเพื่อส่งข้อมูลสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิไปยังอุปกรณ์ใกล้เคียง การทำงานแบบ "edge approach" นี้ สามารถลดความซับซ้อนของการออกแบบอุปกรณ์ได้อย่างมากและเป็นการช่วยลดต้นทุน
5. IoT security ในปี 2564 เทคโนโลยีไอโอทีด้านระบบรักษาความปลอดภัยจะให้ความสำคัญสูงสุดกับการป้องกัน cyber attacks และการใช้ในทางที่ผิด สามองค์ประกอบที่ต้องให้ความสำคัญคือ การรับรองความน่าเชื่อถือ ความสมบูรณ์แบบในการทำงานของเครื่องมือ และการรักษาความลับของข้อมูลที่ถูกส่ง รวมถึงการเข้ารหัส ซึ่งจำเป็นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการเก็บความลับของข้อมูล
นอกจากการพัฒนาเครื่องมือแล้ว ซอฟต์แวร์และ dashboard ก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไป ความท้าทายในระยะยาวคือ ทำอย่างไรให้เครื่องมือเหล่านี้สามารถทำงานได้หลายปีและยังสามารถกู้คืนข้อมูลได้ นอกจากนี้ อีกหนึ่งจุดเด่นของเทคโนโลยีไอโอทีคือ ขุมพลังในการควบคุมและสั่งการเครื่องมือจำนวนมากๆ พร้อมกัน เช่นเมื่อเราติดตั้งเครื่องมือจำนวนมากและต้องการปรับเปลี่ยนการทำงานของเครื่องมือทั้งหมด เทคโนโลยีไอโอทีสามารถช่วยปรับจูนเครื่องมือจำนวนมากถึงแสนตัวได้พร้อมกันภายในเวลาเพียง 2 - 3 วัน
เกี่ยวกับ ติงส์ ออน เน็ตปัจจุบัน Things on Net เป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้นำไอโอทีโซลูชันครบวงจรด้วยโครงข่ายเทคโนโลยีสื่อสารชั้นนำระดับโลก และเป็นผู้ถือสิทธิ์การให้บริการโครงข่ายซิกฟอกส์ (Sigfox) แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานในการรับส่งข้อมูลต่ำ (Low Power Wide Area Network: LPWAN) โดยมีเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ 72 ประเทศทั่วโลก พร้อมให้บริการเรื่อง Asset Tracking ซึ่งมีอุปกรณ์พร้อมใช้งานในการติดตามสถานะสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ทราบสถานะในการจัดเก็บและขนย้าย เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ฯลฯ
นอกจากนี้ Things on Net ยังเป็นผู้ให้บริการครบวงจรด้วยเทคโนโลยีระดับโลก และอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งานที่ครอบคลุมทุกธุรกิจ อาทิ Smart City & Smart Building ระบบเมืองอัจฉริยะและอาคารอัจฉริยะที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย, Cold Chain Management ระบบตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสำหรับตู้แช่สินค้า ทั้งแบบแช่เย็นและแช่แข็งในอุตสาหกรรมค้าปลีก หรือธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้สินค้าคงคุณภาพความเย็นที่เหมาะสม ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง และการวางจำหน่ายจนถึงมือผู้บริโภค, ระบบ Safety and Environmental สามารถตรวจวัดอุณหภูมิและคุณภาพอากาศเพื่องานด้านความปลอดภัยในการบริหารงาน Facility management และระบบ Energy saving ผู้ช่วยบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IoT Solutions ได้ที่ Contact Center : 02-157-9499
ที่มา: พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส