โดยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 ได้ประกาศ 25 ทีมจากทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จากจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 443 คนจาก 34 ประเทศ ที่ได้ลงชื่อเข้าร่วมประชันไอเดียใน Idathon รอบออนไลน์ ซึ่งทุกทีมได้นำเสนอผลงานดิจิทัลโซลูชัน และโมเดลธุรกิจที่แต่ละทีมได้สร้างสรรค์ ซึ่งการแข่งขันรอบออนไลน์จัดขึ้นโดย ยูเนสโก และฟอสส์เอเชีย (FOSSASIA) เมื่อเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา
เทนเซ็นต์ ประเทศไทย ได้คัดเลือกให้ทีม Roots Routes จากประเทศไทยให้เป็นผู้ได้รับคลาวด์เครดิตสำหรับใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ พร้อมเป็นผู้ให้คำแนะนำและคำปรึกษา โดยทีมนี้เป็นทีมหญิงล้วนที่ได้นำเสนอแพลตฟอร์มด้านการเดินทางที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนเข้ากับวัฒนธรรมพื้นเมือง และชุมชนท้องถิ่นด้วยวิธีการที่ละเอียดอ่อนและยั่งยืน
ส่วนทีมผู้ชนะอื่นๆ ได้สร้างสรรค์โซลูชันหลากหลาย เพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 และประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่หยั่งรากลึกกว่านั้น เช่น แพลตฟอร์มด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Social E-Commerce ซึ่งเป็นสื่อกลางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขาย และลูกค้า และแอปฯ AR/VR ที่พาชมมรดกทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่กำลังจะสูญหายไป ขณะที่ทีมอื่นๆ อีกหลายทีมได้สร้างสรรค์แพลตฟอร์มสำหรับเวทีเสมือนจริง แอปพลิเคชันที่แสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้บนแผนที่ และแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา และตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น
ทีมผู้ชนะจะได้รับรางวัลมากมาย อาทิ เงินรางวัล อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ การสนับสนุนด้านคำแนะนำปรึกษาและการอบรมพัฒนา จากยูเนสโกและองค์กรพันธมิตรที่มีชื่อเสียง ซึ่งการสนับสนุนเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถต่อยอดไอเดีย และนำไปใช้พัฒนาเป็นผลงานต้นแบบต่อไป
คณะกรรมการผู้ตัดสินในการประกวดครั้งนี้ประกอบด้วยคุณปิติ พัชราวลัย ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านประสบการณ์ผลิตภัณฑ์ จากเทนเซ็นต์ ประเทศไทย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ จากบริษัทเทคโนโลยี และสถาบันทางวัฒนธรรมชั้นนำ โดยเหล่าคณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจากการตอบโจทย์การใช้งาน ศักยภาพทางธุรกิจ การออกแบบโซลูชัน การนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ ความสามารถในการขยาย-ลดระบบเพื่อรองรับการใช้งาน
ความร่วมมือ และความเปิดกว้างต่อทุกคน
จากความสำเร็จของโครงการ TechCul Idathon ในครั้งนี้ ยูเนสโก กรุงเทพฯ และ เทนเซ็นต์ ประเทศไทย จึงเตรียมแผนขยายความร่วมมือไปสู่การทำงานร่วมกันในด้านเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยผ่านช่องทางต่างๆ ของบริษัทฯ โดยเฉพาะสนุกดอทคอม เว็บไซต์ข่าวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเมืองไทย
ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ techcul.org
ที่มา: เวิรฟ พับบลิค รีเลชั่นส์ คอนซัลแตนท์ซี