เปิดจุดผ่อนผัน - จัดพื้นที่ค้าขายเพิ่มเติมส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้ผู้มีรายได้น้อย

ศุกร์ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๑ ๑๖:๔๐
นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กทม. กล่าวกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการปฏิรูปกฎหมายการประกอบอาชีพในที่ หรือทางสาธารณะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ โดยจะปรับปรุงกฎหมายที่ไม่มีความจำเป็นและไม่สอดคล้อง หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต หรือการประกอบอาชีพ รวมทั้งมีข้อเสนอแนะเรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดูแลผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ พิจารณากำหนดจุดผ่อนผันให้ชัดเจน รวมถึงจัดมาตรการส่งเสริมบริการสาธารณะและสาธารณูปโภคว่า การปฏิรูปกฎหมายการประกอบอาชีพในที่ หรือทางสาธารณะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เสนอคณะรัฐมนตรีนั้น เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ ได้มีคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน พิจารณาตั้งแต่ปี 2560 โดยกรุงเทพมหานครได้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขาย หรือจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะตามประกาศกรุงเทพมหานคร ได้แก่ พื้นที่ทำการค้าจะต้องมีความกว้างของทางเท้าไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร เมื่อตั้งวางแผงค้าแล้วต้องมีทางเดินสำหรับประชาชนไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร ไม่ตั้งใกล้สถานที่สำคัญในรัศมี 150 เมตร ต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ขณะเดียวกันต้องทบทวนความเหมาะสมของพื้นที่ทำการค้าทุกรอบ 1 ปี ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการค้าต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น เป็นผู้มีรายได้น้อย ผู้ค้า 1 ราย ได้สิทธิ์ทำการค้าเพียง 1 แผงค้าเท่านั้นและไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอนให้แก่บุคคลอื่นได้ รวมทั้งการตั้งวางแผงค้าจะต้องเว้นระยะห่าง เพื่อเป็นทางเข้า-ออกอาคาร ทางขึ้น-ลงสะพานลอย ทางข้าม ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง และประปาหัวแดง นอกจากนั้น ยังได้ปรับภูมิทัศน์ในบริเวณพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชุมชน เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ เช่น ถนนข้าวสาร ถนนไกรสีห์ ถนนเยาวราช รวมทั้งได้พิจารณากำหนดให้มีพื้นที่ทำการค้าโดยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร เช่น บริเวณถนนพระรามที่ 2 ซอย 69 เขตบางขุนเทียน ซอยอ่อนนุช 70 เขตประเวศ ตลอดจนจัดถนนคนเดินให้ผู้ค้าและประชาชนได้มีพื้นที่ค้าขายต่อเนื่อง เช่น บริเวณถนนสีลม ถนนเยาวราช คลองโอ่งอ่าง อีกทั้งได้ประสานหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขอใช้พื้นที่ว่างพัฒนาเป็นจุดทำการค้าให้ผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบและประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้มีพื้นที่จำหน่ายสินค้า สร้างอาชีพ สร้างรายได้ต่อไป

ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะได้ประสานกับกรมขนส่งทางบก กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) การกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะแจ้งความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนได้ทุกวัน

ที่มา: กทม.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ