'สสจ.นครพนม' รายงานสถานการณ์โควิด-19 เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงต่อเนื่อง เตรียมความพร้อมให้บริการวัคซีน

ศุกร์ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๑ ๑๗:๐๐
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.000 น. นายแพทย์มานพ ฉลาดธัญญกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ร่วมประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดนครพนม ครั้งที่ 21/2564 โดยนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุมฯ โดยเป็นการร่วมประชุม Video Conference กับศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอ ทั้ง 12 อำเภอ ณ ห้องประชุมพระธาตุนคร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครพนม (หลังใหม่) โดยที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานสาธารณสาธารณสุขจังหวัดนครพนม พิจารณาการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้มงวดและทำต่อเนื่องในการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันการแพร่เชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม รายงานให้ที่ประชุมทราบข้อมูลจากกรมควบคุมโรครายงานภาพรวมสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดนครพนม (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 07.00 น.) ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ COVID-19 ระลอกใหม่ รายใหม่ 0 ราย ยอดสะสม 1 ราย ผู้ป่วยสงสัยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI : Patient Under Investigation) ปี 2564 รายใหม่ 3 ราย ยอดสะสม 103 ราย คงเหลือติดตามต่อเนื่อง 21 ราย รอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 0 ราย (สิ้นสุดการติดตามวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564) การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active Case Finding) ผู้เดินทางเข้ามาจังหวัดนครพนม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เก็บตัวอย่างส่งตรวจ 5,448 ราย ผลการตรวจไม่พบเชื้อ 5,353 ราย รอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 95 ราย ผู้กักกันในสถานที่ที่จังหวัดจัดให้ (Local Quarantine) ปี 2564 รายใหม่ 0 ราย ยอดสะสม 10 ราย คงเหลือติดตาม จำนวน 6 ราย (สิ้นสุดการติดตาม วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564)

ในส่วนของการติดตามผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดมหาสารคาม (ข้อมูล ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564) มีจำนวนทั้งสิ้น 39 คน และผู้เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด เข้มงวด 4 จังหวัด คือ สมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และพื้นที่ควบคุมสูงสุด 5 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และอ่างทอง (ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564) มีตัวเลขผู้เดินทางรายใหม่ 118 ราย ยอดสะสมทั้งหมด 2,879 ราย เดินทางกลับแล้ว 401 ราย ครบกำหนดกักตัว 1,365 ราย คงเหลือติดตาม 1,113 ราย (สิ้นสุดการติดตาม วันที่ 17 กุมภาพันนธ์ 2564 ข้อมูล ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 20.00 น.)

สำหรับการเตรียมความพร้อมในการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจกลุ่มเป้าหมายและความต้องการวัคซีน ซึ่งจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ ชี้แจงและอบรมบุคลากรในระบบบริการและภาคเอกชน รวมทั้ง อสม. โดยจะมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ชี้แจงและแนะนำประชาชนรวมทั้งผู้นำชุมชนให้มีความพร้อม จัดระบบการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามแผน พร้อมซักซ้อมแผนและสอบทานความพร้อมก่อนเริ่มให้บริการฉีดวัคซีนเข็มแรก

อนึ่ง คณะรัฐมนตรีอนุมัติการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 สำหรับคนไทย ในการจองซื้อล่วงหน้าวัคซีน แอสตราเซนเนกา (AstraZeneca) โดยอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง วงเงิน 2,741,336,000 บาท และให้กรมควบคุมโรคเร่งดำเนินการตามขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประชาชนไทย โดยการจองล่วงหน้า (AstraZeneca) กรอบวงเงินทั้งสิ้น 6,216.25 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 และวันที่ 12 มกราคม 2564 ซึ่งสถาบันวัคซีนแห่งชาติได้ดำเนินการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้าผ่านความร่วมมือแบบทวิภาคีกับบริษัท AstraZeneca จำนวน 26 ล้านโดสแล้ว และเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน COVID-19 ของบริษัท AstraZeneca Thailand เป็นประเภทยาควบคุมพิเศษ ที่สามารถนำหรือสั่งเข้ามาในประเทศไทยได้ โดยต้องปฏิบัติตามประกาศ อย. เรื่อง การอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงดำเนินการจัดซื้อวัคซีนจากบริษัท AstraZeneca โดยวัคซีนล็อตแรก จำนวน 50,000 โดส จะส่งมอบให้ไทยภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้

นายอนุชา บุรพาชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า วัคซีนโควิด-19 ซึ่งไทยจะได้รับภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่จะได้จำนวนเท่าไรและจากประเทศใดนั้น กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการทั้งในส่วนของวัคซีนแอสตราเซนเนกาที่จะเข้ามา 26 ล้านโดส และวัคซีนซิโนแวก ที่ยังไม่สามารถระบุจำนวนตัวเลขได้เพราะอยู่ในขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับ อย.

ส่วนการจัดซื้อจัดหาวัคซีนโควิด-19 จากแหล่งอื่น ๆ นั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ รวมถึงการจัดลำดับกลุ่มประชาชนผู้ที่จะได้รับวัคซีน โดยมีคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นมาร่วมพิจารณาเพื่อนำเสนอกลับมาให้ที่ประชุม ศบค.ได้รับทราบ รวมทั้งเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น

ที่มา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก