คณะพาณิชยศาสตร์ฯ ม.อ.ตรัง ร่วมกิจกรรมเปิดโลกที่โคกสะบ้า จัดโดย ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. วิทยาเขตตรัง

พฤหัส ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๑ ๑๖:๒๓
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ นาข้าว หมู่ที่ 6 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ดร.นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร คณบดีคณะพาณิชยศาตร์และการจัดการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต เชื้อขำ รองคณบดีฝ่ายบริหาร อาจารย์สรัญญา โยะหมาด ผู้ช่วยคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ ในฐานะคณะกรรมการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. วิทยาเขตตรัง ร่วมกิจกรรมเปิดโลกที่โคกสะบ้า เหลียวหลังแลหน้าสืบสานตำนานข้าวโคกสะบ้า จัดโดย ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง บัณฑิตอาสา อาสาสมัครชุมชน นักศึกษาอาสาตำบล จากตำบลควนปริง ตำบลนาข้าวเสีย ตำบลนาหมื่นศรี ตำบลนาโยงใต้ และสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง

ดร.นิพัฒน์ กล่าวว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ พร้อมด้วยบัณฑิตอาสา และนักศึกษาในคณะฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการส่งเสริมให้นักศึกษาในคณะ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมในวันนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นกิจกรรรมที่สร้างประโยน์ต่อชุมชน โดยโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับปณิธานของคณะฯ ในการลงพื้นที่เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชน สืบสานความเป็นอยู่ของชุมชน ให้มีความพร้อมในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ทางคณะฯ ก็พร้อมให้การสนับสนุนในทุกกิจกรรม เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน

นางสาวสุวิมล เกตุทอง ผู้ประสานงานศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. วิทยาเขตตรัง เผยว่า กิจกรรมเปิดโลกที่โคกสะบ้า เหลียวหลังแลหน้าสืบสานตำนานข้าวโคกสะบ้า เป็นเพียงหนึ่งกิจกรรมย่อยของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเป็นความร่วมมือกันของบัณฑิตอาสา อาสาสมัครชุมชน และนักศึกษาอาสาตำบล ร่วมกันจัดกิจกรรม โดยกิจกรรมในครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้มีส่วนร่วมกับชุมชนในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าว พัฒนากระบวนการทำนาข้าวแบบครบวงจร และส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน สร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนและเกษตรกรที่ผลิตข้าว มีกิจกรรมเพื่อสอนให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาการข่มข้าว ผูกซัง เก็บข้าวด้วยแกะ และเสวนาถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำนาข้าว โดยหลังจากนี้จะมีกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป และทางคณะผู้จัดงาน ก็คาดหวังว่าทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นจะเป็นประโยชน์และช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนที่แท้จริง.

ที่มา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ