ซึ่งประโยชน์ของ AI นั้นเห็นได้เด่นชัดยิ่งขึ้นภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากผู้บริโภคต่างหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ เพื่อความบันเทิงเช่นดูหนัง และฟังเพลงเป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคในภาคพื้นเอเชียยอมรับและใช้งานเทคโนโลยี AI อย่างแพร่หลาย พร้อมทั้งตระหนักถึงประโยชน์ของ AI ที่มีต่อการดำเนินชีวิต จากความร่วมมือของ Google Hong Kong และเคพีเอ็มจี ในงานวิจัยเรื่อง Smarter Digital City - AI for Everyone ซึ่งมีการกล่าวถึงมาตรวัดความพร้อมด้านการใช้ AI (AI Readiness Index) ซึ่งผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า 65% ของผู้อยู่อาศัยในฮ่องกงเชื่อว่า AI จะช่วยพัฒนาสังคมโดยรวมได้ ในขณะที่ 63% กล่าวถึงเหตุผลในการใช้ AI ว่าเกิดจากความสะดวกสบายและความสะดวกในการใช้งาน ซึ่ง 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามดังกล่าวใช้เทคโนโลยี AI ในการแปลภาษา และ 79% ใช้ในการเดินทาง ซึ่งเป็นสองกรณีที่ผู้ใช้งาน AI มากที่สุด สำหรับภาคธุรกิจแล้ว 78% เชื่อว่า AI สามารถทำประโยชน์ให้แก่ธุรกิจได้ โดยเฉพาะในเชิงของการพัฒนาคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพ เช่นเดียวกันนั้น งานวิจัย Pulse survey of C-Levels ซึ่งวิจัยผู้บริหารในประเทศไทยพบว่าธุรกิจ 67% ได้มีการเร่งลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลสืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างเปิดรับการใช้และเล็งเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับชีวิตประจำวันแต่ยังช่วยลดผลกระทบเชิงลบของโควิด-19 อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบของโควิด-19 ต่อเทคโนโลยี ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) นั้นเรียนรู้จากข้อมูลที่มีอยู่ โดยทำการหารูปแบบจากข้อมูล (pattern recognition) เพื่อนำมาคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่จะเห็นได้ว่าไม่มีบุคคลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ใด ที่สามารถคาดการณ์ถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากโควิด-19 ได้ เนื่องจากโควิด-19 ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ระบบ AI จึงไม่มีข้อมูลในอดีตที่จะนำมาศึกษา
ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมของปีที่แล้ว การซื้อของออนไลน์ของผู้บริโภคล้วนแต่เป็นสินค้าจำพวกหน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อและยาแก้ปวด ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยากจึงทำให้เกิดสินค้าขาดตลาด
ระบบ AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาส่วนใหญ่นั้นมีการป้อนข้อมูลอย่าง real-time รวมทั้งมีความยืดหยุ่นและปรับใช้ได้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในระดับที่ปกติ แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในระดับที่สูงมาก เช่นในกรณีของโควิด-19 ระบบจะไม่สามารถรับมือกับการแปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้ดังนั้นธุรกิจต่างต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลการทำงานของ AI เพื่อให้รองรับสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ รวมถึงปรับโมเดลให้สามารถรับกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดต่อไปในยุค New Normal ได้ ซึ่งถ้าทำได้ก็จะสามารถทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นและสร้างความยั่งยืนได้
"โควิด-19 กระตุ้นให้เกิดจุดเปลี่ยนทางธุรกิจในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีอยู่แล้วในตลาดมาปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการขององค์กรโดยที่ไม่ต้องสร้างแพลตฟอร์มใหม่ตั้งแต่แรก" คุณศิราภรณ์ จูฬเศรษฐ์ภักดี กรรมการบริหารฝ่ายปรึกษาธุรกิจ และหัวหน้าฝ่ายการจัดการธุรกิจและความปลอดภัยทางไซเบอร์ เคพีเอ็มจีประเทศไทย กล่าว "สิ่งที่สำคัญคือการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความเข้าใจ จัดการ และบูรณาการกระบวนการและข้อมูล พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายใต้แวดล้อมที่มีความยืดหยุ่น"
ที่มา: เคพีเอ็มจี ประเทศไทย