หอการค้าไทย จัดบรรยายออนไลน์ สถานการณ์ส่งออกสินค้าทางทะเลด้วยระบบคอนเทนเนอร์: บริบทไทยและบริบทโลก สรุปสถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต

จันทร์ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๑ ๑๑:๐๙
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย เปิดเผย ภายหลังเป็นประธานกล่าวเปิด การบรรยายออนไลน์ เรื่อง สถานการณ์ส่งออกสินค้าทางทะเลด้วยระบบคอนเทนเนอร์: บริบทไทยและบริบทโลก เนื่องมาจาก สถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบ ต่อห่วงโซ่อุปทานการส่งออกและนำเข้าสินค้าทั่วโลก รวมถึง ประเทศไทย โดยเฉพาะ ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุสินค้า การจัดสรรพื้นที่ระวางเรือเพื่อวางตู้สินค้า รวมทั้ง การปรับเพิ่มขึ้นของค่าระวางเรือ หอการค้าไทย ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการดำเนินการต่างๆ ที่ผ่านมา ร่วมกับ สมาชิก ผู้ประกอบการ ตลอดจน หน่วยงานภาครัฐ เพื่อผลักดันแนวทางแก้ไขปัญหาแต่ละมิติให้บรรเทาลง และเพื่อเป็นการสรุปสถานการณ์ปัญหาขนส่งสินค้าทางทะเล แนวทางแก้ไขปัญหา และ ทิศทางในอนาคต จึงได้จัดการบรรยายออนไลน์ครั้งนี้ขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก ผู้แทนบริษัท เมอส์กไลน์ ไทยแลนด์ (Maersk Line Thailand) ซึ่งเป็น ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลรายใหญ่ที่สุดในโลก มีระบบบริการขนส่ง สินค้าทางทะเลและบริการเกี่ยวเนี่องครบวงจร ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร เพื่อสรุปสถานการณ์ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ในมิติห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ ให้แก่ สมาชิกหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวถึง การขับเคลื่อน แนวทางแก้ไขสถานการณ์ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับส่งออกสินค้า โดย หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ได้ผลักดันข้อเสนอการแก้ปัญหา โดยเฉพาะ ข้อเสนอการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวก ให้เรือใหญ่ขนาดเกิน 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตร ซึ่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เข้าเทียบท่าเรือในประเทศไทยที่แหลมฉบังได้สะดวกขึ้น เพื่อส่งเสริมการนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์ ลดปัญหาการขาดแคลนตู้ฯ ไปยังหน่วยงานภาครัฐต่างๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม รวมไปถึง ได้เสนอต่อ คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อมูลเศรษฐกิจรายสาขา ซึ่งดำเนินงาน ภายใต้ ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 หรือ ศบค.เศรษฐกิจ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธาน โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว จึงมอบหมายให้ กระทรวงคมนาคม ร่วมกับ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งพิจารณากำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว

โดยปัจจุบัน กรมเจ้าท่า ก็ได้ออกประกาศกรมฯ ที่ 25/2564 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่อง การกำหนดให้เรือที่มีความยาวเรือมากกว่า 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตร เข้าเทียบท่า โดยสาระสำคัญ คือ การกำหนดแนวปฏิบัติให้ เรือที่มีความยาวมากกว่า 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตร เข้ามายังประเทศไทยครั้งแรก ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จะต้องขออนุญาตจาก กรมเจ้าท่า และ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วไม่ต้องขออนุญาตอีกภายในระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ โดยเฉพาะ การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ทั้งนี้ การออกประกาศดังกล่าว ภาคเอกชน คาดการณ์ว่า จะช่วยให้สามารถนำเรือใหญ่ที่บรรทุกตู้ คอนเทนเนอร์เข้ามาเทียบท่าเรือ ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 20-30% ในเส้นทางหลัก และ จะส่งเสริมให้มีการนำตู้ฯเปล่า เข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น เดือนละประมาณ 12,000 ตู้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าได้ นอกจากนี้ ยังจะช่วยให้ค่าระวางเรือในการขนส่งจากประเทศไทยลดลง ทั้งนี้ ในช่วงท้าย ได้กล่าวขอขอบพระคุณไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญ ตลอดจน ความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา ตลอดจน ขอบคุณภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่มีส่วนขับเคลื่อนแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

นายพิเศษ ฤทธาภิรมย์ กรรมการ บริษัท เมอส์กไลน์ ไทยแลนด์ กล่าวในการบรรยาย โดยสรุปสาระสำคัญสถานการณ์ปัญหาอุปสรรคการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ Perfect Storm ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ปัญหาหลักเกิดจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การขนส่งเกิดปัญหาคอขวด (Bottle Neck) ที่ท่าเรือ ประกอบกับ การขาดแคลนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าระหว่างท่าเรือ การขนส่งและหมุนรอบของตู้คอนเทนเนอร์ไม่เป็นไปตามตารางเวลา อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่า ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จะคงตัว และ ค่อยๆคลี่คลายลง ภายในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน โดยปลายปี 2564 สถานการณ์จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับ การจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทย ก็จะเป็นปัจจัยเสริมในการช่วยคลี่คลายปัญหาดังกล่าวให้บรรเทาลง สำหรับทิศทางอนาคต มองว่า ควรผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการซ่อมตู้คอนเทนเทอร์ เพื่อรองรับอุปสงค์และอุปทานของตู้ฯ กรณีเกิดการกระชากตัวของอุปสงค์และอุปทานตู้ฯอีกในอนาคต นอกจากนี้ สนับสนุนแนวทางการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ด้านการขนส่งทางทะเลให้มีความสะดวกในทุกมิติ เพื่อบริหารจัดการระบบการนำเข้า-ส่งออก และ การถ่ายลำ หรือ Transshipment ที่ท่าเรือได้ต่อเนื่องและตรงเวลา อย่างไรก็ดี ในอีก 2 ปีข้างหน้า จะมีการต่อเรือสินค้า เพิ่มเข้าสู่ระบบการขนส่งทางทะเลทั่วโลกอีกประมาณ 10% ซึ่งจะรองรับการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วยระบบตู้คอนเนอร์ได้เพิ่มขึ้น เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อม ต่อไป

ที่มา: หอการค้าไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ