สอวช. สร้างความเข้าใจผู้ประกอบการทั่วประเทศ เตรียมพร้อมสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตด้วย BCG Model

ศุกร์ ๐๕ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๕:๕๔
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ในงานสัมมนา "มารู้จัก BCG และจะช่วยธุรกิจไทยให้เติบโตและยั่งยืนจริงหรือ" จัดโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ รับทราบและเข้าใจแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ BCG เพื่อให้สามารถต่อยอด ประยุกต๋ใช้กับธุรกิจ และนับถอยหลังสู่การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทยเข้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตด้วย BCG Model

ดร.กิติพงค์ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นฐาน สร้างความเข้าใจในหลักการของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ภายใต้วิสัยทัศน์ในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ปรับจาก "Nature as Resource" เป็น "Nature as Source" 2. พัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง "เดินหน้าไปด้วยกันและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" 3. ยกระดับอุตสาหกรรม BCG ให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน "นวัตกรรมพรีเมียม ของเสียเป็นศูนย์" และ 4. สร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก "พึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกัน ฟื้นตัวเร็ว" รวมถึงได้เน้นย้ำถึงการที่รัฐบาลประกาศให้ BCG Economy Model เป็นระเบียบวาระแห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับ BCG ซึ่งทุกคนเห็นว่าเป็นจุดแข็งของประเทศไทย เนื่องจากเรามีทรัพยากร มีความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เป็นความได้เปรียบของประเทศอยู่แล้ว (Comparative Advantage) การนำ BCG เข้ามาขับเคลื่อนจะช่วยให้สามารถดึงข้อได้เปรียบนี้ขึ้นมาเป็นความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ของประเทศได้

"แนวคิดด้านนโยบายของ BCG คือการมองภาพรวมการพัฒนาโดยขับเคลื่อนในส่วนที่เป็นยอดและฐานของพีระมิด ส่วนยอดพีระมิด จะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสูง มีผู้ทำได้ในจำนวนไม่มาก แต่สร้างมูลค่าได้สูง ในขณะที่ฐานของพีระมิด อาจไม่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงมากนัก ปรับเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ที่จะทำให้มีผู้ได้ประโยชน์เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ซึ่งการนำเทคโนโลยีไปใช้ครอบคลุมทั้งหมด 4 สาขา ได้แก่ เกษตรและอาหาร พลังงานและวัสดุ สุขภาพและการแพทย์ และการท่องเที่ยวและบริการ รวมแล้วมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจรวมกัน 3.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ตัวอย่างอุตสาหกรรมอาหารที่นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ เช่น ในส่วนยอดของพีระมิด คือการนำเปลือกมังคุดมาทำเป็นสารสกัดแซนโทน (Xanthone) นำไปขายได้ในราคากิโลกรัมละ 2,000 บาท ถ้าอยู่ในเกรดที่บริสุทธิ์มากจะขายได้กิโลกรัมละหนึ่งถึงสองแสนบาท หรือเกรดที่เป็นระดับ Standard ที่ไทยยังไม่สามารถผลิตเองได้ จะขายได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัมละกว่าล้านบาท ในส่วนฐานของพีระมิดคือการส่งเสริมด้านการเกษตร เช่น การนำเรื่องเกษตรแม่นยำเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ ให้ขายได้ในราคาสูงขึ้น หากสามารถทำได้แบบนี้จะช่วยฉุดประเทศไทยให้ออกจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้ โดยสินค้าที่มีศักยภาพสูงในการเพิ่มมูลค่าในไทยมีอยู่หลายกลุ่ม เช่น สมุนไพร, ไขมันจากพืช, น้ำตาล, Cellulose Based, Lignocellulose Based, ยางพารา, ไหม เป็นต้น" ดร.กิติพงค์ กล่าว

ในเรื่อง Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เป็นอีกส่วนสำคัญใน BCG Economy Model เพราะเกี่ยวเนื่องกับความยั่งยืนของประเทศ สถานะการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของไทยในปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างการผลิตที่เป็นแบบเส้นตรง (Linear Model) ส่งผลกระทบต่อการกำจัดขยะที่มีต้นทุนสูง ไม่มีระบบจัดการของเสียอย่างครบวงจร การนำเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาใช้จะช่วยตอบโจทย์การใช้งานทรัพยากรหมุนเวียนได้อย่างคุ้มค่า มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น และยังทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ โดยกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนของไทยตั้งเป้าหมาย ลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3, ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 25% จากการแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่ด้วยการแลกเปลี่ยนของเสีย/วัสดุเหลือใช้ซึ่งกันและกัน (Waste Symbiosis), การขนส่งสินค้าคืนสู่ผู้ขายและรีไซเคิล (Reverse Logistic & Recycle), การหมุนเวียนอาหารถูกทิ้ง (Circular Food Waste) ส่วนเป้าหมายต่อมาคือการสร้างมูลค่าจากเศรษฐกิจหมุนเวียน 3% ของ GDP ทำได้ด้วยการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ ได้แก่ CE Solution Platform (เทคโนโลยี, การจัดการ, การออกแบบเชิงนิเวศ, Match Making) CE Service Provider (มาตรฐาน, องค์ความรู้ที่เฉพาะทาง, แนวทางการพัฒนาธุรกิจ) ผู้ประกอบการเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Entrepreneurs) ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มนักลงทุน, Start up, SMEs ในด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นด้วย

ด้านแนวทางการส่งเสริมของรัฐบาลมีหลายด้าน เช่น R&D Programs, Funding, แพลตฟอร์มความร่วมมือ, กฎระเบียบและแรงจูงใจทางการเงิน/การคลัง, การส่งเสริมการขายและส่งออก เป็นต้น ในส่วนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มุ่งเน้นสนับสนุนด้านการให้ความรู้ เทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ โดยในภาพรวมประมาณการงบประมาณในการวิจัยและพัฒณา BCG ที่รัฐบาลสนับสนุนอยู่ที่สามถึงสี่หมื่นล้านบาท และคาดว่าอยู่ในส่วนสนับสนุนงานวิจัยกว่าหมื่นล้านบาท

ที่มา: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO