เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเมินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ

จันทร์ ๐๘ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๕:๔๑
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเทศไทย) ประเมินว่า สหรัฐฯผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ ตามที่ตลาดคาด ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาวุฒิสภาสหรัฐฯมีมติ 50 ต่อ 49 เสียง ลงคะแนนผ่านมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญฯ รายละเอียดดังนี้ 1)เงินช่วยเหลือโดยตรง (ให้ครั้งเดียว) 1,400 เหรียญฯ สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 7.5 หมื่นเหรียญฯ และคู่สมรส ที่มีรายได้รวมกันน้อยกว่า 1.5 แสนเหรียญฯ รวมเป็นวงเงิน 4 แสนล้านเหรียญฯ 2)เงินช่วยเหลือคนว่างงานเพิ่มขึ้นคนละ 300 เหรียญฯต่อสัปดาห์ (ลดลงจากแผนจากสภาล่างในสัปดาห์ก่อนที่ 400 เหรียญฯ) และจะขยายระยะเวลาการจ่ายถึง 6 กันยายน 65 จากเดิมที่สิ้นสุดในสัปดาห์นี้ 3)จัดสรรเงิน 3.5 แสนล้านเหรียญฯ ให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นแต่ละรัฐ 5)งบประมาณเพื่อขยายการตรวจเชื้อ วิจัย COVID-19 และยับยั้งการขยายของ COVID-19 วงเงิน 1.6 แสนล้านเหรียญฯ 6)ยังไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดย Timeline ในช่วงถัดไปจะส่งกลับไปยังสภาล่าง (คาดโหวตอังคารนี้) และท้ายที่สุดคาดไบเดนจะสามารถลงนามได้ทันก่อน 14 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่มาตรการเยียวยาเดิมจะสิ้นสุดลง

ในขณะที่ภาคบริการได้ประโยชน์จาก Pent-up Demand และ Dollar แข็งค่าระยะยาว การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหหรียญฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 8.9% ของ GDP สหรัฐฯในปี 2019 จะส่งผลให้ อุตสาหกรรมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการได้ประโยชน์ (เช่นเดียวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบก่อน) แต่ในครั้งนี้ธุรกิจภาคบริการที่มี Pent-up Demand จะมีแรงกระตุ้นให้ฟื้นได้เร็ว เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ต่างจากครั้งก่อนที่อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเว้นระยะห่าง (WFH) ของตกแต่งบ้าน สินค้า IT ที่ได้ประโยชน์มากกว่า โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาด ส่งผลให้ Dollar ระยะกลาง-ยาวมีทิศทาง แข็งค่า แต่ในระยะสั้น จากวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจที่เม็ดเงินค่อนข้างสูง อาจส่งผลให้ Dollar อ่อนค่าชั่วคราว

กลุ่มหุ้นไทยที่ได้ประโยชน์ในระยะกลาง-ยาว 1) BANK: ยังเป็นหุ้นกลุ่มหลักในฐานะหุ้นวัฎจักรที่ได้อานิสงค์บวกจากภาวะ Reflation อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) ENERGY PETRO: ทิศทางราคา Commodity โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบจะตอบรับเชิงบวกจากปัจจัยด้านอุปสงค์ 3) SERVICES (TOURISM, TRANS): หุ้นกลุ่มบริการที่โดนผลกระทบอย่างหนักในช่วงวิกฤต COVID-19 น่าจะฟื้นตัวได้เร็ว จาก Pent-up Demand ที่จะกลับมาได้แรงกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบก่อนๆ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ปัจจุบันเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการกระจายวัคซีนที่เร็วกว่าคาด 4) EXPORT (Electronics Food IE Packaging): หุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ได้ประโยชน์ จากแนวโน้ม Dollar ที่เจอจุดต่ำสุด และเข้าสู่รอบการแข็งค่าในระยะยาว

 

ที่มา: บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๑๗ SISB โชว์ผลงาน Q3/67 รายได้แตะ 606.02 ลบ. จำนวนนักเรียนรวม 4,587 ราย หนุนปี 67 แตะ 4,600 คน พร้อมรุกขยายโรงเรียนสาขาใหม่แห่งที่ 7 ใน
๑๐:๒๐ SABINA เผยผลประกอบการงวด 9 เดือน รายได้ 2,692.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% ช่องทาง NSR เติบโต 22.9% พร้อมเดินหน้ารุกทำตลาดปั๊มยอดโค้งสุดท้ายปลายปี
๑๐:๒๒ orbix TECHNOLOGY และ G.U.Group, Inc. ร่วมลงนามผลักดันความก้าวหน้าด้านบล็อกเชน ในระบบการเงินดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
๑๐:๓๘ OPPO ร่วมสร้างอนาคตในงาน The Standard Economic Forum 2024 มุ่งสู่การเป็นผู้นำเทคโนโลยีในยุคเศรษฐกิจใหม่
๐๙:๔๗ CMAN กำไร 9 เดือน 168 ล้านบาท ย้ำธุรกิจหลักแข็งแรง ลุยปรับโครงสร้างเงินกู้ครั้งใหญ่ หนุนผลงานปี 67
๐๙:๓๕ SUPER ติดเทอร์โบ! โชว์กำไร 9 เดือนพุ่ง 3,590.92% บุ๊กกำไรพิเศษ SUNFLOWER - SEE1 กว่า 2,000 ลบ. ลั่น Q4/67 โตต่อเนื่อง ลุ้น COD วินด์ฟาร์มเวียดนาม 30
๐๙:๒๘ UAC เปิดเกมรุกโค้งสุดท้ายเร่งผลิต crude oil แหล่ง L10/43, L11/43 ลุยติดตั้ง Beam Pump เพิ่มอีก 3 ชุด ดันกำลังการผลิตทะลุ 400
๐๙:๔๓ BAFS โชว์ฟอร์มแกร่ง เปิดงบ 9 เดือนแรก ปี 2567 กำไรสุทธิ 152.7 ล้านบาท โตแรง 156% มั่นใจ ไฮซีซัน ท่องเที่ยวท้ายปีคึกคัก
๐๙:๐๐ บอร์ดฯ อาร์เอส อนุมัติตั้ง บ.ย่อย 'อันดามัน เอ็นเตอร์เทนเมนท์' จับมือพาร์ทเนอร์ไทยและตปท. ลงทุน Entertainment
๐๙:๓๘ SSP เปิดงบ Q3/67 รายได้ฯ 845.8 ลบ. รับเงินขายไฟฟ้าเติบโต 7.5% บอร์ดฯ เคาะงบ 8,000 ลบ. ลุยลงทุนวินฟาร์ม บาโก ฟิลิปปินส์ 150 MW หนุนพอร์ทโรงไฟฟ้าเติบโตดับเบิ้ลในปี