อีอีซี รุก 5G ลงนามความร่วมมือ กับ หัวเว่ย พัฒนาคน สร้างทักษะดิจิทัล รองรับ 5G เปิด Huawei ASEAN Academy แห่งแรกของไทยในพื้นที่อีอีซี

จันทร์ ๒๒ มีนาคม ๒๐๒๑ ๐๙:๒๗
ตั้งเป้าอีก 3 ปี ผลิตเพิ่ม 30,000 คน ยกระดับไทยสู่ ศูนย์กลางดิจิทัลแห่งภูมิภาค

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานใน พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) เรื่อง "การสร้างทรัพยากรมนุษย์ และระบบนิเวศ (Talent ecosystem) รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT สำหรับโลกยุค 5G" ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมได้รับเกียรติจาก นายหยาง ซิน (Mr. Yang Xin) อุปทูตรักษาราชการแทนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดีและร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ นายอาเบล เติ้ง (Mr. Abel Deng) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ลงนามในครั้งนี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า การลงนาม MOU ร่วมกับ หัวเว่ย และการเปิด Huawei ASEAN Academy ในพื้นที่อีอีซี ครั้งนี้ จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย และถือเป็นหนึ่งในต้นแบบสำคัญ สร้างความร่วมมือ 3 แกนหลักได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรรองรับเทคโนโลยี 5G ยกระดับขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศไทย โดยมีกรอบความร่วมมือที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่

(1) สร้างฐานความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และแพลตฟอร์ม สำหรับการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี (ICT) จากการจัดตั้ง Huawei ASEAN Academy แห่งแรกของประเทศไทยในพื้นที่อีอีซี มีศูนย์ปฏิบัติการภายในมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเป็นสถาบันฝึกอบรมหลักเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัลของไทย (2) สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการการพัฒนา ICT นำองค์ความรู้และประสบการณ์จากผู้ให้บริการไปยังภาคอุตสาหกรรมเพื่อใช้ 5G ไปเกิดประโยชน์สูงสุด (3) การฝึกอบรม เสริมศักยภาพด้าน ICT และ 5G ตามหลักการพัฒนาบุคลากรตรงความต้องการ (Demand Driven) สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ เข้าสู่การฝึกปฏิบัติ สร้างงานรายได้ดี และ (4) สร้างการรับรองมาตรฐาน (Certification) อำนวยความสะดวกแก่อุตสาหกรรมเป้าหมาย

นายหยาง ซิน กล่าวว่า "แม้ว่าเราจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่นับเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง ที่องค์กรเทคโนโลยีขั้นสูงได้เข้ามามีบทบาทที่โดดเด่นในเศรษฐกิจดิจิทัลและช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ตลอดเวลาที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาของประเทศไทย มุ่งมั่นทุ่มเทที่จะส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ได้ ในวันนี้ การเปิดตัวของ Huawei ASEAN Academy ในประเทศไทย สาขาอีอีซี เป็นดั่งเครื่องยืนยันว่าเราจะบ่มเพาะบุคลากรมากความสามารถได้อีกเป็นจำนวนมาก ทั้งในสาขาการจัดการการสื่อสารและสาขาเชิงเทคนิค ช่วยให้ประเทศไทยเป็นดั่งศูนย์รวมข้อมูลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างต้นแบบใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างไทย-จีน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล"

ทั้งนี้ สกพอ. ได้มอบหมายให้คณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC ) ร่วมกับ หัวเว่ย ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลแก่นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยในปี 2564 ตั้งเป้าหมายฝึกอบรมบุคลากรด้านดิจิทัล จำนวน 6,000 คน และตั้งเป้าว่าจนถึงปี 2567 จะเพิ่มขึ้นถึง 30,000 คน

นายคณิศ กล่าวว่า "วันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับความร่วมมือระหว่าง สกพอ. และหัวเว่ย ในการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล การเปิดตัว Huawei ASEAN Academy (Thailand) สาขาอีอีซี จะนำการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลมาสู่ทุกอุตสาหกรรม และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันประเทศไทย รวมถึงภูมิภาคอาเซียน ให้มุ่งสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง"

นายอาเบล เติ้ง กล่าวว่า "มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับสกพอ. ผ่าน MOU ครั้งนี้ และการเปิด Huawei ASEAN Academy หัวเว่ย มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างรากฐานความรู้ด้านดิจิทัลให้กับเยาวชนไทย โดยทำงานร่วมกับอีอีซี และ มหาวิทยาลัยบูรพา ตลอดจนพันธมิตรทุกภาคส่วน หัวเว่ยพร้อมเดินหน้าทำงานภายใต้พันธกิจ Grow in Thailand, Contribute to Thailand ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี พาร์ทเนอร์ด้านไอซีทีที่ได้รับความไว้วางใจ และผู้ขับเคลื่อนการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัล บริษัทจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อสร้างประเทศไทยอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างเต็มรูปแบบ"

การลงนาม MOU ครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาบุคลากรรองรับเทคโนโลยี 5G .ในอีอีซี ที่ได้รับความร่วมมือจาก หัวเว่ย ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ระดับโลก โดยประเทศไทยได้เปิด Huawei ASEAN Academy ต่อจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย แต่ของไทยได้ให้ความสำคัญถึงการพัฒนาบุคลากรตรงความต้องการ (Demand Driven) คู่ไปกับการเพิ่มทักษะ 5G ในอีอีซี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งในอนาคตจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ โดยใช้ Huawei Academy ที่อีอีซี เป็นต้นแบบ อีกทั้ง หัวเว่ย มีประสบการณ์จัดฝึกอบรมด้านดิจิทัล ให้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน SMEs และกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วกว่า 16,000 คน อย่างไรก็ดี ความร่วมมือกันครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือกับบริษัทระดับโลก ในการยกระดับสร้างบุคลากรดิจิทัลของไทย รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ให้ไทยก้าวสู่ ศูนย์กลางดิจิทัล (Digital Hub) แห่งภูมิภาค เพิ่มความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างเศรษฐกิจและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ที่มา: แฟรนคอม เอเซีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version