NER ตั้งเป้าโตไม่น้อยกว่า 30% จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น

อังคาร ๒๓ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๗:๐๑
บมจ. นอร์ทอีส รับเบอร์ หรือ NER ตอกย้ำปี 2564 คาดมีรายได้โตไม่น้อยกว่า 30% หรือที่ประมาณ 22,000 ล้านบาทและอาจมีการปรับเป้าประมาณการยอดขายใหม่ใน Q2 ตามความต้องการใช้ยางพาราในธุรกิจอุตสาหกรรมมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง และราคายางเฉลี่ยปี 64 จะสูงกว่าปี 63

นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER เปิดเผยถึงเป้าหมายการเติบโตในปี 2564 คาดว่าบริษัทจะมีรายได้ 22,000 ล้านบาท จากปริมาณการขายยางพาราอยู่ที่ 410,000 ตัน โดยบริษัทมีกำลังการผลิตทั้งหมด 465,000 ตัน จากการที่ทั่วโลกสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซพิษไอเสียรถยนต์สู่อากาศนั้น ทำให้ยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) ซึ่งรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด และรถยนต์พลังงานเซลส์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนทั่วโลกมียอดขายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจากการประเมินภาพรวมความต้องการใช้ยางพาราในปี 2564 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากปี 2563 และอาจทำให้บริษัทต้องมีการปรับเป้าหมายของยอดขายใหม่ใน Q2 และคาดการณ์ว่าจะเห็นภาพรวมความต้องการใช้ทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2565

ด้านราคายางพาราเฉลี่ยในปี 2564 จะสูงกว่าปี 2563 จากภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีนที่กลับมาเติบโตได้ดี โดยจีนเป็นหนึ่งในประเทศผู้บริโภคยางพารารายใหญ่ของโลก ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ยางเพื่อการผลิตยางล้อในอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมถึงได้รับผลดีจากการดึงความต้องการใช้ยางธรรมชาติ ที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19

นายชูวิทย์ กล่าวเพิ่มเติม สำหรับสัดส่วนรายได้ปี 2564 ทางบริษัทยังวางนโยบายการจำหน่ายสินค้าในประเทศและต่างประเทศเป็น 60 : 40 ซึ่งในสัดส่วนลูกค้าต่างประเทศแบ่งเป็น จีน 60% , ญี่ปุ่น 20% และอื่นๆอีก 20% เช่น สิงคโปร์ บังคลาเทศ เป็นต้น ทางบริษัทมีประมาณการณ์ในการเพิ่มกลุ่มลูกค้าอินเดีย เพื่อให้เกิดส่วนแบ่งทางการตลาดอุตสาหกรรมยางธรรมชาติออกจากประเทศจีน ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการพึ่งพาลูกค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงอย่างเดียว มองว่าเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมของลูกค้าในประเทศที่มีการเพิ่มกำลังการผลิตจากการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนย้ายมาตั้งโรงงานอยู่ที่ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และลูกค้าต่างประเทศที่มีความต้องการใช้ยางธรรมชาติอยู่ แต่ปริมาณของผู้ส่งออกยางธรรมชาติในประเทศไทยมีปริมาณลดลง

นอกจากนี้สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ARPC) คาดการณ์ปี 2021 ความต้องการใช้ยาง ธรรมชาติของโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-10% (เทียบกับปี 2020 ปรับตัวลดลง -15%) ขณะที่ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มองว่าสถานการณ์ผลผลิตยางพาราโลกในปี 2021 ต่อเนื่องถึงปี 2022 จะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้โดยเห็นสัญญาณมาตั้งแต่ปลายปี 2020 ที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ยางธรรมชาติกลับมาดำเนินธุรกิจกันใหม่และต่างเดินเครื่องกันเต็มกำลังการผลิต ในส่วนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) วางเป้าหมายการผลิตรถยนต์ของไทยปี 2021 ที่ 1.5ล้านคันเพิ่มขึ้น 5.12 % จาก1.42 ล้านคันในปีก่อนสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการใช้ยาง รถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น และคาดว่าความต้องการใช้ถุงมือยางจะเติบโต 25% ในปี 2021 และ 20% ในปี 2022 จากปัจจัยทั้งหมดจะส่งผลให้ราคายางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควันจะเป็นราคาเฉลี่ยที่ 65-70 บาทต่อกิโลกรัมนับจากนี้

ที่มา: ธามดี พลัส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๖:๓๙ คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๖:๐๘ พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๖:๐๑ BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๖:๒๘ บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๖:๐๖ PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๖:๔๖ CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๖:๒๕ ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ