กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส.อ.ท. จัดการประชุม APIC 2006

จันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๐๐๖ ๐๙:๒๕
กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการจัดงานประชุม Asian Petrochemical Industry Conference 2006 หรือ APIC 2006 ว่า การประชุม APIC 2006 เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านการตลาดระหว่างประเทศผู้ที่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งในช่วงเริ่มต้นประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ซึ่งนับว่าประเทศผู้ริเริ่มจัดงานประชุมฯ ได้แก่ประเทศ ญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลีใต้ และหลังจากนั้นจึงได้มีประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย สิงค์โปร์ และอินเดีย เข้าร่วมโดยจัดขึ้นปีละครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีโดยหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน
สำหรับการประชุม APIC2006 ครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 27 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมฯ เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน โดยมีสาระสำคัญหรือ theme ในการจัดงานในครั้งนี้ คือ "Managing Volatility" เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ของวัตถุดิบโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ น้ำมันที่มีความผันผวนเป็นอย่างมากในปัจจุบัน สำหรับรูปแบบการจัดงานจะแบ่งเป็น 2 วันคือในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2549 จะเป็น Marketing Seminar โดยมีบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดชั้นนำ 2 บริษัทซึ่งได้แก่ SRI consulting ในช่วงเช้าและ Tecnon OrbiChem ในช่วงบ่าย ซึ่งทั้ง 2 บริษัทจะให้ข้อมูลในภาพกว้างและภาพประมาณการในอนาคตของธุรกิจปิโตรเคมี และในวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม ในช่วงเช้า คณะกรรมการจัดงาน ได้รับเกียรติจาก ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, Mr.Osama Ishitobi Senior Managing Executive Officer ของ Sumitomo Chemical และ Mr.Mohamed H.Al-Mady Vice Chairman and Chief Executive Officer ของ Saudi Basic Industries Corporation (SABIC) ซึ่งทั้ง 2 ท่านหลังนี้เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในธุรกิจปิโตรเคมีในภาคพื้นเอเชียทั้งฝั่งตะวันออกไกลและตะวันออกกลางเป็น Keynote Speaker โดยในช่วงบ่ายจะเป็นประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละกลุ่มธุรกิจ 7 กลุ่ม ซึ่งได้แก่ 1) General Matters and Raw Materials 2) Polyolefins 3) Styrenics 4) PVC 5) Synthetic Rubber 6) Synthetic Fiber Raw Materials และ 7) Chemicals เพื่อให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงลึกในแต่กลุ่มกลุ่มธุรกิจมากขึ้น
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส.อ.ท. กล่าวต่อว่า จากการประชุม APIC ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องมาถึง 26 ปี จนถึงการจัดการประชุมฯ ในประเทศไทยครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 27 แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการจัดงานเป็นอย่างดีในด้านความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในแต่ละประเทศ ซึ่งโอกาสนี้ประเทศไทยยังได้มีแนวความคิดที่จะขยายขอบเขตไปยังกลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลางซึ่งเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีศักยภาพสูงเพื่อให้มีส่วนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอันเป็นประโยชน์ระหว่างกันมากขึ้น โดยในขณะนี้มีผู้สนใจและตอบรับเข้าร่วมการประชุมแล้วกว่า 900 คนจากทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนอกเหนือโอกาสทางธุรกิจและการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีในแต่ละประเทศแล้ว ในโอกาสอันดีเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยจะได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ร่วมประชุมชาวต่างชาติได้เห็นถึงการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรวมถึงการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่องหลังจากงานประชุมเสร็จสิ้นลงด้วยในอีกทางหนึ่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โทร. (02) 345-1012-3

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ