เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก นำศักยภาพและพลังการประมวลผลให้มาอยู่ใกล้กับผู้ใช้ปลายทางมากขึ้น

พฤหัส ๒๕ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๕๘
ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นรากฐานที่มั่นคงให้แก่ระบบเครือข่ายและเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล องค์กร ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม ผู้ให้บริการด้านเคเบิล และล่าสุดผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่าง กูเกิล และเฟซบุ๊ก ต่างก็มองว่าดาต้าเซ็นเตอร์คือ หัวใจและกล้ามเนื้อของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) การถือกำเนิดขึ้นของคลาวด์เมื่อไม่นานมานี้ยังได้ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของดาต้าเซ็นเตอร์สมัยใหม่  และวันนี้ การพัฒนา 5G และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ก็ทำให้ผู้บริหารด้านไอทีกำลังเริ่มมองไปที่เอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก เพราะต้องการที่จะดึงศักยภาพและพลังการประมวลผลข้อมูลให้มาอยู่ใกล้กับผู้ใช้ให้มากขึ้น  ข้อมูลจากการศึกษาล่าสุดโดยบริษัทวิจัย Global Market Insights พบว่าตลาดของเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็กจะมีมูลค่าสูงเกิน 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2569

กะทัดรัดและครบครัน

เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก ไม่เพียงจะช่วยติดตั้งการใช้งานไอทีสำหรับบริการต่าง ๆ ของคลาวด์ แต่ยังมีทรัพยากรด้านการประมวลผล การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์สำหรับการทำงานของแอปพลิเคชันและการแคชดาต้าด้วย  อีกทั้งยังมีขุมพลัง คุณสมบัติการคูลลิ่ง การเชื่อมต่อ และฟีเจอร์ด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเช่นเดียวกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่บริหารจากส่วนกลาง แต่ข้อดีก็คือขนาดที่เล็กลง นอกจากนี้ การติดตั้งใช้งานไอทีของเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก ยังสามารถจัดการการประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล และการเก็บข้อมูลสำหรับแอปพลิเคชัน ผู้ใช้ปลายทาง และอุปกรณ์ดีไวซ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ความหน่วงต่ำกว่า อยู่ใกล้กับผู้ใช้มากขึ้น

ในทศวรรษหน้าจะเกิดเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่จะปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของเราให้มีความเป็นอัตโนมัติ รวมถึงยานพาหนะไร้คนขับ สมาร์ทซิตี้ และโรงงานอัจฉริยะ ซึ่งทั้งหมดจะถูกขับเคลื่อนด้วยเครือข่ายเคลื่อนที่ 5G, อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) และดีไวซ์อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์สำหรับภาคอุตสาหกรรม (IIoT) แต่ยังมีข้อจำกัดทางเทคนิคหลัก ๆ อีกหลายอย่างที่จะต้องแก้ไขเพื่อปลดปล่อยศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเต็มที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องความหน่วงในการรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่าย  เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก คือโซลูชันที่ทรงประสิทธิภาพ ลดความหน่วง  ด้วยการนำทรัพยากรไอทีให้มาอยู่ใกล้สถานที่ที่ผู้ใช้และดีไวซ์อยู่ ซึ่งจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการประมวลผล การเก็บดาต้า และการวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าเชื่อถือ ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

การ์ทเนอร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าภายในระยะเวลา 4 ปี ร้อยละ 75 ของดาต้าที่เกิดขึ้นในองค์กรจะได้รับการประมวลผลผ่านเอดจ์ ความต้องการมีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์กำลังผลักดันธุรกิจต่าง ๆ ให้นำพลังการประมวลผลให้มาอยู่ใกล้ผู้ใช้ปลายทางมากขึ้น ดังนั้น เอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็กจึงเป็นที่ต้องการในหลาย ๆ อุตสาหกรรมและรูปแบบการใช้งาน

  • ภาคค้าปลีก: เอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็กจะช่วยผู้ค้าปลีกลดช่องว่างและผสานการทำงานระหว่างการจำหน่ายแบบออนไลน์และออฟไลน์
  • ภาคการผลิต: ดาต้าเซ็นเตอร์ผ่านเอดจ์ ที่ติดตั้งในคลังกระจายสินค้า จะรองรับการบริหารจัดการปริมาณข้อมูลสินค้าคงคลังและการจัดส่งสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ในโรงงานต่างๆ ดาต้าเซ็นเตอร์จะบริหารจัดการข้อมูลที่เกิดจากเซ็นเซอร์ รวมถึงระบบการสื่อสารต่าง ๆ ระหว่างอุปกรณ์ อันจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT)
  • ภาคโทรคมนาคม: สำนักงานกลางหลายแห่งของบริษัทโทรคมนาคมกำลังเปลี่ยนสภาพเป็นห้องประมวลผล และนำมาใช้เป็นดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge เพื่อทำให้เน็ตเวิร์กมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โซลูชัน Modular Data Center ตัวเลือกที่ดีที่สุด

Modular Data Center ทำให้ใช้งานบริการไอทีได้อย่างรวดเร็วตามที่ต้องการ รวมถึงสามารถขยายเพิ่มเติมได้ในอนาคตโดยไม่ยุ่งยาก ซึ่งจะช่วยติดปีกให้องค์กรปรับตัวตามพัฒนาการของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ตามความต้องการบริการแบบเรียลไทม์ ดังนั้น Modular Data Center จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับเอดจ์ ดาต้า เซ็นเตอร์ ขนาดเล็ก ที่มีฟีเจอร์มากมาย

  • การติดตั้งใช้งาน: โมดูลที่ประกอบสำเร็จสามารถส่งมากับแร็คอุปกรณ์ ระบบสำรองไฟ (UPS) แบตเตอรี่ สวิทช์เกียร์ อุปกรณ์ระบบคูลลิ่ง และระบบมอนิเตอร์ที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้า ซึ่งสามารถนำโมดูลหลาย ๆ ตัว มาต่อเชื่อมกันได้ตามต้องการสำหรับไซต์ที่ใหญ่ขึ้น
  • ระบบคูลลิ่ง: โมดูลาร์ ดาต้า เซ็นเตอร์ สามารถใช้ระบบคูลลิ่งได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของเอดจ์ ตั้งแต่แบบที่ติดตั้งแบบ In-row ประกบเซิร์ฟเวอร์ ถึงแบบติดตั้งอยู่ในเซิร์ฟเวอร์แร็ค
  • ระบบไฟฟ้า: ส่วนประกอบการออกแบบโมดูลาร์ ประกอบด้วย Utility Power Hookups, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (Standby Generator), โมดูลระบบไฟสำรอง (UPS) และหน่วยควบคุมและแจกจ่ายกระแสไฟฟ้า (PDU) ซึ่งทุกๆ ส่วนทำงานร่วมกันเพื่อรับประกันการทำงานตลอดเวลา

หัวเว่ย คือผู้นำโซลูชันโมดูลาร์ ดาต้า เซ็นเตอร์

โซลูชันโมดูลาร์ อัจฉริยะ สำหรับรูปแบบการใช้งานเอดจ์ขนาดเล็ก ของหัวเว่ย มีผลิตภัณฑ์ 3 ตัว คือ FusionModule500, FusionModule800 และ FusionModule2000 ที่ออกแบบมาเพื่อความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 สามารถประกอบและเริ่มให้บริการออนไลน์ได้โดยใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง  ด้วยแบตเตอรี่ไฟสำรองแบบลิเธี่ยม SmartLi UPS ของหัวเว่ยที่ติดตั้งอยู่ภายใน - สามารถลดพื้นที่ได้ถึงร้อยละ 50-70 ในขณะที่ระบบคูลลิ่งที่ประกอบอยู่ในแร็ค จะช่วยให้อุปกรณ์ไอทีทำงานได้อย่างต่อเนื่องยาวนานมากขึ้น นอกจากนี้ โซลูชันของหัวเว่ยยังรองรับการจัดการดาต้าเซ็นเตอร์หลาย ๆ ตัวจากส่วนกลาง และโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตสำหรับยุคคลาวด์ได้อีกด้วย

ที่มา: แฟรนคอม เอเซีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ