Zeronomics: ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชี้บริษัทส่วนใหญ่อาจพลาดการบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านในตอนนี้มีพัฒนาการที่ช้าเกินไป

พุธ ๓๑ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๓๕
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เผยผลสำรวจล่าสุด เกินครึ่งของบริษัทที่ทำการสำรวจมีโอกาสพลาดเป้าการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ที่ตั้งไว้ในปี 2593 ตามความตกลงปารีส เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ยังไม่เร็วพอ

Zeronomics งานวิจัยที่ศึกษาการจัดหาแหล่งทุนของโครงการสุทธิเป็นศูนย์ ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทขนาดใหญ่ 250 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน 100 ท่าน จากทั่วโลกในระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ปี 2563 พบว่า:

  • ร้อยละ 55 ของผู้บริหารเห็นว่าบริษัทของตนยังมีพัฒนาการไม่เร็วพอต่อการบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์
  • การขาดแหล่งทุนเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดที่บั่นทอนพัฒนาการ โดยร้อยละ 85 บอกว่าบริษัทจำเป็นต้องมีการลงทุนในระดับกลางหรือสูงเพื่อดำเนินการในด้านนี้
  • อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง และบริษัทที่อยู่ในตลาดเกิดใหม่ อยู่ในภาวะลำบากที่สุดในการพัฒนาด้านนี้
  • มีเพียงร้อยละ 47 ของบริษัทที่ทำการสำรวจเท่านั้น ที่สนับสนุนเป้าหมายความตกลงปารีส

อุปสรรคที่ทำให้ช้า

บริษัทหลายแห่งน่าจะชะลอการให้ความสำคัญในเรื่องนี้ไปจนหลังปี 2573  โดยช่วงทศวรรษ 2020 นี้ดูเหมือนจะต้องผ่านไปโดยที่ยังทำอะไรมากไม่ได้ มีผู้บริหารเพียงร้อยละ 34 บอกว่าบริษัทของพวกเขาจะมีพัฒนาการในเรื่องนี้มากที่สุดในระหว่างปี 2573 ถึงปี 2583 ในขณะที่ร้อยละ 37 บอกว่าจะมีพัฒนาการในเรื่องนี้ในระหว่างปี 2583 ถึงปี 2593

บริษัทส่วนใหญ่ชะลอเรื่องนี้ลงเพราะรู้สึกว่ายังไม่พร้อมจะทำได้ตามเป้าหมาย ประมาณร้อยละ 59 บอกว่าจำเป็นต้องปรับองค์กรขนานใหญ่ก่อนจะรับมือกับเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ได้ 

การขาดแหล่งทุนไม่ได้เป็นเพียงอุปสรรคประการเดียวที่บริษัทเหล่านี้กำลังเผชิญ ผู้บริหารประมาณร้อยละ 64 เชื่อว่าการขาดเทคโนโลยีทางเลือกที่บริษัทสามารถเข้าถึงได้เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมพัฒนาการในด้านนี้ ในขณะราว 3 ใน 5 เห็นว่าการขาดการสนับสนุนจากนักลงทุนเป็นอุปสรรคที่มีนัยสำคัญ   

นอกจากนี้ โควิด-19 เป็นแรงกดดันทำให้หลายธุรกิจต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนในการเอาตัวรอดจากวิกฤตให้ได้ก่อน โดยผู้บริหารระดับสูงร้อยละ 52 บอกว่าบริษัทเลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ออกไปก่อนเพื่อสร้างรายได้ให้ได้มากที่สุดในระยะสั้นและกลาง

แนวทางแก้ไข

การสำรวจพบว่าสิ่งที่ผู้บริหารเชื่อ มีความจำเป็นต่อการเร่งเปลี่ยนผ่านให้เกิดขึ้น โดยร้อยละ 81 มองว่าเกณฑ์การวัดสุทธิเป็นศูนย์ที่ได้มาตรฐานเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับผู้บริหาร โดยเน้นถึงเกณฑ์ในปัจจุบันที่เรามี คำจำกัดความที่แตกต่างกัน เกณฑ์การวัดและการรายงานที่ต้องปฏิบัติตาม

ร้อยละ 81 เห็นว่าการประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามแนวทางความยั่งยืนหรือประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลทางการเงินที่น่าดึงดูดจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านให้เกิดขึ้น 

นอกจากนี้ ร้อยละ 79 บอกว่าความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการ และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับสุทธิเป็นศูนย์จะช่วยทำให้บรรลุได้ตามเป้าหมายปี 2593  

ปัจจัยเร่งการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่สุทธิเป็นศูนย์ 

การวัดพัฒนาการของสุทธิเป็นศูนย์ทั่วโลกที่ได้มาตรฐาน การเปิดเผยข้อมูลและเกณฑ์การให้คะแนน ร้อยละ 81
ประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น / การประหยัดต้นทุนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามแนวทางความยั่งยืน ร้อยละ 81
คู่ค้าทางธุรกิจเรียกร้องให้มีการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นไปเพื่อสุทธิเป็นศูนย์มากยิ่งขึ้น ร้อยละ 79
แรงกดดันจากผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้น / ความเห็นและแรงกดดันจากนักลงทุน ร้อยละ 78
ภาษีคาร์บอนทั่วโลกที่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 77

บิล วินเทอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า "ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่มีความตั้งใจในการมุ่งสู่เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเพียงพอที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น ส่วนใหญ่มองว่าแหล่งทุนเป็นอุปสรรคสำคัญ โดยอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง และบริษัทที่อยู่ในตลาดเกิดใหม่ อยู่ในภาวะลำบากที่สุดในการพัฒนาด้านนี้"

"แม้ว่าจะมีอุปสรรค แต่การเปลี่ยนผ่านสู่สุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างประสบความสำเร็จจะต้องเกิดขึ้น โดยไม่ทิ้งประเทศใด ภูมิภาคใด หรือชุมชนใดไว้ข้างหลัง และต้องมีการดำเนินการที่รวดเร็ว เราต้องลงมือตอนนี้และเราต้องร่วมมือกัน ทั้งบริษัทต่างๆ ผู้บริโภค รัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแล และอุตสาหกรรมการเงิน ต้องประสานงานกันเพื่อพัฒนาโซลูชั่น เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน"

Zeronomics ฉายภาพทางเศรษฐศาสตร์ของการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดทำการศึกษาเรื่องสำคัญระดับโลกนี้เพื่อทำความเข้าใจพัฒนาการของบริษัทต่างๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบทสำรวจนี้แสดงให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างความตกลงทางลายลักษณ์อักษรกับการเปลี่ยนผ่านที่แท้จริง 

การจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ถือเป็นความท้าทายยิ่ง ทุกองค์กรในทุกภาคส่วนมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดภาวะโลกร้อน พันธกิจต่อเรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องสำคัญของทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน บริษัทขนาดใหญ่หรือเล็ก และการจะบรรลุได้ตามเป้าหมาย พวกเขาต้องมีการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ 

เกี่ยวกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

เราเป็นกลุ่มธนาคารสากลชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจใน 59 ตลาดที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และให้บริการลูกค้าในอีก 85 ตลาด โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการค้า การลงทุนและการสร้างความมั่งคั่ง หลักการที่สืบทอดมาและค่านิยมองค์กรของเราสะท้อนอยู่ในพันธกิจของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่ว่า Here for good  

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจำกัด มหาชน ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนและฮ่องกง  

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการอ่านบทความจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดเยี่ยมชม Insights ได้ที่เว็บไซต์ www.sc.com และติดตามสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ทาง Twitter, LinkedIn และ Facebook

ที่มา: ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ