“กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ชี้พืชสวนโลก สานสัมพันธ์ ไทย-เทศ ยกระดับนวัตกรรมเกษตรไทยสู่ตลาดการค้าโลก”

พุธ ๒๕ มกราคม ๒๐๐๖ ๑๔:๔๘
กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--รี้ด เทรดเด็กซ์
ดร.วีรชัย พลาศรัย รองอธิบดี กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า การที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่เชียงใหม่ จะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่ทั่วโลกรู้จักกันมากขึ้น เพราะเป็นการแสดงศักยภาพทางด้านการผลิตพืชผลทางเกษตรและการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์พืชเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก
กระทรวงการต่างประเทศ มีบทบาทในการประสานงานเชิญต่างชาติเข้าร่วมงานโดยใช้สายสัมพันธ์ที่มีอยู่และสร้างสายสัมพันธ์ใหม่ๆ ขณะนี้มีประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมงานแล้วจำนวน 22 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม มาเลเชีย กัมพูชา ลาว อินโดนีเชีย อินเดีย เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ ปากีสถาน อิหร่าน การ์ตาร์ ตุรกี สเปน เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ บัลกาเรีย มอริเตเนีย เคนย่า และบราซิล และมีกำหนดเข้าเริ่มการก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2549
หลายประเทศมีการวางแผนเตรียมการและดำเนินการแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่นส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูสถานที่และกำหนดพื้นที่ โซนประเทศยุโรป อาทิ สเปน เตรียมทุ่มงบประมาณ 60 ล้านบาทเพื่อเนรมิตสวนบนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร และอีกหลายประเทศกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ สาเหตุที่ต่างประเทศตอบรับการเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประเทศไทย มีกษัตริย์นักการเกษตรเอกของโลก ซึ่งประชาชนจงรักภักดี และเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี ในปี 2549 และ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 ปี ในปี 2550 ที่คนไทยทั้งแผ่นดินภาคภูมิใจ
การจัดงานราชพฤกษ์ 2549 นี้เป็นผลดีในหลายด้าน อาทิ การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคณะฑูตประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น สร้างความเข้าใจระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐ การขยายตัวสินค้าการเกษตรสู่ตลาดการค้าโลก เช่น สมุนไพรไทยที่สามารถนำมาใช้ในรูปของสินค้าและบริการ เช่น การทำสปาสมุนไพรผิวหน้าและร้านอาหาร ได้รับการตอบรับที่ดีจากต่างประเทศและคนไทย การกระจายงานและกระจายรายได้ สร้างคนสร้างงาน การขยายตัวของธุรกิจจากเพียงแค่ขายสินค้าปลีกและส่ง นำไปสู่การส่งออกในรูปของการขยายฐานกิจการแบบครบวงจรต่อไปในอนาคต การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และห้องทดลองการเกษตรขนาดใหญ่อาเซียน และชาวเชียงใหม่จะมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์ครบสาระและสวยงามที่สุดไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาและใช้ประโยชน์ต่อไป
“เมืองไทยไม่ได้ล้าหลังด้านเทคโนโลยีอย่างที่หลายคนกังวล เพราะสินค้าการเกษตรของเราก็มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ส่วนเทคโนโลยีก็มีความทันสมัยล้ำหน้ามากกว่าบางประเทศ มีคุณภาพดีเป็นอันดับต้นๆ แต่ในเรื่องการบริหารจัดการอาจต้องใช้เวลาในการปรับปรุงให้ดีกว่านี้เพื่อที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ในระดับใกล้เดียวกัน งานนี้จะเป็นการเรียนรู้เทคโนโลยีซึ่งกันและกัน หากมีการแข่งขันกันเกิดขึ้น ก็จะแข่งขันกันในด้านการผลิตและการรับการลงทุนระหว่างประเทศ เช่น เวียดนาม ซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญ ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ไทยจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งในด้านการผลิตและการบริหารจัดการใหม่ๆ แทน
ดังนั้นเป็นโอกาสอันดีที่คนไทยจะใช้เวทีนี้ในการแสดงศักยภาพทางด้านการเกษตรสู่สายตาโลกและเรียนรู้เก็บเกี่ยวนวัตกรรมใหม่ๆ จากนานาประเทศนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ 2549 นี้ เป็นการนำเสนอพันธุ์พืชเกษตรไทยและเป็นเวทีในการแสดงสินค้าด้วยเพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐ เอกชน และประชาชนตื่นตัวหันมาให้ความร่วมมือในการระดมความรู้ด้านการเกษตรและพันธุ์พืชไม้นานาชนิด เป็นการดึงดูดให้นักลงทุนจากต่างประเทศหันมาให้ความสนใจลงทุนความรู้ด้านการเกษตรกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยที่จะกลายเป็นผู้นำตลาดสินค้าภาคการเกษตรของโลกในอนาคต
ดังจะเห็นได้จากสถิติมูลค่าการส่งออกพบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมในปี 2547 ไทยส่งออกอยู่ที่ 414,646.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 46 ร้อยละ 13.6 และมูลค่าการส่งออก สินค้าเกษตรกรรมในปี 2548 ตั้งแต่เดือนมกราคม — พฤศจิกายน มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม มีมูลค่า 381,997.4 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 โดยเฉพาะไม้ผลในประเทศที่มีการส่งออกมากกว่าเดิม อาทิเช่น สับปะรด 18,900 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.28 ลำไย 4,798 ล้านบาท ร้อยละ 15.95 ทุเรียน 1,877 ล้านบาท ร้อยละ 40.03 และมังคุด 1,040 ล้านบาท ร้อยละ 125.11 ฯลฯ และมั่นใจว่าจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดงานระดับมหกรรมโลก จะเป็นประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจโดยเฉพาะการส่งออกด้านพืชผลทางการเกษตรและพรรณไม้ต่างๆ เติบโตยิ่งขึ้นและมีส่วนช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นผู้นำตลาดพืชผลทางการเกษตรและไม้ประดับที่ใหญ่ที่สุดในโลกต่อไป” ดร.วีรชัย พลาศรัย กล่าว
งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ”ราชพฤกษ์ 2549” จะจัดขึ้นบนพื้นที่ 470 ไร่ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 - 31 มกราคม 2550 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 92 วัน คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน 2 ล้านคนตลอดระยะเวลา 3 เดือน และคาดว่าประเทศไทยจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดงานครั้งนี้ประมาณ 18,411 ล้านบาท ไม่รวมรายได้ต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นระหว่างเตรียมงานและมูลค่าการส่งออกที่จะเพิ่มขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นงาน
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ :- สำนักงานผู้บริหารงานปฏิบัติการ กิจกรรม และ ประชาสัมพันธ์
นวพร โรจน์อารยานนท์ โทร. 0-2686-7252 หรือ 05-9079490
email:[email protected]
สุวรรณา จารุธนกิจพานิช โทร. 0-2686-7329 หรือ 01-615-2558
email:[email protected]
เกศินี พันธุ์ธีรานุรักษ์ โทร. 0-2686-7360 หรือ 01-9893416
email:[email protected]
อ้างอิง : www. www.mfa.go.th
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ