ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เช่น งดเล่นสาดน้า ประแป้ง งดการเล่นปาร์ตี้โฟม โดยอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า หน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าหากเปียกน้ำหรือมี ความชื้น เส้นใยของผ้าที่เปียกทำให้น้ำลายและเชื้อโรคซึมผ่านเข้าออกได้ง่าย ทำให้คุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้ละอองฝอยน้ำลายออกจากปากและจมูกของเราไปสู่ภายนอกก็ลดลงและยังเสี่ยงต่อการรับเอาละอองฝอย น้ำลายของคนอื่นเข้ามาสู่จมูกและปากของเราได้อีกด้วย
การสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือด้วยน้ำอบ จัดเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวันสงกรานต์ น้ำอบเป็นเครื่องหอมไทยชนิดหนึ่งที่ทำโดยการนำเครื่องหอม เช่น ดอกไม้ หรือส่วนของพรรณไม้หอมมาผ่านกระบวนการต้ม อบร่ำแล้วปรุงด้วยลอยดอกไม้หอม อาจมีการผสมสมุนไพรและแป้งร่ำ ซึ่งเป็นเครื่องหอมไทยชนิดหนึ่งทำโดยการนำแป้งหินหรือแป้งนวล ที่อาจผสมพืชสมุนไพรที่เป็นผง เช่น พิมเสน ขมิ้นชัน ว่าน ไพล นำมาผ่านการอบร่ำหรือผสมกับน้ำอบหรือน้ำลอยดอกไม้หอมให้มีลักษณะเหนียว ข้น แล้วทำให้มีรูปทรงตามต้องการและทิ้งไว้ให้แห้งจึงทำให้น้ำอบมีกลิ่นหอมจากส่วนผสมต่างๆ
ซึ่งมี สรรพคุณที่เป็นประโยชน์ ตัวอย่างส่วนผสมและสรรพคุณที่นิยมใช้ เช่น เตยหอม กลิ่นของเตยหอม มี คุณสมบัติเด่นสาหรับการปรับสมดุลการไหลเวียนของโลหิต รักษาอาการท้อแท้ หดหู่ แก้ปวด ระงับประสาท บำรุงจิตใจ ดับกลิ่น ไล่แมลง ชะลูด มีกลิ่นสดชื่น บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก เป็นเครื่องช่วยปรุงกลิ่น ที่สำคัญของการปรุงเครื่องหอมไทยแทบทุกประเภท มีผลต่อระบบประสาท ช่วยรักษาความตึงเครียดและทำให้ จิตใจเบิกบานหายหดหู่ ดอกกระดังงา มีน้ำมันหอมระเหย มีสรรพคุณ คลายความตึงเครียด บำรุงประสาท บำรุงจิตใจ กระตุ้นระบบหมุนเวียนโลหิต การทำน้ำอบมีสูตรที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปมีขั้นตอนการทา ดังนี้
1) การสกัดกลิ่นหอมจากเครื่องหอมที่ต้องการ เช่น ชะลูดมาต้มให้เดือด ลดไฟอ่อน แล้วใส่เตยหอม หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ลงไปต้ม เป็นเวลาประมาณ 15 นาที โดยไอน้ำจะพาน้ำหอมจากเครื่องหอม เกิดการ ควบแน่นกลายเป็นของเหลวไหลลงสู่ภาชนะพักให้เย็น แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำเครื่องหอมที่ได้ใส่ในโถ กระเบื้องเพื่อไปอบควันเทียน
2) การอบควันเทียน ใช้เทียน อบจุดไฟแล้วดับเทียนอบเพื่อให้เกิดควัน นำไปวางบนทวน (เครื่องดิน เผาสำหรับรองตะคัน)ในโถกระเบื้องแล้วปิดฝาอบต่อนานประมาณ 15-20 นาที น้ำเครื่องหอมที่ผ่านการสกัดจะดูดซับควันเทียนที่มีกลิ่นหอม หากต้องการเพิ่มความหอมของควันเทียน ก็อาจจะอบช้าหรือใช้ระยะเวลานานขึ้น
3) การร่ำน้ำอบ โดยการนำส่วนผสม เช่น กำยานป่น ผิวมะกรูดป่น ใส่ตะคัน (เครื่องปั้นดินเผารูป คล้ายจานขนาดเล็ก) ที่เผาจนร้อนวางบนทวนที่อยู่ในโถกระเบื้องน้ำอบควันเทียน แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อส่วนผสมถูกวางบนตะคันที่ร้อน จะระเหยเป็นควันที่มีกลิ่นหอมและดูดซับด้วยน้ำเครื่องหอม
4) การปรุงน้ำอบด้วยแป้งร่ำเพื่อให้มีกลิ่นหอมมากยิ่งขึ้น
สำหรับน้ำอบที่ดี มีคุณภาพเหมาะแก่การนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 257/2560 เรื่อง น้ำอบ โดยจะต้องเป็นของเหลวใส ไม่พบส่วนที่เป็นน้ำมันลอยเหนือน้ำอบ ไม่มีสิ่งแปลกปลอม มีสีดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้และไม่มีกลิ่นอื่นที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนสารปนเปื้อน ได้แก่ ตะกั่ว ต้องไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สารหนู ต้องไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปรอท ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แคดเมียม ต้องไม่เกิน 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และต้องไม่พบจุลินทรีย์ เช่น ซู โดโมแนส แอรูจิโนซา สตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส เป็นต้น
หากท่านต้องการทราบวิธีการทำน้าอบ น้ำปรุง หรือศึกษาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลได้ ที่กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นได้ทาง http://siweb.dss.go.th นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการยังให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบหาปริมาณตะกั่ว สารหนู ปรอท แคดเมียม ในน้ำอบ ติดต่อได้ที่กองเคมีและผลิตภัณฑ์อุปโภค สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2201 7000 ในวันและเวลาราชการ
ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์บริการ