ธุรกิจบริการด้านการเงินเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีคลาวด์ ช่วยให้ความมุ่งมั่นในการปฏิรูปองค์กรประสบความสำเร็จ

จันทร์ ๑๙ เมษายน ๒๐๒๑ ๐๘:๔๙
บทความโดย นายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

ตลอดปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมบริการด้านการเงินดั้งเดิม ต่างเริ่มตื่นตัวรับรู้ถึงโอกาสที่มาพร้อมการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าในอดีตองค์กรธุรกิจด้านนี้มีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างช้า ๆ แต่ก็เป็นภาคธุรกิจระดับแนวหน้าที่มีความพยายามในการปฏิรูปองค์กร เห็นได้จากการมองหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะรักษาลูกค้า และหาวิธีทำให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กร เมื่อต้องเผชิญกับการล็อกดาวน์ในช่วงโควิด-19 และหาวิธีต่อกรกับการแข่งขันจากเหล่าผู้เล่นฟินเทคที่มีความคล่องตัวกว่า 

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าหนึ่งในพัฒนาการด้านฟินเทคที่เด่นชัดที่สุดของไทยคือการพัฒนามาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงินผ่านอุปกรณ์โมบาย นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีการใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลหรือ Biometrics มาใช้ การพัฒนาระบบ (NDID) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลการพิสูจน์ยืนยันตัวตน ช่วยให้ผู้ใช้บริการทางการเงินสามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องยื่นเอกสารหลายครั้ง เช่น การเปิดบัญชีและการขอสินเชื่อ

นอกจากความท้าทายจากฟินเทคแล้ว การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้พยายามตอบความคาดหวังของลูกค้าที่ต้องการใช้บริการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดิจิทัลแบงค์กิ้ง การชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล การซื้อประกัน และการให้บริการด้านสินเชื่อต่าง ๆ ซึ่งต้องปรับตัวนำโซลูชั่นที่ทันสมัยมาใช้

บริษัท ที ลิสซิ่ง จำกัด ที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ผู้นำธุรกิจให้บริการสินเชื่อรถจักรยานยนต์ของไทย ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่อง โดยยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 1.5-1.6 ล้านคัน และ "สินเชื่อเช่าซื้อ" ก็เติบโตควบคู่กันและมีการแข่งขันสูง

ที ลิสซิ่ง เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการอัปเกรดระบบงานหลักเพื่อรองรับการทำงานในปัจจุบันที่บริษัทปล่อยสินเชื่อรถจักรยานยนต์มูลค่ามากกว่าเดือนละ 500 ล้านบาท และนำแอปพลิเคชั่น H-Meter 2020 ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทซีเนียร์คอม จำกัด บนโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จของนูทานิคซ์ มาให้บริการด้านสินเชื่ออย่างครบวงจร โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถเร่งความเร็วในการอนุมัติสินเชื่อจากเดิมภายใน 15 นาที เหลือเพียงภายใน 5 นาที นอกจากนี้ยังรองรับกฎระเบียบใหม่ ๆ และปลอดภัย รวมถึงการนำแชทบอตและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อเร่งการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว และให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพครบวงจร

เช่นเดียวกับธุรกิจด้านการธนาคาร ข้อมูลจากการสำรวจของ FICO ระบุว่าคนไทย 59% นิยมติดต่อธนาคารผ่านช่องทางดิจิทัลในช่วงที่ประสบปัญหาด้านการเงิน (44% ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง และ 15% ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง) แสดงให้เห็นว่าสถาบันการเงินดั้งเดิม จำเป็นต้องมีความคล่องตัวมากขึ้นและเร่งนำนวัตกรรมมาใช้ให้เร็วขึ้นเพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์นี้ ดังนั้นในปีนี้นูทานิคซ์คาดว่าจะได้เห็นการเร่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบแมนนวลให้เป็นอัตโนมัติ และเพิ่มผลิตภัณฑ์ดิจิทัล

หัวใจของการทำงานรูปแบบใหม่จะอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่สร้างจากไฮบริดและมัลติคลาวด์ มีการนำไฮบริดคลาวด์มาใช้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบเป็นความต้องการที่เจาะจงของบริการด้านการเงิน และเหมาะอย่างยิ่งกับสภาพแวดล้อมไฮบริดและมัลติคลาวด์ กล่าวคือ พับลิคคลาวด์มอบความยืดหยุ่นและความคล่องตัว ในขณะที่ไพรเวทคลาวด์มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยและมอบความสามารถในการควบคุมได้ในระดับสูง ไฮบริดและมัลติคลาวด์เป็นการรวมคุณสมบัติของคลาวด์ทั้งสองประเภทนี้เข้าด้วยกัน

นับเป็นเรื่องดีที่ภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างต้องการส่งเสริมในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ การปฏิรูปบริการด้านการเงินเป็นสิ่งที่ได้รับการบรรจุอยู่ในนโยบายของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินพร้อมกับระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในหลายด้าน เช่น การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางการเงินผ่านกลไกการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox) ที่เอื้อให้ผู้ให้บริการทางการเงินทั้งสถาบันการเงินและที่ไม่ใช่สถาบันการเงินสามารถพัฒนาบริการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และทดลองให้บริการได้ โดยเริ่มจากการทดสอบการให้บริการในขอบเขตจำกัด ก่อนจะให้บริการในวงกว้าง

นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ดำเนินโครงการนำร่อง 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอินทนนท์ที่ทดสอบใช้บล็อกเชนในการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และ (2) โครงการ DLT Scripless Bond ที่นำบล็อกเชนมาทดสอบใช้ในงานจำหน่ายพันธบัตรเพื่อช่วยลดความซับซ้อน ลดขั้นตอน และเวลาในการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง 

การจะประสบความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว บริษัทที่ให้บริการด้านการเงินจำเป็นต้องมีความคล่องตัว และมีแนวคิดที่เปิดกว้างให้เท่าทันเทคโนโลยีที่ลูกค้าใช้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทุกอย่างตั้งแต่การสร้างโมเดลธุรกิจและเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่สร้างอย่างเจาะจงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย และสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้ และแน่นอนว่าไฮบริดและมัลติคลาวด์เป็นกำลังสำคัญสู่ความสำเร็จเหล่านี้

รายงานล่าสุดของนูทานิคซ์เกี่ยวกับดัชนีการใช้คลาวด์ขององค์กรผู้ให้บริการด้านการเงินแสดงให้เห็นว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัทส่วนใหญ่มองไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น  ซึ่งในส่วนนี้มากกว่าครึ่งกำลังลงทุนกับบริการไฮบริดคลาวด์เพิ่ม  นอกจากนี้พวกเขายังใช้โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้งานคลาวด์และปรับขยายการใช้งานได้ง่ายขึ้น โดย HCI ช่วยลดความยุ่งยากในการปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย และรองรับทั้งการใช้ไพรเวทและพับลิคคลาวด์ร่วมกัน

ผู้ตอบแบบสำรวจมองว่าโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทันสมัยเป็นตัวช่วยในเรื่องความเร็วและความปลอดภัย รวมถึงเป็นกลไกช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย โดยเรียงลำดับความสำคัญไว้ดังนี้ ต้องการควบคุมการใช้ทรัพยากรไอทีมากขึ้น (59%), ต้องการเพิ่มความเร็ว (58%), ต้องการความยืดหยุ่น (55%) และต้องการประหยัดเงิน (31%) 

เมื่อมีการใช้ไฮบริดคลาวดมากขึ้น ทำให้ลูกค้าในอุตสาหกรรมการเงินให้ความสำคัญกับการปรับแอปพลิเคชั่นให้ทันสมัยขึ้น ทำให้เกิดความต้องการแพลตฟอร์มและการควบคุมที่เรียบง่าย ที่สามารถใช้งานครอบคลุมการใช้งานมัลติคลาวด์เพื่อรองรับระบบการดำเนินงานแบบดั้งเดิม รวมถึงไมโครเซอร์วิสแอปพลิเคชั่นที่ทันสมัย เทคโนโลยีของนูทานิคซ์ช่วยลูกค้าเชื่อมช่องว่างนี้ ผ่านกระบวนการใช้งานแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์ทุกประเภทได้แบบอัตโนมัติ เพื่อใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน ดาต้าเบส แอปพลิเคชั่น กรอบการทำงานด้านความปลอดภัย และอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของนูทานิคซ์ได้รับประสบการณ์ ด้านประสิทธิภาพ ด้านเวลาในการตอบสนองทางธุรกิจและการปรับแต่งเพิ่มเติมหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ (day-two operations) ดีขึ้นมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์

ไม่ว่าโควิด-19 จะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป การยกระดับตัวเองของธุรกิจบริการด้านการเงินจะยังดำเนินไปได้ด้วยดี การให้ความสนใจกับเทคโนโลยีที่เพิ่งค้นพบชี้ให้เห็นถึงความต้องการนวัตกรรมที่มีแนวโน้มที่จะขยายการใช้งานไปไกลกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน  และเพื่อให้มั่นใจว่าแรงกระเพื่อมนี้จะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไฮบริดและมัลติคลาวด์ควรเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่บรรจุอยู่ในกลยุทธ์ด้านไอที

ที่มา: FAQ Co., Ltd.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ