จากข้อมูลของสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (AIMC) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมด (AUM) ของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ในอุตสาหกรรมอยู่ที่ 348,826 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ กองทุนบัวหลวง ได้รับความไว้วางใจจากผู้ลงทุนให้บริหารกองทุน RMF ซึ่งเป็นเงินลงทุนระยะยาวเพื่อรองรับวัยเกษียณอยู่ที่ 91,999 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 1 ใน 4 ของทั้งอุตสาหกรรม และกองทุนบัวหลวงมุ่งมั่นจะรักษาความไว้วางใจนี้ต่อไป พร้อมเพิ่มกองทุน RMF เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดสรรเงินลงทุนได้สอดคล้องกับสไตล์การลงทุนของตัวเองมากขึ้น
"กองทุน RMF เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับผู้ลงทุนที่กำลังวางแผนออมเงินระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ เพราะผู้ลงทุนมีโอกาสได้ประหยัดภาษีไปด้วยในคราวเดียว โดยผู้ลงทุนสามารถใช้วิธีจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย (Asset Allocation) ผ่านกองทุน RMF ได้ เพื่อให้การลงทุนสอดคล้องกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง และเป้าหมายผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งกองทุนบัวหลวงเชื่อว่าการจัดสรรเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในต่างประเทศบ้าง จะช่วยผู้ลงทุนลดความเสี่ยงจากการที่เงินลงทุนกระจุกตัวอยู่เฉพาะในประเทศได้ ทั้งยังขยายโอกาสค้นหาผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวด้วย" นายวศิน กล่าว
ทั้งนี้ ถ้าต้องการลงทุนในต่างประเทศแบบกระจายความเสี่ยงมากหน่อย ก็เลือก B-GTORMF ที่ลงทุนในหุ้นหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกที่ใช้นวัตกรรมเพื่อการเติบโต หรือถ้าต้องการคัดสรรลงทุนหุ้นต่างประเทศแบบเน้นๆ เฉพาะกลุ่ม ก็เลือก B-FUTURERMF ได้
สำหรับ B-GTORMF เป็นกองทุนที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Global Innovation Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน S-ACC (USD) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) นโยบายการลงทุนจะกระจายลงทุนในหุ้นหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเพื่อการเติบโต โดยเน้นหาหุ้นที่เป็นผู้นำของแต่ละอุตสาหกรรม
ส่วน B-FUTURERMF เป็นกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ เน้นลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับเทรนด์อนาคต โดยมี Theme หลัก คือ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีผู้จัดการกองทุนของกองทุนบัวหลวงเลือกลงทุนในกองทุน (Fund Selection) และลงทุนตรงในหุ้น (Stock Selection) ต่างประเทศ ของบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากแนวโน้มการบริโภคในอนาคต ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ที่พัฒนามาเพื่อรองรับแนวโน้มการบริโภค การดำเนินธุรกิจ และเศรษฐกิจในอนาคต
ทั้ง กองทุน B-GTORMF และ B-FUTURERMF มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นกับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยกองทุนไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เป็นไปตามหลักเกณฑ์กองทุน RMF ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดกองทุน B-GTORMF และ B-FUTURERMF หรือติดต่อขอรับหนังสือ ชี้ชวนและคู่มือการลงทุนได้ที่ กองทุนบัวหลวง โทร. 0 2674 6488 กด 8 หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร
บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา และ บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย)
สำหรับผู้สนใจลงทุนที่มีบัญชีกองทุนรวมประหยัดภาษีกับธนาคารกรุงเทพอยู่แล้ว สามารถซื้อหน่วยลงทุนในช่วง IPO ผ่านบริการ Bangkok Bank Mobile Banking ได้ตั้งแต่เวลา 8.30 น. - 16.00 น.
ที่มา: บลจ.บัวหลวง