"ไดกิ้น" ประกาศกลยุทธ์ มุ่งพัฒนานวัตกรรมด้านระบบปรับอากาศเพื่อ "สุขภาพ" ย้ำประสิทธิภาพ "สตรีมเมอร์" ช่วยยับยั้งไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่

พุธ ๒๑ เมษายน ๒๐๒๑ ๑๓:๕๔
มร.อาคิฮิสะ โยโคยามา ผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด ผู้นำนวัตกรรมด้านระบบปรับอากาศระดับโลก เปิดเผยว่า กลยุทธ์ของไดกิ้น มุ่งให้ความสำคัญในการคิดค้นและพัฒนาระบบปรับอากาศ โดยมีเป้าหมายปรับทุกอากาศให้สมบูรณ์แบบ (Perfecting the Air) เพื่อมอบอากาศที่ดีและบริสุทธิ์ให้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ด้านสุขภาพ เพื่อตอบรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ซึ่งทำให้ผู้บริโภคต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal และมองหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ด้านสุขภาพมากขึ้น

ปัจจุบันไดกิ้น มีเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว คือเทคโนโลยีสตรีมเมอร์ (Streamer) ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของไดกิ้น ที่ได้รับการยืนยันประสิทธิภาพว่า สามารถยับยั้งไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ได้ โดยได้รับการทดสอบจากมหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โอคายาม่า (Okayama University of Science) ประเทศญี่ปุ่น

การทดสอบดังกล่าว ทำการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ด้วยการปล่อยประจุสตรีมเมอร์เป็นเวลา 3 ชั่วโมง พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) และเชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ได้ถึง 99.9% และเมื่อปล่อยประจุสตรีมเมอร์ 1 ชั่วโมง สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ได้ถึง 93.6% และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ได้ถึง 91.8% โดยผลลัพธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายในห้องทดลองที่ใช้อุปกรณ์ปล่อยประจุสตรีมเมอร์ จึงไม่ได้ชี้บ่งว่าประสิทธิภาพของสตรีมเมอร์นั้นจะมีผลต่อการใช้งานในผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีสตรีมเมอร์เมื่อใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมจริง

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในประเทศไทย บริษัทได้ประกาศความร่วมมือทางวิชาการอย่างเป็นทางการกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสตรีมเมอร์ ที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศไดกิ้น "เซ-ต้าส" ซึ่งเปิดตัวในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการนำเทคโนโลยีสตรีมเมอร์มาใช้ในเครื่องปรับอากาศ หลังจากได้เปิดตัวในเครื่องฟอกอากาศไดกิ้นมาก่อนหน้านี้

สำหรับการทดสอบ ได้จำลองสถานการณ์ในการทดสอบให้ใกล้เคียงกับการใช้งานจริงของผู้บริโภคในประเทศไทยให้มากที่สุดเพื่อทดสอบว่าสภาพแวดล้อมอากาศในไทยไม่ส่งผลให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสตรีเมอร์ลดลง ซึ่งผลการทดสอบพบว่า เทคโนโลยีสตรีมเมอร์สามารถช่วยยับยั้งหรือกำจัดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และราที่อยู่ภายในเครื่องปรับอากาศ ได้ 75 - 99.96% ภายในวันแรกที่เปิดการใช้งานฟังก์ชั่นสตรีมเมอร์ ในเวลา 8 ชั่วโมง ตลอดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และสามารถกำจัดเชื้อส่วนใหญ่ได้ถึง 99.9% ภายในวันที่สี่ ซึ่งถือเป็นการยืนยันประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสตรีมเมอร์ ในการช่วยยับยั้งเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส สารก่อภูมิแพ้ และก๊าซอันตรายอื่นๆ ในอากาศ

มร.อาคิฮิสะ โยโคยามา กล่าวว่า บริษัทมุ่งมั่นที่จะทำการทดสอบเทคโนโลยีสตรีมเมอร์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อช่วยสร้างความมั่นใจด้านสุขภาพแก่ผู้บริโภคชาวไทย ขณะเดียวกันยังเป็นตอกย้ำความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีปรับอากาศของไดกิ้น โดยหลังจากนี้บริษัทยังคงเดินหน้าทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสตรีมเมอร์กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทยเพิ่มเติม  

จากผลการทดสอบจากมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โอคายาม่า ประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในประเทศไทย ได้ตอกย้ำประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสตรีมเมอร์ ที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องปรับอากาศ และเครื่องฟอกอากาศของไดกิ้น ว่าสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) รวมถึงช่วยขจัดปัญหากลิ่นเหม็นอับที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราภายในเครื่องปรับอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

มร.อาคิฮิสะ โยโคยามา กล่าวว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไดกิ้นได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐในการทดสอบ ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสตรีมเมอร์ กับสสารอันตรายต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ก่อโรคระบาดรุนแรงอย่าง (H5N1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ไม่รุนแรง (H1N1 Norovirus) จากหนู และสารพิษและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ ประสิทธิภาพของสตรีมเมอร์ ยังได้รับการทดสอบกับสสารอันตรายอีกกว่า 60 ชนิด โดยแบ่งเป็น เชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิด สารก่อภูมิแพ้ 30 ชนิด รวมไปถึงสารเคมีอันตรายอีกกว่า 19 ซึ่งผลการทดสอบเหล่านั้นได้รับการยืนยันผลจากสถาบันวิจัยของรัฐ

สำหรับเทคโนโลยีสตรีมเมอร์ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยบริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) โดยในปี 2547 เทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้งานจริง ด้วยหลักการทำงานในการปล่อยประจุไฟฟ้าพลาสม่าสตรีมเมอร์ (Streamer discharge) ที่มีประสิทธิภาพในการสลายสสารอันตราย

การปล่อยประจุสตรีมเมอร์ เป็นเทคโนโลยีฟอกอากาศที่สร้างอิเล็คตรอนความเร็วสูงอย่างเสถียร ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติที่ทำได้ยากในเวลานั้น ด้วยประสิทธิภาพในการสลายสสารด้วยวิธีออกซิเดชั่น (Oxidation) ของสตรีมเมอร์นั้นมากกว่าการปลดปล่อยประจุพลาสม่าแบบทั่วไป (glow discharge) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อผสานกับโมเลกุลของอากาศทำให้อิเล็กตรอนความเร็วสูงเหล่านี้ มีคุณสมบัติในการสลายสสารด้วยกระบวนการออกซิเดชั่น ทำให้สตรีมเมอร์สามารถกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ แบคทีเรียและมลพิษทางอากาศภายในอาคาร เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ ได้อย่างต่อเนื่อง

ผลทดสอบดังกล่าว ถือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับเครื่องปรับอากาศที่ใช้ภายในบ้านในประเทศไทย ทั้งช่วยตอกย้ำว่า ไดกิ้นไม่เพียงคำนึงถึงการทำความเย็น แต่ยังมุ่งมั่นในการมอบอากาศที่ดี และสมบูรณ์แบบ (Perfecting the Air) แก่ผู้ใช้งานมากขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ในการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพที่สามารถพิสูจน์ได้ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้บริโภค

ที่มา: สยามไดกิ้นเซลส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ