เหตุผลที่ผู้ผลิตอาหารในเอเชียหันมาใช้ระบบคลาวด์

พุธ ๒๘ เมษายน ๒๐๒๑ ๐๘:๕๘
บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน

ความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันเพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีต ผลพวงมาจากความคุ้นเคยที่ได้รับจากความสะดวกสบายแบบเฉพาะเจาะจงส่วนบุคคลผ่านสมาร์ทโฟนที่ทันสมัยที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา รวมถึงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านอาหารทั่วโลก การรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญด้านความปลอดภัยอาหารและคุณภาพของผลิตภัณฑ์

ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น

แม้ว่าความกังวลด้านความยั่งยืน และความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องที่อาจทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ความคาดหวังต่าง ๆ ของลูกค้าที่เพิ่มขั้น เป็นตัวบ่งชี้ให้เราทราบถึงที่มาของรูปแบบธุรกิจที่เกิดใหม่ เช่น การจัดส่งอาหารถึงผู้บริโภคโดยตรง และ "คลาวด์" คิทเช่น (Cloud Kitchen)

พื้นที่ครัวกลางสำหรับให้ร้านค้าหลายแห่งเข้ามาใช้งานร่วมกัน ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยให้อาหารจานโปรดไปถึงที่พักของคุณได้ในเวลาพอๆ กันกับการที่คุณต้องขับรถไปร้านอาหารด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะพบว่าความนิยมของลูกค้าในทวีปเอเชียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และการปร้บเปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้านั้นเป็นไปได้อย่างไร

ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า แม้ว่าโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่ก็ทำให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และวิธีการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยบริษัทอาหารหลายแห่งได้พบกับไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม และได้มีการปรับตัวเปิดรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ

โดยอาศัยโมเดลธุรกิจคลาวด์คิทเช่น ซึ่งได้กระตุ้นให้ปริมาณการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จึงเกิดการคาดการณ์ว่าคลาวด์คิทเช่นจะเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯและปริมณฑลอย่างน้อย 50 แห่งภายในสิ้นปี 2565

ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารพร้อมปรุงตามการเลือกสรรของแต่ละบุคคล นวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดส่งอาหารตรงถึงผู้บริโภค ก็ได้เข้ามาเพิ่มความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตอาหาร คำถามที่มีการถามมากที่สุดคือการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเกิดความท้าทายต่างๆ ขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นเมื่ออาหารเกิดการปนเปื้อน หรือผลิตผลที่ปราศจากสารก่อภูมิแพ้ถูกเก็บรวมไว้กับอาหารชนิดอื่น ๆ โดยไม่ตั้งใจระหว่างการจัดส่ง ใครควรจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งผู้ผลิตอาหารไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของตน หากปราศจากระบบติดตามที่ครอบคลุมแบบครบวงจร

การเติบโตของตลาดในเอเชียทำให้ลูกค้าให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างแพร่หลาย และซัพพลายเชนที่ขาดประสิทธิภาพ เป็นเพียงสองตัวอย่างของการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของโลกที่ให้ความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคที่มีจำนวนจำกัด ยังทำให้การถกเถียงด้านความยั่งยืนไม่สามารถนำมาใช้ป้องกันปัญหาการใช้น้ำในกระบวนการผลิตอาหารได้

แนวทางที่ดีกว่า

หากผู้ผลิตอาหารรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ก็จะสามารถจัดการกับความท้าทายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป, การค้นหาและติดตามส่วนผสมในการผลิตอาหารจำนวนมหาศาลเพื่อทำให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับ, หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กร และจำกัดการใช้น้ำให้เหลือน้อยที่สุด เป็นต้นกระนั้นก็ตาม การพัฒนาระบบใหม่โดยใช้ไอทีแบบดั้งเดิม ต้องใช้เงินลงทุนล่วงหน้าจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อโครงการที่มีอยู่ และเกิดความซับซ้อนที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนในด้านการดูแลรักษาหากมีสถานที่ทำงานมากกว่าหนึ่งแห่ง

ในทางกลับกัน การใช้ระบบคลาวด์จะสามารถปรับใช้ได้รวดเร็วและมีราคาถูกกว่ามาก อีกทั้งยังมอบระบบการบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning - ERP) ที่เข้าถึงได้ตลอดเวลา มีความยืดหยุ่นในการปรับขยายมาก และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไปด้วยในขณะเดียวกัน

ในโลกที่การผิดพลาดต้องน้อยที่สุด และแรงกดดันต่อเนื่องเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ผลิตอาหารไม่สามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรือทำการทดลองใด ๆ ได้อีกต่อไป พวกเขาจึงต้องการสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้งานได้จริง และนำไปใช้งานได้ทันทีแทนที่จะเริ่มต้นจากศูนย์

ระบบคลาวด์ ERP จึงเหมาะสมอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสามารถในการเข้าถึง, การส่งผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด รวมถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนคลาวด์หนึ่งเดียว จะสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลยืนยันความถูกต้องสำหรับการทำงานขององค์กรทั้งหมด ช่วยลดความผิดพลาดใด ๆ ระหว่างแผนกก่อนที่จะเกิดขึ้นได้

อีกทั้งการมีคู่ค้าและซัพพลายเออร์อยู่บนหน้าจอเดียวกัน ยังช่วยให้การขยายซัพพลายเชนและนวัตกรรมเป็นไปได้ง่ายดายขึ้นอีกด้วย

ทำไมระบบ ERP จึงเหมาะที่จะใช้บนคลาวด์

เมื่อใช้ระบบ ERP บนคลาวด์ ความเป็นไปได้ในทุกด้านจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล กระบวนการที่ต่างกันและไซโลต่าง ๆ ที่เคยมีก่อนหน้านี้ จะสามารถรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นส่วนที่สอดคล้องกันทั้งหมด ทำให้สามารถนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังสามารถนำไปใช้งานในระบบคลาวด์ได้ง่ายขึ้น เช่น ผู้ผลิตอาหารในทวีปเอเชียที่หันมาใช้อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ส (Internet of Things - IoTs) ด้วยการติดเซ็นเซอร์ไว้กับฝูงวัว

ทำให้ข้อมูลจากฝูงปศุสัตว์ที่อยู่ในระบบคลาวด์ ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงข้อมูลอันล้ำค่าที่จำเป็นต่อการเลี้ยงสัตว์ให้มีสุขภาพดี พร้อมอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วขึ้นอินฟอร์(R)ได้ลงทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาในโซลูชั่นตระกูล CloudSuitTM ของบริษัทฯ ด้วยเครื่องมือที่เร่งการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นดิจิทัลซัพพลายเชนของผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในทวีปเอเชียและทั่วโลก Infor CloudSuite Food & Beverage จะช่วยกระตุ้นการคิดค้นนวัตกรรมและการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น

ที่มา: เอฟเอคิว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ