- ลานคำมอกหลวง หน้าทางขึ้นพระพุทธภุชคารักษ์
- ลานคำมอกหลวง หน้าโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
ต้นคำมอกหลวงเป็นพืชพื้นถิ่นของภาคเหนือตอนบน พบครั้งแรกที่ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ และมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในเขตภาคเหนือ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา คำมอกหลวงเป็นต้นไม้ที่มีดอกกลิ่นหอมและสามารถพัฒนาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์น้ำหอม อีกทั้งส่วนต่าง ๆ ของต้นคำมอกหลวงยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรและได้รับการวิจัยเพื่อต่อยอดสู่การสร้างยาต้านไวรัส หลายชนิด อีกทั้งฤทธิ์ทางสมุนไพรจากส่วนประกอบต่างๆ ของพืช ยังไม่ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด ทั้งนี้รวมถึงสีย้อมธรรมชาติที่ได้จากต้นคำมอกหลวงด้วยเช่นกัน การกระจายพันธุ์ของคำมอกหลวงพบได้อย่างในเขตมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีจำนวนต้นคำมอกหลวงในป่าธรรมชาติราว 60-70 ต้น ซึ่งมีแนวโน้มเป็นไปได้ที่จะทำการพัฒนาพันธุ์และขยายพันธุ์ พืชท้องถิ่นนี้ และนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างจริงจังเพื่อสร้างอาชีพ และผลิตภัณฑ์
นอกจากนั้นได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางน้ำภายในมหาวิทยาลัยโดยสำรวจการทำแนวร่องน้ำ เพื่อดักน้ำ ผันน้ำเข้ามากักเก็บในมหาวิทยาลัยให้มากที่สุด เป็นการวางแผนการใช้น้ำในปีนี้และปีหน้าเส้นทางน้ำที่เดินสำรวจมีดังนี้
เส้นทางที่ 1 พระพุทธภุชคารักษ์
เส้นทางที่ 2 อาคารเรียนรวมภูกามยาว
เส้นทางที่ 3 อ่างเก็บน้ำแห่งที่ 2
เส้นทางที่ 4 สนามฟุตบอลข้างหอพัก UP DORM
เส้นทางที่ 5 โรงประปา และบริเวณป่าสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์
ที่มา: มหาวิทยาลัยพะเยา