- อายุโดยอายุที่มากขึ้น ความเสื่อมของหลอดเลือดก็เพิ่มไปตามวัย
- เพศโดยเพศชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่า เพศหญิง
- พฤติกรรมเช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
- โรคประจำตัวได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง เบาหวาน เป็นต้น
เมื่อเราทราบสาเหตุแล้วก็พิจารณาปรับเปลี่ยนตามปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ซึ่งอายุและเพศเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ปัจจัยอื่นเราสามารถปรับได้ค่ะ ได้แก่
- ปรับพฤติกรรมเช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรมีการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เพื่อเสริมความแข็งแรงของหัวใจและปอด เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น
- งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
- พบแพทย์สม่ำเสมอเพื่อรักษาโรคประจำตัวให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมโดยให้มีดัชนีมวลกาย18.5-22.9 kg/m2
สามารถคำนวณได้โดย
ดัชนีมวลกาย =
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค หลีกเลี่ยงอาหารที่หวานจัดมีน้ำตาลสูง หลีกเลี่ยงอาหารทอด มันจัดและเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและไม่ติดหนังหลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัดผ่านกระบวนการแปรรูป ผ่านการปรุงแต่งมาก อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เน้นการรับประทานรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ
- ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียดเพื่อคัดกรองความเสี่ยงและเฝ้าระวังตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนที่จะแสดงอาการค่ะ โดยเฉพาะการตรวจสมองและหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRIand MRA Brain) ซึ่งจะช่วยคัดกรองความเสี่ยง และตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นค่ะ
ที่มา: ไลฟ์เซ็นเตอร์