STGT คาดโรงงานใหม่ จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมกลับมาเดินเครื่อง พ.ค.นี้ ชูเทคโนโลยีเครื่องจักรทันสมัยผลิตถุงมือยางด้วยความเร็วสูง

พฤหัส ๐๖ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๑๕:๓๙
บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ หรือ STGT คาดโรงงานผลิตถุงมือยางแห่งใหม่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลับมาเดินเครื่องผลิตสินค้าได้ครบทุกสายการผลิตในเดือนพฤษภาคมนี้หลังเกิดเพลิงไหม้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ช่วยเสริมศักยภาพการผลิตรองรับดีมานด์ที่มีอย่างต่อเนื่อง ชูเทคโนโลยีเครื่องจักรทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งสามารถผลิตสินค้าด้วยความเร็วสูง เตรียมเปิดโรงงานแห่งใหม่อีกไตรมาสละ 1 แห่งในช่วงไตรมาส 2-4 ของปีนี้ตามแผนเดิม

นางสาวจริญญา จิโรจน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางธรรมชาติและถุงมือยางไนไตรล์รายใหญ่ของโลก เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดว่าโรงงานผลิตถุงมือยางแห่งใหม่ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมจะกลับมาเดินเครื่องจักร ครบทุกสายการผลิตได้อีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งจะเสริมศักยภาพการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ถุงมือยางจากทั่วโลก โดยปัจจุบันบริษัทฯ ยังคงได้รับคำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

สำหรับโรงงานแห่งใหม่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นหนึ่งในโรงงานที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุดของ STGT และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สามารถเดินเครื่องจักรด้วยความเร็วสูงและมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อเดินเครื่องจักรอย่างเต็มที่ สามารถผลิตถุงมือยางได้กว่า 2,200 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งจะเข้ามาเสริมศักยภาพเพื่อผลักดันผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และรักษาความเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ของโลก

ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทฯ วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตอีก 3,000 ล้านชิ้นต่อปี รวมเป็น 36,000 ล้านชิ้นต่อปี โดยนอกจากโรงงานแห่งใหม่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี บริษัทฯ มีแผนเปิดโรงงานใหม่อีกไตรมาสละ 1 แห่ง ในไตรมาส 2 ไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ของปีนี้ ประกอบด้วย โรงงานจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีก 1 แห่ง โรงงานที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 1 แห่ง และโรงงานจังหวัดตรัง 1 แห่ง นอกจากนี้ได้วางเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตรวมเป็น 80,000 ล้านชิ้นต่อปีภายในปี 2567 และเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านชิ้นต่อปีภายในปี 2569

"เราต้องการจะพัฒนาเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้พลังงานชีวมวลผสมผสานกับระบบการจัดการของเสียในกระบวนการผลิตที่ทันสมัย และมั่นใจว่าจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างแน่นอน เนื่องจากได้วางแผนรับแรงงานไทยเข้าทำงานเพื่อทดแทนแรงงานต่างด้าวบางส่วน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ประสบปัญหาว่างงานในช่วงนี้ โดยพร้อมดูแลและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนเพื่อสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี และเรายังเป็นบริษัทถุงมือยางแห่งเดียวที่ได้รับเกรด A ซึ่งเป็นเกรดสูงสุดในทุกหัวข้อของการดูแลพนักงาน จาก Business Social Compliance Initiative หรือ BSCI สอดคล้องกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่ต้องการเป็นผู้ผลิตถุงมือแห่งชีวิต ที่พร้อมส่งมอบการปกป้องทุกสัมผัส ด้วยความห่วงใยสู่ทุกชีวิตทั่วโลก" นางสาวจริญญา กล่าว

ที่มา: เอ็ม ที มัลติมีเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ