ศาสตราจารย์นักวิจัย มจธ. ที่ 1 ในไทยจากการจัดอันดับโดย The Reuters Hot List 2021 ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

พฤหัส ๐๖ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๕๙
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ได้จัดอันดับ 1,000 นักวิจัยทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก หรือ The Reuters Hot List 2021 ซึ่งผลการจัดอันดับในปีนี้ Prof. Dr. Shabbir H. Gheewala (ศ. ดร.แชบเบียร์ กีวาลา) หัวหน้าศูนย์วิจัยการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับการจัดอันดับที่ 552 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ทั้งนี้การจัดอันดับถูกพิจารณาจาก 3 ด้านหลัก คือ จำนวนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการเผยแพร่ จำนวนครั้งของการที่งานวิจัยเหล่านั้นถูกอ้างอิงถึงในสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ชีววิทยา เคมี หรือ ฟิสิกส์ เป็นต้น และจำนวนครั้งของการอ้างอิงผลงานวิจัยเหล่านั้นในสื่ออื่นๆ เช่น สิ่งพิมพ์ โซเชียลมีเดีย และเอกสารเชิงนโยบายต่างๆ ทั้งนี้การประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยเป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยบริษัท Digital Science ประเทศอังกฤษที่ได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยนับตั้งแต่ปี 1988 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการจัดอันดับนักวิจัยประจำปี 2021 นี้เป็นข้อมูลที่รวบรวมจนถึงช่วงเดือนธันวาคมของปี 2020 ผลงานบน The Reuters Hot List 2021

ดร.แชบเบียร์ กีวาลา ศาสตราจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าศูนย์วิจัยการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิต หรือ Life Cycle Sustainability Assessment (LCSA) มีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ ณ เดือนธันวาคม ปี 2020 รวมทั้งสิ้น 236 ผลงานวิจัย มีการอ้างอิงถึงผลงานวิจัยรวมทั้งสิ้น 5,649 ครั้ง และได้รับทุนนักวิจัยแกนนำ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประจำปี 2559 ผลงานวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐศาสตร์ ของระบบการผลิตพลังงานและอาหาร โดยอาศัยหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางนโยบายของภาครัฐ และสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และพลังงาน รวมถึงการวิจัยเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ เช่น ฐานข้อมูลด้านการจัดการของเสีย ระบบการผลิตอ้อย รวมถึงระบบการผลิตข้างในระดับภูมิภาคของประเทศไทย ผลงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

กว่า 20 ปีที่ ศ. ดร.แชบเบียร์ กีวาลา ได้ทำวิจัยด้านการประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิต สำหรับระบบพลังงาน อาหาร และสิ่งแวดล้อม ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและสังคมไปสู่รูปแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมเพื่อให้ข้อมูลและสร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่ผ่านมาได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถพัฒนาและต่อยอดไปเป็นแนวทางในการดำเนินการให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ต่อไป

และหากพูดถึงการดำเนินการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้วนั้น งานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศถือเป็นอีกหนึ่งในส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดแนวทางที่เหมาะสมในการนำไปปรับใช้ให้เกิดคุณค่าและมีประสิทธิภาพแก่สังคมต่อไป ซึ่ง มจธ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ จึงส่งเสริมให้เกิดการดำเนินการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) แบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก ทำให้หน่วยงานต่างๆ ของ มจธ. รวมทั้งคณาจารย์ และบุคลากร ได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจากการจัดอันดับ The Reuters Hot List 2021 นั้น แสดงให้เห็นว่า มจธ. มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ SDG ที่ 7 Affordable and Clean Energy (พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้) ที่มีการเผยแพร่ในระหว่างปี 2015-2021 มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นช่วงปีที่มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ ศ. ดร.แชบเบียร์ มีส่วนร่วมมากที่สุด โดยมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ SDG ที่ 7 ที่มุ่งเน้นดำเนินการเกี่ยวข้องกับ ไบโอดีเซล ชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์ มีงานผลวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ SDG ที่ 12 Responsible Consumption and Production (การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน) ที่มุ่งเน้นศึกษาวิจัยในด้านการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตลอดกระบวนการผลิต และ นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ SDG ที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มุ่งเน้นทำการศึกษาและวิจัยในด้านคาร์บอนฟุตพรินต์ วอเตอร์ฟุตพรินต์ และเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการประเมินผลกระทบ และการหาแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเช่นกัน

ที่มา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๐๑ ธนาคารไทยพาณิชย์คว้าแชมป์ธนาคารแห่งปีต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน
๑๓:๐๔ จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย
๑๓:๓๖ พาราไดซ์ พาร์ค ยกร้านอาหารดังจากเมืองนางาซากิ Ringer Hut (ริงเกอร์ฮัท) และ Hamakatsu (ฮามาคัตสึ) เปิดสาขาใหม่ ชั้น
๑๓:๕๒ สคร.12 สงขลา ร่วมรณรงค์สงกรานต์ ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ เน้นย้ำ ดื่มไม่ขับ ง่วงไม่ขับ คาดเข็มขัดนิรภัย รถตู้โดยสารสาธารณะปลอดภัย
๑๑:๑๐ กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ คว้ารางวัลใหญ่ GRANDE จากเวที ADFEST 2025 จาก แคมเปญสมัครบัตร What the Fast!
๑๑:๒๘ ทรู เปิดพื้นที่อัจฉริยะแห่งอนาคต True Branding Shop โฉมใหม่ ขนทัพเทคโนโลยีล้ำสมัยจากแบรนด์ชั้นนำ ยกระดับทุกมิติไลฟ์สไตล์ดิจิทัล ณ ชั้น 3
๑๑:๐๔ ทัช พร็อพเพอร์ตี้ แนะ 7 แนวทาง อาคารรับมือช่วงมรสุมหลังแผ่นดินไหว จุดไหนต้องเฝ้าระวังเพิ่ม
๑๑:๓๔ OPPO ส่งเสริมเยาวชนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ร่วมบริจาคอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้แก่มูลนิธิสันติสุข
๑๑:๓๖ NITMX เผยสถิติการใช้งาน PromptPay มีนาคม 2568 ยอดธุรกรรมแตะ 2.1 พันล้านรายการ หนุนไทยสู่สังคมไร้เงินสด
๑๐:๒๘ NT แนะนำบริการ AWS Migration Assessment and Deployment เพื่อช่วยหน่วยงานภาครัฐ ย้ายโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขึ้นคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด