กทม.บริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อกว่า 16 ตัน/วัน-กำชับ จนท.ใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะปฏิบัติงาน

ศุกร์ ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๐๙:๒๙
นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เดือน เม.ย. ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. - 5 พ.ค.64 กรุงเทพมหานครมีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงขยะหน้ากากอนามัยที่เก็บขนและกำจัดจากสถานพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สถานที่กักตัวของรัฐ และโรงแรมทางเลือกสำหรับผู้กักตัว โรงพยาบาลสนาม และสถานที่สำหรับผู้กักตัว เช่น บ้านพักอาศัย ปริมาณทั้งสิ้น 547.93 ตัน หรือเฉลี่ย 16.12 ตัน/วัน โดยวันที่ 5 พ.ค. มีมูลฝอยติดเชื้อ 70,760 กิโลกรัม (กก.) แบ่งเป็นมูลฝอยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 21,271 กก. และมูลฝอยติดเชื้อทั่วไป จำนวน 49,489 กก. โดยมูลฝอยติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงขยะหน้ากากอนามัยที่เก็บรวบรวมทั้งหมด กรุงเทพมหานครได้บริหารจัดการ โดยจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด นำไปกำจัดด้วยวิธีการเผาในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้ออ่อนนุชและหนองแขม

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้เน้นย้ำให้ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยดำเนินการตามข้อปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งก่อนการปฏิบัติงาน ขณะปฏิบัติงาน และหลังการปฏิบัติงาน พร้อมกำชับและตรวจสอบการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทุกครั้งที่ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการจัดเก็บหน้ากากอนามัยให้ใช้คีมคีบขยะแทนการใช้มือหยิบจับ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสมูลฝอยโดยตรง เพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสเชื้อโรค ขณะเดียวกันได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อเน้นย้ำและสร้างความเข้าใจการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี โดยขอความร่วมมือประชาชนไม่ทิ้งหน้ากากอนามัยปะปนกับมูลฝอยทั่วไปในครัวเรือน และทิ้งหน้ากากอนามัยใส่ถุงที่ปิดสนิท มัดปากถุงให้แน่น เขียน หรือติดหน้าถุงว่า "หน้ากากอนามัย" แยกทิ้งให้กับรถเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขต หรือทิ้งในถังรองรับหน้ากากอนามัยเฉพาะ (สีส้ม) ซึ่งตั้งวางที่สำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลสังกัด กทม. ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) โรงเรียนสังกัด กทม. ศูนย์กีฬา กทม. ศูนย์เยาวชน กทม. สถานีดับเพลิง สวนสาธารณะ และสถานที่สาธารณะที่เหมาะสม เช่น ตลาด วัด ชุมชน บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า และอาคารสำนักงานเคหะชุมชนต่าง ๆ และสถานที่สาธารณะที่เหมาะสม โดยมีจุดให้บริการประมาณ 1,000 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการทิ้งของประชาชนและความสะดวกต่อการเก็บรวบรวม นำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต่อไป

ที่มา: กทม.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ