กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--
นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยถึงการนำเข้ากุ้งของสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2548 ว่า ยอดปริมาณนำเข้าอยู่ที่ 60,299 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 ซึ่งนำเข้า 64,455 ตัน แล้ว ลดลง 4,156 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.5
“สหรัฐฯ นำเข้ากุ้งในปริมาณลดลง โดยเฉพาะจากประเทศผู้ผลิตกุ้งที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไทย และอินเดีย กล่าวคือ การนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ในเดือน 11 ปี 2548 เมื่อเทียบกับปี 2547 ในช่วงเวลาเดียวกัน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือ ลดลงร้อยละ 43.6, 7.5 และ 19.7 ตามลำดับ (รายละเอียด ดังแสดงในตาราง) ขณะที่กุ้งจากประเทศจีน ถูกเพ่งเล็ง และจับตามองอย่างใกล้ชิดจากศุลกากรสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นไปได้ว่ากุ้งจากจีนถูกส่งผ่านประเทศที่ 3 ต่างๆ เช่น มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และกัมพูชา ฯลฯ ก่อนเข้าสหรัฐฯ จึงล้วนเป็นผู้ถูกสงสัย เรื่องนี้มีข่าวลือทั่วไปในวงการกุ้งสหรัฐฯว่า ผู้นำเข้ากุ้งของสหรัฐฯหลายรายได้ถูกขอให้มีการจ่ายภาษีทุ่มตลาดที่ร้อยละ 112 ซึ่งเป็นอัตราภาษีเอดีที่เก็บกับกุ้งของจีนที่ส่งเข้าตลาดสหรัฐฯแล้ว จึงเป็นรื่องที่ยากมากสำหรับการส่งกุ้งจีนเข้าสหรัฐฯ เว้นเสียแต่จะส่งกุ้งชุบแป้งเข้าไป เพราะไม่ต้องถูกเก็บภาษีเอดี ซึ่งมีรายงานว่าจีนส่งกุ้งเข้าไปสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2548 จำนวน 6,139 ตัน” นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าว
ตารางการนำเข้ากุ้งของสหรัฐจากประเทศผู้ผลิตกุ้งสำคัญ เดือน พฤศจิกายน 2547-2548
หน่วย: ตัน
ประเทศ พฤศจิกายน แตกต่าง
2547 2548 ตัน %
จีน 10,887 6,139 -4,748 -43.6
ไทย 18,285 16,917 -1,368 -7.5
อินเดีย 3,676 2,950 -726 -19.7
ที่มา: ส่วนบริการประมงทะเลแห่งชาติ-สหรัฐฯ
ในช่วงปีปกติ การส่งกุ้งไทยไปตลาดสหรัฐฯ สูงสุด (Peak) ที่เดือนพฤศจิกายน และธันวาคม แต่ปี 2548 การส่งกุ้งเข้าสหรัฐฯของไทยสูงสุดที่เดือนสิงหาคม โดยมีผลผลิตกุ้งออกมามากทีสุดในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ซึ่งออกมาเร็วกว่าปีปกติ เนื่องจากสภาพอากาศในเดือนหลังการเกิดสึนามิอบอุ่นขึ้นกว่าปกติ สนับสนุน/เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงกุ้ง ดังนั้นลูกกุ้งที่ลงก่อนและหลังสึนามิล้วนโตดีมาก จึงไม่น่าแปลกที่ผลผลิตกุ้งเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ออกมามากเป็นประวัติการณ์! แต่ตรงกับช่วงที่ไม่มีความต้องการสักเท่าไร ส่งผล-ขับเคลื่อนให้ราคากุ้งตกต่ำอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน! ที่สำคัญ ราคากุ้งตกต่ำ ส่งผลต่อเนื่องให้มีการลงลูกกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งลดลง เพราะราคาไม่จูงใจ ซึ่งทำให้ผลผลิตกุ้งทีออกมาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ปริมาณต่ำกว่าปีปกติมาก นี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมราคากุ้งจึงฟื้นตัวขึ้นหลังเดือนสิงหาคม นายสมศักดิ์ กล่าว
“อากาศหนาว-เย็นปัจจุบัน จากประสบการณ์คนเลี้ยงกุ้ง ทราบกันดีว่าเป็นสภาพอากาศที่ถือเป็นปกติ เพราะเป็นช่วงเวลาที่การเลี้ยงต้องเผชิญกับปัญหาโรคสูงขึ้น และต้องรับสภาพกับการเลี้ยงที่มีโอกาสเสียหายสูงมาก กอปรกับที่ภาคใต้ของไทยประสบปัญหาน้ำท่วม/อุทกภัย และเผชิญกับช่วงมรสุมยาวนานขึ้น การลงลูกกุ้งสำหรับครอปใหม่จึงอาจต้องล่าช้ากว่าปกติไป 2 เดือน นั่นหมายถึงว่าจะมีการเริ่มลงลูกกุ้ง ครอปใหม่ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดังนั้น ผลผลิตกุ้งที่จะออกมาในช่วงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม อาจจะลดลงจากที่เคยได้ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 มากกว่าร้อยละ 50 “ นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวทิ้งท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย
นายกสมาคมกุ้งไทย (01-8302448)--จบ--
- ม.ค. ๒๕๖๘ ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ตบเท้ายื่น จดหมายเปิดผนึกนายกตู่ ขอบคุณช่วยแก้ วิกฤติโควิด 19 ขอให้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง-ตรวจเข้มสินค้าสัตว์น้ำ อาหารทะเล อาหารต่างๆ
- ม.ค. ๒๕๖๘ สมาคมกุ้งไทยชี้ ปีหน้าไทยมีโอกาสหากทุกฝ่ายร่วมมือกัน เชื่อมั่น เกษตรกรผู้เลี้ยง ห้องเย็นผู้แปรรูป ผู้ส่งออก โรงเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้งของไทยมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก
- ม.ค. ๒๕๖๘ นายก ส.กุ้งไทย ชี้อุตฯกุ้งไทย ปี 60 สามารถแก้ปัญหาโรคได้ ด้วยแนวทางการจัดการการเลี้ยงที่ได้ผล การเลี้ยงโดยรวมประสบความสำเร็จ