เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเมินอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. สหรัฐฯ พุ่งเกินคาด สร้างความกังวลต่อตลาดหุ้น

พฤหัส ๑๓ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๑๔:๓๑
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินอัตราเงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐฯ เดือน เม.ย. ปรับตัวขึ้น +4.2% YoY, 0.8% s.a. MoM ขยายตัวมากกว่าที่ Consensus คาดไว้ +3.6% YoY ซึ่งมาจากการขยายตัวของราคารถมือสองและรถบรรทุก (+21% YoY, +10% s.a. MOM) ในขณะที่กลุ่มการใช้จ่ายเกี่ยวกับภาคบริการที่ขยายตัวเด่น ได้แก่ ค่าตั๋วเครื่องบิน (+10.2% YoY, +0.4% s.a. MoM), ค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว (7.6% YoY, +3.8% s.a. MoM) และ ค่าเข้าชมการแข่งขันกีฬา (+10.1% YoY, +4.7% s.a. MoM) ซึ่งสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ บ่งชี้ภาวะที่ผ่อนคลายลงเป็นอย่างมากจากสถานการณ์ COVID-19

สร้างความกังวลต่อตลาดหุ้นให้มีโอกาสปรับฐาน แต่ยังไม่ใช่ขาลงรอบใหม่ โดยอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ที่เร่งตัวมากกว่าคาดอย่างมีนัยสำคัญ น่าจะสร้างความกังวลว่า Fed จะลดขนาดการทำ QE เร็วขึ้น (Consensus: 4Q64) เป็นปัจจัยกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้น Growth Stock ที่ราคาเล่นบนความคาดหวังในอนาคต อย่างไรก็ตามยังประเมินว่าเงินเฟ้อที่เร่งตัวรอบนี้น่าจะยังไม่ใช่จุดเปลี่ยนแนวโน้มของตลาด (จากขาขึ้นรอบใหญ่เป็นขาลง) เนื่องจาก 1) ตลาดยังรอความชัดเจนในการประชุม FOMC ครั้งถัดไป วันที่ 15-16 มิ.ย. 2) การเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อเดือน เม.ย. เกิดขึ้นเป็นเดือนแรก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาก Pent-up Demand ของกิจกรรมหลังเปิดเมือง จึงยังต้องรอบทพิสูจน์ว่าในช่วงถัดไปจะสามารถยืนระยะได้หรือไม่ (จับตาการรายงานเฟ้อ พ.ค. วันที่ 10 มิ.ย.) 3) สหรัฐฯยังไม่ผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 อย่างสมบูรณ์แบบ สะท้อนจากการใช้มาตรการกระตุ้นด้านการคลังที่ยังมีต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา ยังมีการอัดฉีดเงิน 3.5 แสนล้านเหรียญฯ ให้แก่รัฐต่างๆเพื่อกระตุ้นการจ้างงาน ซึ่งภาคแรงงาน ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ Fed จะใช้พิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ยิ่งไปกว่านั้นการถอดถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเริ่มจากหยุดมาตรการด้านการคลังก่อนเป็นลำดับแรก ตามด้วยด้านการเงิน (ลดขนาดการทำ QE และขึ้นดอกเบี้ยตามลำดับ)

ตลาดให้น้ำหนักปัจจัยที่ชัดเจนในระยะสั้นมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่สะท้อนให้เห็นจากการเคลื่อนไหวของกระแสเงินทุน พบว่า ตลาดหันมาให้น้ำหนักปัจจัยที่ชัดเจนในระยะสั้น และลดทอนความคาดหวัง สิ่งที่ไม่แน่นอนในระยะยาว  1) เกิดแรงขายหุ้น Growth Stock ที่เล่นความคาดหวัง และซื้อขายบน multiple สูง (เช่น กลุ่ม TECH) สลับเข้าซื้อหุ้น Value ที่แนวโน้มระยะสั้นมีความชัดเจน (เช่น ENERG) 2) Yield Curve ชันขึ้น สะท้อนแรงขายพันธบัตรระยะยาวและสลับเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้น ดังนั้น จึงประเมินกลุ่มหุ้นที่มีความน่าสนใจ เป็นโอกาสสะสมเมื่ออ่อนตัว

Outperform: ENERG&PETRO (IRPC, ESSO, PTTGC), AGRI (NER), FOOD (TU), INDUS&CONMAT (SAT, EPG), Logistics (WICE)

ต่อรองราคา: BANKING: แบงค์ใหญ่ , COMM: หุ้นที่โดนผลกระทบ COVID19

ที่มา: บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๑๗ SISB โชว์ผลงาน Q3/67 รายได้แตะ 606.02 ลบ. จำนวนนักเรียนรวม 4,587 ราย หนุนปี 67 แตะ 4,600 คน พร้อมรุกขยายโรงเรียนสาขาใหม่แห่งที่ 7 ใน
๑๐:๒๐ SABINA เผยผลประกอบการงวด 9 เดือน รายได้ 2,692.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% ช่องทาง NSR เติบโต 22.9% พร้อมเดินหน้ารุกทำตลาดปั๊มยอดโค้งสุดท้ายปลายปี
๑๐:๒๒ orbix TECHNOLOGY และ G.U.Group, Inc. ร่วมลงนามผลักดันความก้าวหน้าด้านบล็อกเชน ในระบบการเงินดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
๑๐:๓๘ OPPO ร่วมสร้างอนาคตในงาน The Standard Economic Forum 2024 มุ่งสู่การเป็นผู้นำเทคโนโลยีในยุคเศรษฐกิจใหม่
๐๙:๔๗ CMAN กำไร 9 เดือน 168 ล้านบาท ย้ำธุรกิจหลักแข็งแรง ลุยปรับโครงสร้างเงินกู้ครั้งใหญ่ หนุนผลงานปี 67
๐๙:๓๕ SUPER ติดเทอร์โบ! โชว์กำไร 9 เดือนพุ่ง 3,590.92% บุ๊กกำไรพิเศษ SUNFLOWER - SEE1 กว่า 2,000 ลบ. ลั่น Q4/67 โตต่อเนื่อง ลุ้น COD วินด์ฟาร์มเวียดนาม 30
๐๙:๒๘ UAC เปิดเกมรุกโค้งสุดท้ายเร่งผลิต crude oil แหล่ง L10/43, L11/43 ลุยติดตั้ง Beam Pump เพิ่มอีก 3 ชุด ดันกำลังการผลิตทะลุ 400
๐๙:๔๓ BAFS โชว์ฟอร์มแกร่ง เปิดงบ 9 เดือนแรก ปี 2567 กำไรสุทธิ 152.7 ล้านบาท โตแรง 156% มั่นใจ ไฮซีซัน ท่องเที่ยวท้ายปีคึกคัก
๐๙:๐๐ บอร์ดฯ อาร์เอส อนุมัติตั้ง บ.ย่อย 'อันดามัน เอ็นเตอร์เทนเมนท์' จับมือพาร์ทเนอร์ไทยและตปท. ลงทุน Entertainment
๐๙:๓๘ SSP เปิดงบ Q3/67 รายได้ฯ 845.8 ลบ. รับเงินขายไฟฟ้าเติบโต 7.5% บอร์ดฯ เคาะงบ 8,000 ลบ. ลุยลงทุนวินฟาร์ม บาโก ฟิลิปปินส์ 150 MW หนุนพอร์ทโรงไฟฟ้าเติบโตดับเบิ้ลในปี