นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี โดยนางสาววิจิตร หลงชิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." ในพื้นที่อำเภอเขมราฐ และอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายประดิษฐ์ เสือสา พัฒนาการอำเภอเขมราฐ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ในพื้นที่ให้การต้อนรับและสนับสนุนการติดตามงานในครั้งนี้
จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการจัดสรรงบประมาณเงินกู้รัฐบาล ผ่านกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยให้จังหวัดฯ ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." จำนวน 576,592,500 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดฯ ทั้งสิ้น 3,960 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย แบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) : 68 แห่ง และพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) : 3,892 แห่ง และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 791 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 620 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 171 แห่ง
ในส่วนของอำเภอเขมราฐ นั้น มีเป้าหมายดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 พื้นที่ 1 ไร่ 30 แปลง และพื้นที่ 3 ไร่ 7 แปลง รวมทั้งสิ้น 37 แปลง โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." แปลง CLM ขนาดพื้นที่ 10 ไร่ 1 แปลง และ 15 ไร่ 3 แปลง HLM ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ 1 แปลง และขนาด 3 ไร่ 22 แปลง มีนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ทั้งสิ้น 46 คน โดยได้รับงบประมาณโครงการฯ รวม 11,501,200 บาท และมีความคืบหน้าในการดำเนินการจัดทำสัญญา PO ในภาพรวมทุกกิจกรรมแล้ว 4,401,748 บาท คิดเป็นร้อยละ 38.27 (ข้อมูลวันที่ 12 พฤษภาคม 2564)
โอกาสนี้ คณะจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ได้ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคของการขุดปรับพื้นที่ การดำเนินงาน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และการเบิกจ่าย โดยเฉพาะการขยายระยะเวลาในสัญญา กรณีไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสัญญาจ้าง ต้องให้คณะกรรมการตรวจรับทำบันทึกเสนอนายอำเภออนุมัติ ก่อนครบกำหนด 1 วัน โดยระบุเหตุผลความจำเป็น นอกจากนั้น นางสาววิจิตร หลงชิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ยังได้กล่าวเป็นกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอเขมราฐ โดยขอให้มีการวางแผนบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานในทุกมิติ ทั้งเรื่อง งาน งบ ระบบ คน สำหรับกรณีที่พื้นที่มีปัญหาในการดำเนินงานและเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขในพื้นที่ได้ ขอให้อำเภอรายงานให้จังหวัดทราบโดยเร็ว เพื่อจะได้ร่วมแก้ไขต่อไป และในกรณีที่มีแปลงเป้าหมายมีผลการดำเนินงานที่สามารถเป็น Best practices ขอให้อำเภอได้ทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในช่องทางต่างๆ เพื่อให้เป็นตัวอย่างสำหรับแปลงอื่นในพื้นที่ด้วย
จากนั้นคณะจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ได้ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." งบกรมการพัฒนาชุมชน โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี พ.ศ. 2564 แปลงของ นายวัศพล ประเชิญสุข บ้านหนองทรายเด็น หมู่ที่ 9 ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ และแปลงนายหนูกาญจน์ วงศ์คำ บ้านไหล่ธาตุ หมู่ที่ 5 ตำบลกองโพน อำเภอนาตาล ซึ่งผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ได้พบปะและมอบแนวทางแก่กลุ่มเป้าหมายและนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ว่า "ขอชื่นชมการดำเนินการปรับพื้นที่ ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วตามกำหนด และขอให้เป็นแบบอย่างแก่ชุมชนอื่นได้ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันนั้น ขอให้ทุกท่านร่วมกันสร้างทางแหล่งเรียนรู้ ในการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่คนในชุมชน โดยมีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักหรือเป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ก่อให้เกิดผลดีต่อวิถีชีวิตของประชาชนให้สามารถพึ่งตนเอง สร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน อย่างยั่งยืนต่อไป"
อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี...ภาพข่าว/รายงาน
ที่มา: อิมเมจ โซลูชั่น