หัวเว่ย ยึดมั่นพันธกิจเติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย พร้อมช่วยประเทศก้าวผ่านความท้าทายจากโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีเพื่อการแพทย์

ศุกร์ ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๑๕:๕๑
โรงพยาบาลบางขุนเทียนถือเป็นโรงพยาบาลสนามที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และเป็นด่านหน้าของการรับมือกับโควิด-19 ซึ่งทีมแพทย์ได้ใช้เทคโนโลยีโทรเวชกรรมผ่านโครงข่าย 5G และเทคโลยีดิจิทัลอื่น ๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรับมือสถานการณ์โรคระบาด ซึ่งรวมไปถึงเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงสำหรับบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ซึ่งสามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายคือการช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือระหว่าง บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรงพยาบาลสนามต่าง ๆ เพื่อรับมือกับจำนวนผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มขึ้น เพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลและการสื่อสารผ่านโครงข่ายความเร็วสูง ความร่วมมือดังกล่าวยังรวมถึงการจัดหาและส่งมอบเทคโนโลยีเพื่อการแพทย์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้แก่ทีมแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งเทคโนโลยีที่ส่งมอบนั้นรวมถึงระบบโทรเวชกรรมแบบ 5G (Telemedicine) ระบบการจัดการคนไข้แบบอัจฉริยะ (InPatient area Intelligent Management) และระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ eLTE เพื่อยกระดับการเชื่อมต่อให้กับโรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน

ในช่วงปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากโรคระบาดที่มีต่อทั้งภาคเศรษฐกิจและภาคสังคมนั้นถือว่าหนักหนาสาหัส ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งในระดับบุคคล อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น หน่วยงานต่าง ๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชนต่างร่วมมือกันเพื่อจัดการกับการแพร่กระจายของโควิด-19 และร่วมกันกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งหัวเว่ยเองได้มีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับโควิด-19 และเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในระยะยาว

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เน้นย้ำว่า การร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในครั้งนี้ สอดคล้องกับพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการเติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย สนับสนุนช่วยเหลือประเทศไทย ในฐานะที่เป็นพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยี เป็นผู้มีส่วนร่วมทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งความท้าทายท่ามกลางโรคระบาดนี้ นายอาเบลได้ย้ำถึงพันธกิจของบริษัทว่า หัวเว่ยจะยืนเคียงข้างประเทศไทย และช่วยเปลี่ยนวิกฤติให้กลายเป็นโอกาสใหม่ ๆ จากการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น5G คลาวด์ และ AI เข้ามาช่วยรับมือกับความท้าทายทั้งในภาคสาธารณสุข และด้านอื่น ๆ

หากมองย้อนกลับไปถึงสิ่งที่หัวเว่ยได้ทำตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2563 จะเห็นได้ว่าหัวเว่ยทำงานร่วมกับรัฐบาล เอกชน และพันธมิตรรายอื่นๆ ในอุตสาหกรรม รวมถึงโรงพยาบาลในไทยอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โควิด-19 เริ่มระบาด เพื่อช่วยปกป้องผู้คนและช่วยให้ภาคสังคมฟื้นตัวได้ โดยในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 หัวเว่ยได้ส่งมอบโซลูชันการประชุมผ่านวิดีโอสำหรับใช้ในการแพทย์หรือ Telemedicine ให้กับกรมควบคุมโรค โดยทีมงานของหัวเว่ยได้เข้าทำการติดตั้งระบบใน 5 จุดภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ การส่งมอบระบบดังกล่าวคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านบาท ครอบคลุมระบบโทรเวชกรรม 7 ชุด รองรับบัญชีผู้ใช้งานผ่านมือถือจำนวน 200 ผู้ใช้งาน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จากทั่วประเทศสามารถติดต่อสื่อสารกับทีมแพทย์ด่านหน้าได้ เพื่อให้การวินิจฉัยและติดตามอาการผ่านอุปกรณ์มือถือ ลดความเสี่ยงของการติดโรค และในวันเดียวกันนั้น พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ไอทีของกรมควบคุมโรค พร้อมแสดงความขอบคุณเหล่าทีมแพทย์ซึ่งประจำอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลบางพลี และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านระบบการประชุมทางไกล รวมถึงฝากให้หัวเว่ยได้ใช้ความเชี่ยวชาญที่มีในการเดินหน้าสานต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย

หัวเว่ยยังมุ่งมั่นพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศไทยร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งในด้านการวินิจฉัยโรคและการประเมินด้วยภาพ CT-Scan และการมอบบริการความช่วยเหลือผ่าน AI (AI-Assisted Service) ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 31 มีนาคมในปีที่ผ่านมา โดย ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า "เทคโนโลยี AI ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โซลูชันนี้ส่งผลให้จำนวนงานของบุคลากรทางการแพทย์ลดลงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์เช่นนี้" นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ต่อยอดด้วยการร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวเสริมว่า "เทคโนโลยี AI สามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยผลจากการตรวจแบบ CT-Scan จากเคสติดเชื้อได้อย่างแม่นยำและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลง" ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังได้เข้าเยี่ยมชมโรงพยาบาลศิริราชเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าในการปฏิบัติการเพื่อป้องกันโรคระบาด รวมไปถึงสภาพการทำงานและการดูแลผู้ป่วย และได้ทดลองใช้บริการวินิจฉัยโรคด้วยการช่วยเหลือจาก AI ของหัวเว่ยอีกด้วย

นอกเหนือไปจากความร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐทั้งสองแห่ง หัวเว่ยยังมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีไปยังองค์กรเอกชนด้วยเช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ได้ร่วมกับหัวเว่ย กลุ่มบริษัท จันวาณิชย์ และ HY Medical จากประเทศจีน พัฒนาเทคโนโลยี AI ในการช่วยตรวจสอบและวินิจฉัยโรคโควิด-19 ในผู้ป่วย โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาจึงเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในภูมิภาคที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและตรวจหาไวรัสได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ความร่วมมือทั้งหมดที่กล่าวมาได้พิสูจน์แล้วว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีส่วนช่วยเหลือรัฐบาลไทยอย่างมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังการระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงช่วยเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยด้วยการนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้ และ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2563 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ต้อนรับนายอาเบล เติ้ง ณ ทำเนียบรัฐบาล พร้อมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลรวมไปถึงอีโคซิสเต็ม 5G ในการสนับสนุนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของภูมิภาคนี้ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการสนับสนุนประเทศไทยในช่วงที่เผชิญกับสถานการณ์วิกฤตด้วยการมอบหน้ากากอนามัยจำนวน 500,000 ชิ้น เพื่อช่วยเหลือบุคลากรของภาครัฐในการป้องกันโควิด-19

จากการเข้าพบนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ หัวเว่ยจึงได้เร่งผลักดันการใช้งาน 5G และเทคโนโลยีชั้นนำอื่น ๆ เพื่อการสาธารณสุขอัจฉริยะของประเทศไทย โดยในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563 หัวเว่ยได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และโรงพยาบาลศิริราช นำเทคโนโลยี 5G มาใช้ประโยชน์ในโครงการนำร่องรถอัจฉริยะไร้คนขับเป็นครั้งแรกของประเทศ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของการสาธารณสุขไทยสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะผ่านนวัตกรรม 5G โดยรถอัจฉริยะไร้คนขับดังกล่าวมอบความสะดวก ปลอดภัย และคุ้มค่าต่อการใช้งาน ทั้งยังช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์และเสริมความปลอดภัยให้กับคนไข้ ทั้งนี้ จาก การนำเทคโนโลยี 5G มาปรับใช้ในระบบสาธารณสุขพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะในอนาคตอันใกล้

เพื่อสานต่อความร่วมมือที่ผ่านมาและความสำเร็จจากโครงการที่ทำร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช เพื่อสนับสนุนภารกิจของโรงพยาบาลฯ ในการเป็นศูนย์การแพทย์อัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ หัวเว่ยได้ลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาบริการอัจฉริยะ 5G ที่ขับเคลื่อนด้วย Cloud และ AI (5G Powered Smart Hospital Enabled with Cloud and AI) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดย ศ. ดร. นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ข้อตกลงครอบคลุมระยะเวลา 5 ปีนี้ จะช่วยยกระดับและมาตรฐานการบริการของโรงพยาบาลและเสริมประสิทธิภาพในการทำงานยิ่งขึ้น ทั้งยังนับว่าเป็นก้าวแรกสู่การก่อตั้งโรงพยาบาลรัฐอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี 5G แห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าความพยายามและความมุ่งมั่นของหัวเว่ยดังที่กล่าวมา ช่วยให้รัฐบาลและสังคมไทยต่อสู้กับโควิด-19 และเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในช่วงหลังโรคระบาดได้อย่างเข้มแข็ง โดยหัวเว่ยช่วยเสริมศักยภาพของประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนให้เป็นประเทศที่มีความพร้อมด้าน 5G สูงสุด รวมถึงการเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน หัวเว่ย ในฐานะบริษัทในประเทศไทยที่ต้องการร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคม ซึ่งมีพนักงานกว่า 3,300 คน ยังคงมุ่งส่งเสริมคุณค่าทางสังคมไทยเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นการฟูมฟักบุคลากรด้านดิจิทัล การลดช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนอื่น ๆ

ด้วยความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการสนับสนุนสังคมไทยตลอด 21 ปีที่ผ่านมา และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในยุคหลังโรคระบาดโควิด-19 หัวเว่ยจึงได้รับรางวัลอันทรงคุณค่า "พีเอ็ม ดิจิทัล อวอร์ด" ประเภท "Digital International Corporation of the Year" เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา และเป็นบริษัทเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ ในโอกาสดังกล่าว พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงเป้าหมายของรัฐบาลในการนำระบบ 5G และ AI มาปรับใช้ในการขับเคลื่อนประเทศ และขอให้หัวเว่ยดำเนินพันธกิจด้านดิจิทัลต่อไป โดยนายอาเบล เติ้ง ได้ตอบรับและเน้นย้ำถึงพันธกิจ "เติบโตในประเทศไทย ช่วยสนับสนุนประเทศไทย" ของบริษัท และหัวเว่ยพร้อมร่วมผลักดันประเทศไปข้างหน้าตามนโยบาย Thailand 4.0 ในฐานะพันธมิตรด้านเทคโนโลยีและเทคโนโลยี ICT ที่ไว้วางใจได้ และยังเป็นผู้ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในเชิงรุก ผู้สร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้

ที่มา: คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version