ผศ.ดร.ศิริเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า ในศตวรรษที่ 21 คนมีแนวโน้มตกงานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ครั้งที่ 4 ธุรกิจส่วนใหญ่จะเน้นความเป็น Automation หรือ ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติเข้ามาแทนที่คน เกิดการดิสรัปชันในวงกว้าง ส่งผลให้วิถีชีวิตผู้คน รวมถึงอาชีพและทักษะในการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ส่วนการดำรงชีพให้อยู่รอดในยุคนี้ได้นั้น ต้องอาศัยการยกระดับรายได้ปานกลางไปสู่รายได้ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นนั้น มาจากการสร้างนวัตกรรมและจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ สอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ที่ผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการสมัยใหม่มากขึ้น หรือ SME และ Startup ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเตรียมตัวตั้งรับในเรื่องดังกล่าว ด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่และการคิดเชิงนวัตกรรมมากขึ้น
"โรคระบาดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดนวัตกรรมใหม่มากขึ้น เมื่อคนเกิดความกลัวมากขึ้น การปฏิสัมพันธ์กันจะลดลง โลกอาจไปไกลถึงขั้นคิดค้นการสร้างอวตาร์หรือหุ่นยนต์ มาทำงานแทนตนเอง โดยผ่านการสั่งการจากคลื่นสมอง ดังนั้น จึงอยากให้ทุกคนหันมาพัฒนาตนเองหรือพัฒนาทักษะ ก้าวข้ามกรอบเดิมๆ ที่มองว่าอาชีพ ที่มาจากสายงานที่เรียนจะทำให้เติบโตในสายงานอาชีพนั้นๆ เพราะอนาคตเชื่อว่าเมื่อคนเกิดความกลัวโรคภัยไข้เจ็บ แนวโน้มที่คนจะอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์จึงมีสูง"ผศ.ดร.ศิริเดช กล่าว
ผศ.ดร.ศิริเดช กล่าวด้วยว่า หลักสูตร MBA ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีการปรับหลักสูตร ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาดแรงงานอยู่เสมอ และยังสามารถตอบโจทย์ความเป็นผู้ประกอบการแห่งอนาคตได้ เนื่องจากหลักสูตรนี้ ไม่ได้เรียนเพื่อสร้างผู้บริหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังเน้นการสร้างผู้ประกอบการ พร้อมทั้งมุ่งมั่นสร้างคนให้เป็นมืออาชีพในทุกศาสตร์ของการทำงานยุคใหม่ ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย ที่ว่า "สร้างธุรกิจ สร้างมืออาชีพ" ดังนั้น คนที่จบหลักสูตรนี้แม้จะถูกเลย์ออฟหรือตกงาน ก็จะสามารถปรับตัวและมองหางานที่ 2 รองรับได้ เนื่องจากมีการเรียนรู้และมีทักษะแรงงานแห่งอนาคตที่ได้รับการฝึกฝนจากหลักสูตรอย่างเข้มข้น อาทิ การตลาดออนไลน์ ทักษะการวางแผนวางเงิน การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ที่สำคัญมหาวิทยาลัยยังเน้นสอนให้คนรู้จักคิดนอกกรอบ หรือนำไอเดียเดิมมาเสริมนวัตกรรมใหม่ ให้ตอบโจทย์เพนพอยท์ของคนได้ในทุกยุคสมัยอีกด้วย
สำหรับผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของหลักสูตรได้ที่ https://ciba.dpu.ac.th/ หรือ โทร.02-954-7300
ที่มา: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์