จังหวัดอุบลราชธานี ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน พร้อมทั้งน้อมนำแนวพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือนทั่วประเทศ เน้นการพึ่งตนเอง และความสามัคคี ของคนในชุมชน เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก่อให้เกิดนวัตกรรมแห่งอาหาร เช่น เมนูอาหาร รักษ์สุขภาพ ตลาดนัดสีเขียว ผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้าน ทำให้ชุมชน เกิดความสามัคคี มีวิถีพอเพียง เกื้อกูล สามารถดูแลช่วยเหลือ และแบ่งปันกัน ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 นี้ ถือเป็นการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานโครงการ ปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความยั่งยืน กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ขับเคลื่อนการน้อมนำ แนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทาง รอบ 2 ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2564 ด้วยการดำเนินงาน 6 กระบวนงาน ได้แก่ 1)ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง 2)ผู้นำต้องทำก่อน 3)นักพัฒนา 4 ประสาน กลไกการ ขับเคลื่อน 4)ทุกครัวเรือนคือคลังอาหาร ทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน 5) ทักษะชีวิตวิถีใหม่ เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น 5)ถอดรหัสการ พัฒนา : ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองในการสร้างความมั่นคงทาง อาหารอย่างยั่งยืน
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานโครงการปลูกผักสวนครัวเพื่อ สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับ หมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความยั่งยืน สร้างกระแสการปลูกผักสวนครัวและเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2 / การมอบต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ผักจากบ้านเกษม ตำบลเกษม อำเภอตระการพืชผล ซี่งเป็นตัวแทนจังหวัดฯ เข้าร่วมการประกวดโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง / การร่วมปลูกผักสวนครัวเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งพาตนเอง และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มความสุขในครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา: image solution