พช.พัทลุง โชว์ความสำเร็จขับเคลื่อนการพัฒนาต้นแบบศูนย์เรียนรู้รูปแบบ "โคก หนอง นา โมเดล" ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ครบ 100% ในพื้นที่อำเภอศรีนครินทร์

พฤหัส ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๐๘:๔๗
พช.พัทลุง โชว์ความสำเร็จขับเคลื่อนการพัฒนาต้นแบบศูนย์เรียนรู้รูปแบบ "โคก หนอง นา โมเดล" ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ครบ 100% ในพื้นที่อำเภอศรีนครินทร์

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.00 น. นางลภารมย์ หนูสวัสดิ์ พัฒนาการจังหวัดพัทลุง มอบหมายนายประพันธ์ วรรณบวร ผอ.กลุ่มงารสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ในพื้นที่อำเภอศรีนครินทร์   โดยมีนายยสินทร สุทธิกุล พัฒนาการอำเภอศรีนครินทร์  ร่วมติดตามและให้ข้อมูล ซึ่งการดำเนินงานภาพรวมของอำเภอ จำนวน 10 แปลงใน 10 หมู่บ้าน ขุดปรับพัฒนาพื้นที่ศูนย์เรียนรู้โคกหนองนาโมเดลเสร็จแล้วครบทุกแปลง 100% โดยวันนี้ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชม จำนวน 2 หมู่บ้าน ดังนี้

  1. โคกหนองนาแปลง 1 ไร่ ตั้งอยู่ ม. 6 ต.ชุมพล ครัวเรือนของนายอำนวย หนูฤทธิ์ พื้นที่แปลงติดถนนสายหลัก พัฒนาพื้นที่เสร็จแล้วสวยงามมาก ที่น่าชื่นชมคือเจ้าของแปลงได้ลงมือปลูกพืชผักสวนครัวบนคันนาทองคำ ปลูกไม้ผลบนโคก เกือบเต็มพื้นที่แล้ว รวมทั้งปล่อยปลาในบ่อ เลี้ยงเป็ดข้างแปลง และทำขนำในแปลงเสร็จแล้ว ยังมีกาต้มกาแฟบริการอีกด้วย เจ้าของแปลงบอกว่าชอบใจมาก มีความสุขมาก จุดนี้ผู้ใหญ่บ้านยังบอกว่ามีการขยายผล โดยมีครัวเรือนอื่นๆ ในหมู่บ้านอีก 3 แปลง ทำตามด้วย กำลังลงมือพัฒนาพื้นที่ตนเองในรูปแบบโคกหนองนาโมเดลโดยใช้งบตัวเอง
  2. โคกหนองนาแปลง 3 ไร่ ตั้งอยู่ ม. 1 ต.ชุมพล ครัวเรือนของนางเพียงเพ็ญ คงแสง เดินทางสะดวกเลยถนนคอนกรีตนิดเดียว รถยนต์เข้าถึงแปลง พื้นที่ติดทุ่งนากว้างใหญ่สวยงาม เพิ่งขุดเสร็จ โดยขุดคลองไส้ไก่รอบแปลง มีหนองเดิมในแปลงแล้ว 1 หนอง ขุดหนองเดิมให้ลึกเพิ่ม และขุดหนองใหม่รูปหัวใจอีก 1 หนอง นำดินไปปั้นโคกทำเป็น 4 ชั้น แปลงนี้การขุดได้นำหน้าดินที่ขุดพักไว้แล้วมาปูหน้าคันดินที่ปรับแต่งโดยรอบด้วย ถือว่าทำได้ดีมาก เจ้าของแปลงบอกว่าบริเวณนี้หลายแปลงโดยรอบรวมทั้งแปลงนี้ด้วยเคยปรับพื้นที่นามาปลูกยางพาราด้วยความหวังสร้างรายได้จากยางราคาแพงมากที่ผ่านมา แต่ต้นไม่โต เรียวเล็กไม่ได้ผล เพราะพื้นที่นาไม่เหมาะปลูกยางพารา เจ้าของแปลงบอกว่าขุดเสร็จแล้วดีใจมาก จะนำสมาชิกกลุ่มสัมมาชีพชุมชน มาเลี้ยงปลา ปลูกพืชผัก ปรับปรุงดิน สร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน รวมถึงเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำอุดมสมบูรณ์สร้างสุขให้ตนเองและคนในชุมชนต่อไป

ที่มา: อิมเมจ โซลูชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ