Kick off รณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน จังหวัดขอนแก่น ยืนยันโค-กระบือหากเป็นแล้วรักษาหาย เนื้อทานได้ ไม่ติดต่อสู่คน

อังคาร ๒๕ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๑๕:๓๓
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาและแนวทางมาตรการป้องกันโรคระบาด โรคลัมกี สกิน ในพื้นที่เขต 3 และเขต 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดขอนแก่น และเป็นประธานเปิดงาน Kick off รณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin Disease) ที่จังหวัดขอนแก่น ว่า จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี สกิน อย่างใกล้ชิด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กำชับให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งแก้ไขปัญหาการควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน ดังนั้นเพื่อให้การควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อคลายความวิตกกังวลของเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงาน Kick off รณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน ระหว่างวันที่ 25 - 26 พ.ค. 64 ณ จังหวัดขอนแก่น สกลนคร และมุกดาหาร โดยกิจกรรมประกอบด้วย 1) ปล่อยขบวนสัตวแพทย์เคลื่อนที่ไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อรักษาโค -กระบือ ที่ป่วย โดยเป็นการรักษาตามอาการในเบื้องต้น 2) ปล่อยขบวนหน่วยพ่นยาทำลายเชื้อโรคและพ่นสารเคมีกำจัดแมลง ซึ่งเป็นพาหะของโรค เพื่อยับยั้ง ชะลอการแพร่ระบาด 3) แจกสารเคมีกำจัดแมลงที่เป็นพาหะ แจกยารักษาแผลภายนอก ยาบำรุง แร่ธาตุ ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจโรคและการป้องกันให้กับเกษตรกร สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โรคลัมปี สกิน เป็นแล้วรักษาหาย เนื้อทานได้ ไม่ติดต่อสู่คน พร้อมทั้งสั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ของโรคอย่างใกล้ชิด

"พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสถานการณ์การระบาดในปัจจุบัน จึงได้สั่งการมาให้รีบมาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการติดตามระยะของโรคมาตั้งแต่ต้นปี 2564 ซึ่งมีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน และมีการสั่งปิดด่านเคลื่อนย้ายสัตว์ระหว่างชายแดนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แต่การระบาดของโรคลัมปี สกิน ได้มาปรากฏขึ้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดแรก ขณะนี้กระจายไปทั่ว 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างความตื่นตระหนกกับเกษตรกรอย่างมาก เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย เกษตรกรไม่รู้รายละเอียดของโรค ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ข้อสรุปของโรคแล้ว ขอรับรองว่ารักษาหาย เนื้อทานได้ ไม่ติดต่อถึงคน โดยกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางมาตรการป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกินแล้ว ขอให้เกษตรกรอย่าวิตกกังวล ให้ติดตามข้อมูลจากเจ้าที่ปศุสัตว์เป็นหลัก โดยเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จะลงพื้นที่เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกร" รมช.ประภัตร กล่าว

ปัจจุบันพบรายงานการเกิดโรคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว 20 จังหวัด สัตว์ป่วยรวมจำนวน 8,964 ตัว ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์จะออกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันแก่โค-กระบือของเกษตรกร โดยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโรคลัมปี สกิน และเน้นย้ำหน่วยงานในพื้นที่ให้เพิ่มความเข้มงวด ไม่ให้มีการขนย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาตโดยเด็ดขาด และเตรียมเสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อขอใช้งบกลางในการสนับสนุนอุปกรณ์และปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ 1) มุ้งสีฟ้าตาถี่ สำหรับแจกจ่ายให้เกษตรกรใช้กางให้กับสัตว์ เพื่อป้องกันแมลงดูดเลือด และยุงที่เป็นพาหะนำโรค 2) ยารักษาโรคสัตว์ป่วยทั่วไป 3) ยาฉีดกำจัดปรสิต 4) ยาทาภายนอกสำหรับกำจัดปรสิต 5) ยาฆ่าเชื้อไวรัส 6) เครื่องพ่นหมอกควัน สำหรับให้เกษตรกรไว้ใช้พ่นหมอกควันกำจัดแมลงในชุมชน

นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้หน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่รณรงค์เชิญชวนให้เกษตรกรหันมาทำประกันสัตว์ ซึ่งจ่ายเบี้ยประมาณ 400 บาทต่อ 6 เดือน แต่คุ้มครองการตายของสัตว์ทุกกรณี 30,000 บาท และยังเตรียมหารือ เรื่องการจ่ายเงินตอบแทนให้กับอาสาสมัครปศุสัตว์ ซึ่งมีทั่วประเทศจำนวนกว่า 60,000 คน อีกทั้งยังได้เน้นย้ำกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ทำการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบในเชิงรุกและทั่วถึง ในเรื่องของรายละเอียดของโรคลัมปี สกิน และการดูแลสัตว์เบื้องต้นในสถานการณ์การระบาดของโรค รวมถึงการสังเกตุอาการของสัตว์ในเบื้องต้น

ทั้งนี้ หากเกษตรกรต้องการความช่วยเหลือเบื้องต้น หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคลัมปี สกิน สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่ของท่าน หรือติดต่อสำนักควบคุมโรค ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สบค.) กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนแจ้งโรคระบาดกรมปศุสัตว์ โทร 063 - 225 - 6888 หรือแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน DLD 4.0 "แจ้งการเกิดโรคนะบาด" ได้ตลอดเวลา และสามารถติดตามสถานการณ์การระบาดและศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคลัมปี สกิน ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักควบคุม ป้องกันแบะบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ www.sites.google.com/view/dldlsd/home.com

ที่มา: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๗ ศิริราชมอบรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท ประจำปี 2566 และ 2567 ให้แก่ นพ.มนตรี หนองคาย และ นพ.วรวุฒิ พัฒนโภครัตนา
๑๔:๐๒ UMI ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) จาก โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก
๑๔:๕๒ PLUS แจงภาษีนำเข้าจากนโยบาย Trump ยังไม่กระทบธุรกิจ มั่นใจเดินหน้าตามเป้าหมาย
๑๔:๓๓ 'เดชอิศม์' ชื่นชม 2 แพทย์หญิงกรมอนามัย ช่วยชีวิต 2 หนูน้อยแรกคลอด ขณะเกิดเหตุ แผ่นดินไหว
๑๔:๔๗ พรีโม เร่งตรวจสอบความปลอดภัย ดูแลลูกบ้านหลังเกิดแผ่นดินไหว ผนึกกำลังบริษัทในเครือครั้งใหญ่ เดินหน้าซ่อมแซมทรัพย์สินเสียหาย
๑๔:๒๔ บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี เอาใจใส่ต่อสังคม สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้โรงเรียนในชุมชน
๑๔:๕๗ 87 ปี โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมทำความดีบริจาคโลหิต ดวงตา และอวัยวะ
๑๔:๓๓ เซ็นทาราเดินหน้าขยายโรงแรม ลงนามสัญญาบริหารโรงแรมแห่งแรกในราชบุรี เซ็นทารา ไลฟ์ วิสมา ราชบุรี
๑๔:๕๕ เข้าพักอย่างสบาย เที่ยวอย่างมีสไตล์ไปกับแพ็กเกจ Bangkok Discovery ที่สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๑๔:๐๘ มทร.ธัญบุรีตรวจสอบทุกอาคารปลอดภัยหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว