กองทุนฟื้นฟูฯ เร่งพิจารณาโครงการฟื้นฟูอาชีพที่องค์กรเกษตรกรยื่น ย้ำโครงการดี อนุมัติไว ผ่านแล้วกว่า 200 โครงการ

พฤหัส ๒๗ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๐๓
นางรัชฎาภรณ์  แก้วสนิท  ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรสมาชิกที่มีอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 5.6 ล้านคน นับเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกำลังเร่งดำเนินการตามเจตนารมณ์ของ กฟก. ที่ต้องการเปิดโอกาสให้เกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการจัดการหนี้แล้ว ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการรวมกลุ่มไม่น้อยกว่าจำนวน 50 คน ขึ้นทะเบียนกับกฟก.ในนามองค์กรเกษตรกร และจัดทำแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพที่มีกิจกรรมด้านการเกษตร เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย 

"ในส่วนของผลการพิจารณาเพื่ออนุมัติแผนงานและโครงการฟื้นฟูที่องค์กรเกษตรกรได้เสนอยื่นของปีงบประมาณ  2564  จนถึงขณะนี้ ได้มีการอนุมัติไปแล้วกว่า 200 โครงการ แต่ละโครงการได้รับงบประมาณสนับสนุนประมาณ 400,000-500,000 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนของการโอนเงินสนับสนุนให้กับองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติ"

นางรัชฎาภรณ์ กล่าวต่อไปว่า พร้อมกันนี้อยากทำความเข้าใจกับองค์กรเกษตรกร ที่ยื่นโครงการฟื้นฟูเกี่ยวกับอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อว่า ขณะนี้ทางกองทุนฯ ได้ระงับการพิจารณาไว้เป็นการชั่วคราว สาเหตุเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี สกินในพื้นที่ภาคอีสาน ที่ส่งผลให้โคกระบือของเกษตรกรป่วยเป็นจำนวนมาก โดยหลังจากที่สถานการณ์ดีขึ้นและแก้ไขปัญหาการระบาดได้เรียบร้อย จะนำโครงการที่ยื่นกลับมาพิจารณาอีกครั้ง"

นางรัชฎาภรณ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ในส่วนของการพิจารณาโครงการฟื้นฟูนั้น กองทุนฯ จะมีขั้นตอนตามระเบียบที่กำหนด เพื่อเป็นการเร่งช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกให้สามารถสร้างรายได้จากอาชีพตามโครงการฟื้นฟู ที่เสนอ ดังนั้นจะเน้นให้พิจารณาอนุมัติผ่านสำนักงานแต่ละจังหวัด ซึ่งจะมีคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ประกอบด้วย ผู้แทนเกษตรกร 8 คน ตัวแทนราชการ 4 คน และภาคประชาชน 4 คน ทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองในเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงจะส่งแผนงานโครงการที่เห็นชอบจากคณะอนุกรรมการฯ จังหวัดมายังสำนักงานที่ส่วนกลาง ซึ่งจะมีการตรวจสอบและพิจารณาอีกครั้งก่อนการอนุมัติ ในขั้นตอนการอนุมัตินั้นขอเพียงให้มีแนวโน้มของการดำเนินโครงการว่ามีความเป็นไปได้ ทางกองทุนฯจะอนุมัติให้ทันที

" ขณะนี้ได้มีหลายโครงการที่ได้รับการอนุมัติ และได้ไปดำเนินการจนประสบความสำเร็จ สามารถ  ทำให้เกษตรกรสมาชิกสร้างรายได้ เช่น การปลูกผัก การทำเกษตรแบบพอเพียง เลี้ยงปลา เพาะเห็ด เลี้ยงสุกร เป็นต้น" นางรัชฎาภรณ์  กล่าวปิดท้าย 

ที่มา: กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ