และเป็นที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ให้ดำเนินโครงการ "นวัตกรรมสีเขียวในการวิเคราะห์ทางเคมีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น" โดยมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย"Local issues- Global impact- Sustainable world" มุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดสมัยใหม่
พัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีโดยใช้รีเอเจนต์จากธรรมชาติ ซึ่งบุกเบิกการสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากว่า ๑๕ ปี อย่างต่อเนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า ๑๐๐ ปี ของบรรพชนชาวฝาง นำมาสู่การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ร่วมกับศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์และคลัสเตอร์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพพัฒนาต้นแบบรีเอเจนต์ธรรมชาติแบบพร้อมใช้ และขยายเครือข่ายการใช้งานเริ่มต้นไปยังมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ ๘ แห่ง ได้แก่
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร)
University of Malaya ประเทศมาเลเซีย และ Hamburg University of Applied Science สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ซึ่งได้ปรับใช้รีเอเจนต์ธรรมชาติแบบพร้อมใช้งานที่พัฒนาขึ้นกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในกระบวนวิชาเภสัชควบคุมคุณภาพด้วย
ทั้งนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. เกตุ กรุดพันธ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยพะเยา ในการได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในครั้งนี้ด้วย
ที่มา: มหาวิทยาลัยพะเยา