พช.อ่างทอง สนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมเอามื้อสามัคคี

จันทร์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๐๙:๒๒
พช.อ่างทอง สนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมเอามื้อสามัคคี

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น.นายทินกร บุญเงิน พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง มอบหมายนางสาวผกากรอง สุทธิสารนันท์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศ พร้อมด้วยนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามโก้ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่"โคก หนอง นา โมเดล" พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for qualityof life : HLM) ร่วมกับครัวเรือนต้นแบบฯ ในพื้นที่อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ดังนี้ 

แปลงที่ 1 นายสุนทร เนตรแสงจันทร์ ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ ตั้งอยู่ที่ บ้านกะเร้นเล็ก หมู่ที่ 2 ตำบลราษฏรพัฒนา 

แปลงที่ 2 นางสาวรตนพร บำรุงญาติ ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองผักเขียว หมู่ที่ 4 ตำบลมงคลธรรมนิมิต

ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ทั้ง 7 ภาคี (ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคศาสนา และภาคสื่อมวลชน) น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว "สืบสาน รักษา ต่อยอด" พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติ "โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา" เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นชุมชนผ่านการสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบ่าดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19

คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล"วงเงินงบประมาณ 4,787,916,400  บาท โดยดำเนินการในพื้นที่ 73 จังหวัด 575 อำเภอ 3,246 ตำบล 25,179 ครัวเรือน

จังหวัดอ่างทองได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการภายใต้กรอบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid 19) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่"โคก หนอง นา โมเดล" พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ในพื้นที่ 6 อำเภอ จำนวน 44 ราย/แปลง แบ่งเป็น ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 34 ราย/แปลง และขนาดพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 10 ราย/แปลง และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564ในพื้นที่ 7 อำเภอ แบ่งเป็น ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 82 แปลง และขนาดพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 17 แปลง รวมทั้งสิ้น 99 ราย/แปลง ในการดำเนินโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบโคก หนอง นา โมเดล มีเป้าหมายดำเนินการทุกอำเภอ รวมทั้งสิ้น 143 ราย/แปลง

นางสาวผกากรอง สุทธิสารนันท์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ในวันนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบ เพื่อพูดคุยผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัญหา อุปสรรค ความก้าวหน้า หลังจากได้ดำเนินการขุดปรับพื้นที่ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน อำเภอสามโก้ "งบเงินกู้" ครบทั้งสามแปลง โดยเน้นย้ำให้ครัวเรือนต้นแบบ ได้ดำเนินการทำทันที และวางแผนการจัด กิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทและภูมิสังคม  ซึ่งจังหวัดอ่างทอง ได้สนับสนุนให้มีกิจกรรมกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชนผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต(Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน และในวันนี้ได้ร่วมกันเอามื้อสามัคคี ห่มฟาง ปรับสภาพดิน แปลงของครัวเรือนต้นแบบฯ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้  ผ่านการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มกันพัฒนาพื้นที่ เกิดความรัก ความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน ส่งผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน อย่างยั่งยืน

ที่มา: อิมเมจ โซลูชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ