คุณรอย ออกุสตินัส กุนารา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยิ่งนานวันจะยิ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจไทยในวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ หลายร้านค้ามียอดขายลดลง หรือแม้แต่จำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย เข้าใจถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากและความจำเป็นในการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการอย่างพ่อค้าแม่ค้าเป็นอย่างดี จึงออกผลิตภัณฑ์ "สินเชื่อไมโคร พลัส" ที่มีวงเงินกู้ตั้งแต่ 200,001 - 500,000 บาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง หรือขยายธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้า และช่วยผู้ประกอบการรายย่อย อันเป็นรากฐานของประเทศไทยในการฝ่าวิกฤตนี้ไปให้ได้อีกครั้ง ตามแนวคิดของธนาคารฯ "Everyone Matters ใครไม่เห็น เราเห็น" ที่เล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน"
นายกมลภู ภูริดิฐสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริหารธุรกิจไมโครไฟแนนซ์และสาขาสินเชื่อ กล่าวว่า "ชีวิตคนค้าขาย โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบตรงกับกิจการของผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไป ซึ่งรายได้ลดลงในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจยังคงเดิมทำให้ขาดสภาพคล่อง ธนาคารจึงได้ออก สินเชื่อไมโคร พลัส จึงทำมาเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการต่อยอดกิจการโดยไม่ต้องใช้หลักประกันในการยื่นกู้ ซึ่งจะทำให้พ่อค้าแม่ค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุน กู้ง่ายขึ้นในช่วงที่การกู้เงินเป็นเรื่องยาก"
ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย ยังคงตอกย้ำจุดยืนมุ่งมั่นช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย โดยในปี 2563 ที่ผ่านมาสามารถปล่อยวงเงินสินเชื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยอยู่ที่วงเงินกว่า 8,500 ล้านบาท และมีลูกค้าของสินเชื่อฯ สองแสนกว่าราย ในปีนี้ธนาคารฯ จึงต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างสินเชื่อไมโคร พลัส ขึ้นมาสำหรับกลุ่มร้านค้าธุรกิจที่ต้องการวงเงินสินเชื่อที่มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสและสนับสนุนให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้ามากที่สุด
ที่มา: ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย