กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายเสริมความแข็งแกร่ง เฝ้าระวังการกลายพันธุ์ไวรัสก่อโรคโควิด 19 ในไทย เพื่อเป็นข้อมูลป้องกันควบคุม รักษาโรค และต่อยอดการวิจัย

พฤหัส ๑๐ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๑๕:๓๘
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเครือข่ายห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19 ในประเทศ ซึ่งการร่วมมือนี้จะทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลเฝ้าระวังสายพันธุ์ที่เข้มแข็ง และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อการควบคุมป้องกันโรค การรักษา และการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ในประเทศ

ทั้งนี้จากการสุ่มตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อไวรัสซาร์-โค-วี-2 (SARS-CoV-2) ตั้งแต่เดือนเมษายน -มิถุนายน 2564 รวมจำนวน 4,185 ราย พบว่า สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) มีการพบมากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 3,703 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.48 รองลงมาคือ สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 348 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.32 สายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1 (dade G), B.1 (dade GH), B.1.1.1 (dade GR) จำนวน 98 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.34 สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.62 และสายพันธุ์ B.1.524 จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.24 ซึ่งข้อมูลต่างๆ นี้มีการประสานรายงานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อใช้ในการควบคุมเฝ้าระวังในพื้นที่ต่อไป

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และ WHO พบว่าสายพันธุ์อัลฟา เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายง่าย ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม วัคซีนที่ใช้ในประเทศยังสามารถใช้ได้กับสายพันธุ์นี้

ส่วนสายพันธุ์เดลตา พบว่ามีการแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา อย่างไรก็ตามยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อัลฟาแต่อย่างใด วัคซีนที่ใช้ในประเทศยังสามารถใช้ได้กับสายพันธุ์นี้

สายพันธุ์เบตา พบว่ามีการแพร่กระจายได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่น แต่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม

โดยข้อมูลล่าสุด (วันที่ 9 มิถุนายน 2564) มีการรายงานพบสายพันธุ์เดลตา ในจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 348 ราย พบในกรุงเทพมหานคร 318 ราย อุดรธานี 17 ราย สระบุรี 2 ราย นนทบุรี 2 ราย ขอนแก่น 2 ราย ชัยภูมิ 2 ราย พิษณุโลก 1 ราย ร้อยเอ็ด 1 ราย อุบลราชธานี 1 ราย บุรีรัมย์ 1 ราย และสมุทรสาคร 1 ราย

การรายงานผลการเฝ้าระวังนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานในประเทศ จังหวัด ชุมชน สำหรับเฝ้าระวังติดตามในจังหวัด รวมถึงเป็นข้อมูลในการรักษาโรค และเพื่อให้ประชาชนได้ป้องกันตนเอง โดยการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ยังคงมีความสำคัญในการป้องกันโรคนี้เช่นเดิมไม่ว่าจะสายพันธุ์อะไร ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังเดินหน้าเฝ้าระวังสายพันธุ์ในประเทศร่วมกับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และพร้อมให้ข้อมูลการเฝ้าระวังกับทุกหน่วย เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

ที่มา: โฟร์พีแอดส์ (96)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม