ทั้งนี้นายศุภชัย เจียรวนนท์ จะร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในฐานะที่เป็นซีอีโอ เครือเจริญโภคภัณฑ์ บนเวทีหลัก หรือ Main Stage Plenary ของการประชุมสุดยอดผู้นำระดับโลกด้านความยั่งยืน ประจำปี 2564 ในวันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2564 นี้ เวลา 11.00-11.45 น. เวลาท้องถิ่น เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือตรงกับเวลา 22.00-22.45 น. ตามเวลาประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ "Light the Way to Glasgow and Net Zero: Credible Climate Action for a 1.5 ?C World" หรือ " มุ่งหน้าสู่การประชุม COP26 Glasgow และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์: แนวทางปฏิบัติเพื่อควบคุมภาวะโลกร้อนให้อยู่ในขอบเขต 1.5 องศาเซลเซียส" ซึ่งถือเป็นหัวใจของการประชุม UN Global Compact Leaders Summit 2021 โดยมี นายกอนซาโล มูนโญส(Gonzalo Mu?oz) Chile COP25 High Level Climate Champion และนายไนเจล ทอปปิง (Nigel Topping) UN's High-Level Climate Action Champion ซึ่งเป็นแชมเปี้ยนในเรื่อง Climate Change เป็นผู้กล่าวนำ และมี Special Remarks จาก นายเซลวิน ฮาร์ท (Selwin Hart) Special Advisor to the Secretary General on Climate Change, Executive Office of the Secretary-General (EOSG) จากนั้นเป็นเสวนาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้นำจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ นางสาวดามิลโอลา โอกันบียี (Damilola Ogunbiyi) ซีอีโอจากองค์กร Sustainable Energy for All (SEforALL)และอีกตำแหน่งคือผู้แทนพิเศษเลขาสหประชาชาติด้านพลังงานความยั่งยืนใน UN-Energy, นายศุภชัย เจียรวนนท์ (Suphachai Chearavanont) ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์, นายคีธ แอนเดอร์สัน (Keith Anderson) ซีอีโอจากบริษัทพลังงาน Scottish Power ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านการค้าการลงทุนของรัฐบาลสหราชอาณาจักร นางสาวซานด้า โอเจียมโบ (Sanda Ojiambo) Chief Executive Officer & Executive Director, United Nations Global Compact, นายอโลก ชาร์มา (Alok Sharma) President, COP 26, นางสาวกราเซียล่า ชาลูป โดส ซานโตส มาลูเชลลี่ (Graziela Chaluppe dos Santos Malucelli) COO & Executive Vice President Operations, Supply & Quality, Novozymes ทั้งนี้โดยมีนายพอล ซิมพ์สัน (Paul Simpson) Chief Executive Officer, CDP เป็นผู้ดำเนินรายการ
การประชุมสุดยอดผู้นำระดับโลกด้านความยั่งยืน ประจำปี 2564 ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นวาระสำคัญของประเทศไทยที่ได้มีบทบาทและเจตจำนงในการลดโลกร้อน โดยประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานเสวนาบนการประชุมสุดยอดผู้นำระดับโลกด้านความยั่งยืน ประจำปี 2564 ถึง 2 หัวข้อด้วยกัน หัวข้อแรก คือ "การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่การปล่อยยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์" หรือ "Southeast Asia's Net Zero Transformation for Agriculture & Food Sector" จัดโดย เครือเจริญโภคภัณฑ์จากประเทศไทย มีผู้ร่วมเสวนาจากประเทศไทย ได้แก่ นายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ดร.กลย์วัฒน์ สาขากร (Kollawat Sakhakara) ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานงานกลางอนุสัญญา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ (Kiatchai Maitriwong) ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จัดขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 10.30-11.30 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
นอกจากนี้สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT ได้เป็นเจ้าภาพจัดเสวนาในหัวข้อ "การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: ยกระดับแนวทางธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก" หรือ "A New Era of Action. Accelerate Climate Action: Raising Business Pathway to Decarbonization" ซึ่งจะมีผู้นำองค์กรธุรกิจ องค์กรภาครัฐจากประเทศไทย เข้าร่วมประชุมเสวนา ได้แก่ นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) และนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในวันที่ 16 มิถุนายน เวลา 09.00-09.50 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
ในการประชุมนี้ยังมีตัวแทนจากภาครัฐของประเทศไทยที่เข้าร่วมด้วย คือ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี โดยดร.วิษณุจะกล่าวปาฐกถาในเวทีเสวนาเรื่องสิทธิมนุษยชนและหลักปฏิบัติด้านแรงงาน ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNGP) ใน วันที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 14.00 - 14.30 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยจะร่วมเวทีกับนักคิดชั้นแนวหน้า เช่น ศาสตราจารย์ จอห์น รักกี้ (John Ruggie) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้มีส่วนร่างหลักการ UNGP และนางมิเชล บาเชลเลท (Michelle Bachelet) อดีตประธานาธิบดีชิลี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
สำหรับการประชุม UN Global Compact Leaders Summit 2021 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน ในรูปแบบการประชุมเสมือนจริงผ่านทางออนไลน์ที่เปิดให้ผู้นำภาคส่วนต่าง ๆ และผู้สนใจจากทั่วโลกสามารถเข้าร่วมงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการประชุมมาราธอนยาวตลอด 2 วัน โดยได้รับเกียรติจาก นายอันโตนิโอ กูแทเรส (Ant?nio Guterres) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และนางสาวซานด้า โอเจียมโบ (Sanda Ojiambo) ซีอีโอและผู้อำนวยการบริหาร UN Global Compact กล่าวเปิดงานประชุมอย่างเป็นทางการ ซึ่งไฮไลท์การประชุมนี้จะเป็นเวทีที่ได้นำวิสัยทัศน์และกลยุทธ์จากบรรดาสุดยอดผู้นำจากทั่วโลก มาร่วมสร้างแนวทางองค์กรแห่งความยั่งยืนด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การลงมือปฏิบัติได้จริงเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ขึ้น โดยมีทั้งผู้บริหารจากภาครัฐ นายกเทศมนตรี ซีอีโอและผู้บริหารจากภาคธุรกิจชั้นนำในหลายประเทศทั่วโลกร่วมการประชุม อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์, ยูนิลีเวอร์, ชไนเดอร์ อิเล็คทริค, ลอรีอัล, เนสท์เล่, หัวเว่ย, อิเกีย, ซีเมนส์ เอจี ตลอดจนผู้บริหารจากบริษัทที่ปรึกษา บอสตัน คอนซัลท์ติ้ง กรุ๊ป , ผู้บริหารจากบริษัทกฎหมาย และการจัดการทางธุรกิจระดับโลก เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ นอกจากนี้ยังมีนักลงทุน นักกิจกรรม องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรด้านความยั่งยืน นักวิชาการ และสื่อมวลชนชั้นนำ เข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่มาบรรจบกับการระบาดของโควิด-19
ทั้งนี้สื่อมวลชนและผู้สนใจด้านความยั่งยืนสามารถเข้าร่วมรับฟังการเสวนาออนไลน์และติดตามการประชุมครั้งสำคัญที่คนไทยมีบทบาทบนเวทีโลกได้ตลอดงานทั้ง 2 วัน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้แล้ววันนี้ที่ https://globalcompact-th.com/UNGCLeadersSummit2021
ที่มา: ซีพี