ชมรมนิสิตเก่าค่ายอาสาสมัครจุฬาฯ ปันน้ำใจสู้ภัยโควิด

ศุกร์ ๑๑ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๑๗:๑๐
ชมรมนิสิตเก่าค่ายอาสาสมัครจุฬาฯ ได้จัดทำโครงการปันน้ำใจสู้ภัยโควิด-19 โดยร่วมบริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนการจัดหาเครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาล 3 แห่ง ดังนี้

รศ.นอ.นพ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ อดีตรองอธิการบดี จุฬาฯ เป็นตัวแทน CU Freshy 12 และชมรมนิสิตเก่าค่ายอาสาสมัครจุฬาฯ มอบเงินสมทบทุนโครงการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ให้กับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 157,212 บาท

ชมรมนิสิตเก่าค่ายอาสาสมัคร จุฬาฯ บริจาคเงินจำนวน 402,700 บาท เพื่อจัดหาเครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง สำหรับใช้ในหอผู้ป่วยโรคโควิด โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 1 เครื่อง

นพ.อนันต์ ประพันธ์วัฒนะ ตัวแทนชมรมค่ายอาสาสมัคร จุฬาฯ มอบเงินจำนวน 115,000 บาทให้กับกองทุนสู้ภัยโควิด โรงพยาบาลสมุทรปราการ เนื่องจากโรงพยาบาลรับผู้ป่วยโควิดจำนวนมาก ทั้งยังขาดแคลนเครื่องเวนติเลเตอร์ (เป็นเครื่องช่วยหายใจ ใช้ในคนไข้ที่หายใจเองไม่ได้) อีก 4 เครื่องเพื่อใช้ในห้อง ไอ.ซี.ยู.

หากท่านใดมีจิตศรัทธาจะบริจาค โปรดติดต่อ โทร. 088 002 9208 ได้ทุกวัน หรือร่วมสมทบทุนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อ "กองทุนสู้ภัยโควิดโรงพยาบาลสมุทรปราการ" เลขบัญชี 219-0-53756-8

ที่มา: พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ