นายธีราพงศ์ สุทธิพงศ์ธนาภัทร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิว ไบโอซายน์ จำกัด กล่าวถึงภาพรวมการบริหารงานว่า คิว ไบโอซายน์ มีวิสัยทัศน์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทย พัฒนาระบบการบริการทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น ครอบคลุมทั้งทางเทคโนโลยีการตรวจรักษา การวินิจฉัย การติดตามผลการรักษา เนื่องด้วยบริษัทฯ ตระหนักดีถึงความสำคัญของผลการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ว่า มีส่วนช่วยในการรักษาผู้ป่วยของแพทย์ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่คนไข้ ด้วยเหตุนี้ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานมากว่า14 ปี บริษัทฯ จึงตั้งใจเฟ้นหาและเลือกสรรผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพที่เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาจัดจำหน่ายในประเทศไทย พร้อมให้ความสำคัญอย่างมากกับการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเครื่องมือและระบบต่างๆ นั้น สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม่นยำ ทำให้แพทย์ผู้ใช้งานสามารถใช้ผลวางแผนการรักษาผู้ป่วยให้ดีที่สุด
ในด้านการดำเนินงานบริหาร บริษัทฯ มีทีมในการเข้าให้ข้อมูลกับลูกค้าในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น พิจารณาการระบาด นโยบายการรับมือในพื้นที่นั้นๆ หรือเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย ร่วมกับแนวทางการใช้งานของแพทย์ เน้นสร้างความรู้ ความเข้าใจ และโรงพยาบาลต้องสามารถบริหารจัดการได้ภายใต้งบประมาณของสถานพยาบาล
นายธีราพงศ์ กล่าวเสริมว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประเทศไทยต้องประสบกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อันเป็นวิกฤตครั้งใหญ่และกินเวลามาเป็นระยะนาน รวมถึงมีการเกิดระลอกใหม่ขึ้น ส่งผลให้ทีมแพทย์ พยาบาล ต้องทำงานหนักแข่งขันกับเวลาที่จำกัด และจำนวนผู้ติดเชื้อมีเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้น คิว ไบโอซายน์ จึงแนะนำ "COVID-19 Solution" ( โควิด-19 โซลูชัน) นวัตกรรมทางการแพทย์ ประกอบด้วย 4 หมวด ได้แก่ 1. ชุดจัดเก็บสิ่งส่งตรวจ 2. ชุดตรวจหาเชื้อไวรัส 3. ชุดตรวจภูมิคุ้มกันแบบรวดเร็ว และ 4. ชุดควบคุมคุณภาพระหว่างทดสอบ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเข้าช่วยสนับสนุนระบบการทำงานทางห้องปฏิบัติการของทีมแพทย์ให้ตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้ทีมแพทย์สามารถตรวจผู้ป่วยเชิงรุกรับมือกับการแพร่ระบาดทั้งรูปแบบในวงจำกัด เช่น คลัสเตอร์โควิดโรงงาน เรือนจำ หรือการแพร่ระบาดในวงกว้าง ตามพื้นที่สีแดง จึงนับว่าเครื่องมือชุดนี้มีความสำคัญต่อวงการแพทย์ในช่วงโควิด-19 ในด้านประสิทธิผลที่ให้ความรวดเร็วและความแม่นยำในการตรวจคัดกรองโรค
ด้าน นายดนัย ประพันธ์สันติ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท คิว ไบโอซายน์ จำกัด กล่าวว่า ความสำคัญของ COVID-19 Solution คือการแยกคนป่วย ออกจากคนปกติเพื่อลดการแพร่ระบาด เพราะปัจจัยของการแพร่ระบาด คือการที่เราไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือไม่ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ นโยบาย งบประมาณและระยะเวลาที่สามารถรอผลการทดสอบได้ ที่ผ่านมาบริษัทฯ มีชุดตรวจแอนติเจนของไวรัสแบบรวดเร็วที่ได้นำไปใช้ที่สนามบินบุรีรัมย์ และบางจังหวัดเช่น ภูเก็ต อุดรธานี สกลนคร ได้มีการนำไปใช้เพื่อคัดกรองคนเข้าจังหวัด หรือใช้ก่อนเข้าสถานพินิจ แม้ว่าไม่ใช่วิธีมาตรฐานขนาด RT-PCR แต่เหมาะสมกับทุกปัจจัย หรือบางจังหวัดเช่นสกลนครมีการนำไปใช้คัดกรองนักโทษก่อนเข้าเรือนจำโดยวิธีมาตรฐาน RT-PCR เพื่อป้องกันการระบาดในวงกว้าง หากเป็นการคัดกรองด้วยวิธี RT-PCR ก่อนเข้าประเทศที่สนามบิน บริษัทฯ ก็มีเครื่องมือทันสมัยอย่าง Alinity m ซึ่งสามารถออกผลหลังจากส่งตัวอย่างเข้าเครื่องในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง ซึ่งโมเดลนี้ได้มีการใช้งานที่ประเทศฮ่องกงแล้ว ปัจจุบันค่าเฉลี่ยการตรวจคัดกรองในช่วง 30 วันที่ผ่านมาทั่วประเทศ คือ 60,000 เทสต์ต่อวัน โดยมี Positive rate เฉลี่ย 5% เราจึงเห็นตัวเลข positive ที่ประมาณ 3,000 คนต่อวัน และการแพร่ระบาดก็มีมากกว่า 80 คลัสเตอร์ทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่าห้องปฏิบัติการมีบทบาทอย่างมากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และ คิว ไบโอซายน์ ก็มีสินค้าตอบโจทย์ในทุกกระบวนการ
นายดนัย กล่าวต่อว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจหลักในส่วนงาน Abbott Molecular ของโรคไวรัสอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เมื่อมีการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เข้ามา การดำเนินงานจึงเป็นการขยายการทดสอบบนเครื่องมือที่มีอยู่เดิมและเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน โดยนวัตกรรมทางการแพทย์ชุด COVID-19 Solution (โควิด-19 โซลูชัน) บางส่วนของ คิว ไบโอซายน์ ได้เริ่มเข้าไปช่วยพัฒนาห้องปฏิบัติทางการแพทย์แล้วในช่วงโควิดระลอก 2 เป็นต้นมา โดยต้นเดือนกรกฏาคม 2564 นวัตกรรมทั้งหมดจะเข้าช่วยสนับสนุนระบบการทำงานของทีมแพทย์ครบสมบูรณ์ ซึ่งมีการแบ่งหมวดตามรูปแบบการทำงาน เริ่มต้นที่ 1. ชุดจัดเก็บสิ่งส่งตรวจ (Collection Kit) ประกอบด้วย 1.1 ชุด Swab สำหรับเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ หาเชื้อ SARS-CoV-2 บริเวณโพรงจมูกและลำคอ โดยก้านไม้ Swab ระบุจุด breakpoint เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เก็บสิ่งส่งตรวจใช้และสังเกต ป้องกันอันตรายกับคนไข้ และสามารถหักได้รองรับเมื่อปิดฝาและนำส่งตัวอย่างไปตรวจต่อไป 1.2 VTM (Viral Transport Media) สำหรับบรรจุสิ่งส่งตรวจแล้วเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลต่อ โดยประโยชน์ของ VTM คือสามารถรักษาสภาพสารพันธุกรรม DNA หรือ RNA ของเชื้อไวรัสได้ไม่น้อยกว่า 1 เดือน จัดเก็บได้ที่อุณหภูมิ 4-35 องศาเซลเซียสเหมาะกับอากาศในประเทศไทย และมี anionic surfactants ทำให้เชื้อไวรัสหมดความสามารถในการติดเชื้อ ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
ถัดมา 2. การตรวจหาเชื้อไวรัส ประกอบด้วย 2.1 การตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส ด้วยเครื่อง "Alinity m" ด้วยวิธี Real-time PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัส มีคุณสมบัติโดดเด่นหลายด้าน อาทิ รองรับขนาดหลอดทดสอบที่ใส่สิ่งส่งตรวจได้หลายขนาด นำเข้าเครื่องได้ทันที ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความปลอดภัยจากการถ่ายโอนสิ่งส่งตรวจ พร้อมวิเคราะห์ รายงานผลการทดสอบได้ในจำนวนมาก คือ 300 ตัวอย่างต่อ 8 ชั่วโมง และมากกว่า 1,000 ตัวอย่างต่อ 24 ชั่วโมง และออกผลได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง รวมทั้งน้ำยาตรวจวิเคราะห์ใช้ตำแหน่งยีนยืนยันของเชื้อ SARS-CoV-2 (Confirmatory gene) ตามองค์การอนามัยโลกกำหนด 2.2 การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัส เป็นชุดตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยตัวอย่างจำนวนมากได้แบบรวดเร็ว ใช้เวลาทดสอบประมาณ 15 นาที และปรับใช้ในการตรวจวิเคราะห์ได้หลายรูปแบบ ช่วยให้ตรวจผู้ป่วยเชิงรุกได้ในวงกว้าง เหมาะสำหรับการตรวจแบบไดร์ฟทรู การตรวจเยี่ยมที่บ้าน การตรวจ ณ จุดดูแลผู้ป่วย และสุดท้าย 3. การตรวจภูมิคุ้มกันด้วยชุดทดสอบรวดเร็ว ใช้เพื่อตรวจยืนยันว่าเคยมีการติดเชื้อไวรัสเกิดขึ้น ใช้เวลาทดสอบ 10-20 นาที สามารถใช้ในการศึกษาระบาดวิทยาของการติดเชื้อ ใช้ยืนยันการตรวจการติดเชื้อในกรณีคนไข้มีอาการแต่ผล RT-PCR เป็นลบหรือใช้ควบคุมการระบาดร่วมกับ RT-PCR หรือแอนติเจนตามนโยบาย Bubble and Seal และ 4. สารควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้ตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 ที่กำหนด โดยสามารถใช้ได้กับเครื่องมือทุกแพลตฟอร์มที่ห้องปฏิบัติการใช้ตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัส นายดนัย กล่าวทิ้งท้าย
อย่างไรก็ตาม แนวทางการตรวจวินิจฉัยโควิด-19 ทางห้องปฏิบัติการในประเทศไทยให้สอดรับกับสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไปนั้น ทีมบุคลากรทางการแพทย์จะมีการเลือกใช้ชุดทดสอบที่เหมาะสม โดยพิจารณาและประเมินจากพื้นที่ระบาด หรือประวัติความเสี่ยงของแต่ละบุคคล หรือการสัมผัสผู้ป่วย ร่วมกับอาการแสดงที่อาจมีมากหรือน้อย ไปจนถึงไม่มีอาการ ดังนี้
- ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่มี "ความเสี่ยงสูง" แนะนำให้รับการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ในสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ในช่วงที่สงสัยว่าสัมผัสเชื้อมาแล้ว 3-5 วัน รวมถึงกักตัว 14 วัน
- ผู้มีความเสี่ยงสูงแต่ได้รับการตรวจคัดกรองโดยชุดทดสอบแอนติเจนแบบรวดเร็วก่อนแล้วผลเป็นลบ จะต้องทำการยืนยันด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR
- คนไข้จำเป็นต้องผ่าตัดด่วน ซึ่งต้องการทราบผลการตรวจที่รวดเร็ว สามารถใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบรวดเร็วก่อนที่จะได้รับผล RT-PCR กรณีนี้แม้ได้ผลเป็นลบ ทีมแพทย์ยังคงต้องจัดการด้วยความระมัดระวังสูงสุด
- การระบาดในวงจำกัด (Bubble and Seal) เช่น โรงงาน เรือนจำ ตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR
- การระบาดในวงกว้าง มีผู้เสี่ยงติดเชื้อจำนวนมาก หรือพื้นที่สีแดง สามารถตรวจโดยใช้ชุดทดสอบแอนติเจนแบบรวดเร็ว หากผลเป็นลบ ให้ทำตามนโยบายของพื้นที่หรือจัดการตามความเสี่ยงของบุคคลตามข้อมูลเบื้องต้น หากผลเป็นบวกให้ทำการยืนยันด้วยวิธีมาตราฐาน RT-PCR หากต้องการใช้น้ำลาย อาจใช้การตรวจน้ำลายแบบรายบุคคล หรือจัดการคัดกรองด้วยเทคนิคอื่น โดยผลบวกควรยืนยันด้วยวิธี RT-PCR และเฝ้าระวังผู้ได้ผลลบ
สามารถติดต่อข้อมูลหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://qbiosci.com/ เพจเฟซบุ๊ก
Q Bioscience Co.,Ltd (https://www.facebook.com/qbioscience) หรือโทร. 02 580 8768
ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์