สถาบันประสาทวิทยายุโรปเผยผู้ป่วยโควิด-19 ประสบปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรม

จันทร์ ๒๑ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๐๘:๑๕
ผลการศึกษาใหม่ที่นำเสนอในการประชุมสถาบันประสาทวิทยายุโรป ( European Academy of Neurology) ครั้งที่ 7 ระบุว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ประสบปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรมในช่วง 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล [1]

จากการติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ปัญหาด้านความจำ การรับรู้มิติสัมพันธ์ และการประมวลข้อมูล อาจเป็นผลพวงของไวรัส

การศึกษายังพบด้วยว่า ผู้ป่วย 1 ใน 5 มีภาวะ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง และ 16% มีภาวะซึมเศร้า

การศึกษาดังกล่าวจัดทำในประเทศอิตาลี โดยมีการทดสอบความสามารถในการรับรู้และตรวจสมองด้วย MRI ภายใน 2 เดือนหลังหายป่วยจากโควิด-19 ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้ป่วยกว่า 50% มีปัญหาด้านการรับรู้ ขณะที่ 16% มีปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง (การควบคุมความจำเพื่อใช้งาน การคิดอย่างยืดหยุ่น และการประมวลข้อมูล) นอกจากนี้ ผู้ป่วย 6% ยังประสบปัญหาการรับรู้มิติสัมพันธ์ (แยกความลึกและมิติได้ลำบาก) และ 6% มีปัญหาความจำบกพร่อง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วย 25% มีอาการทั้งหมดร่วมกัน

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และจิตใจมีอาการแย่กว่ามากในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า โดยผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 50 ปีส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง

จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า ความรุนแรงของอาการทางเดินหายใจในระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสมองที่อยู่ในระดับต่ำ 

นอกจากนี้ จากการสังเกตกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน ณ เวลา 10 เดือนหลังหายป่วยจากโควิด-19 พบว่าปัญหาด้านการรับรู้ลดลงจาก 53% เหลือ 36% แต่ภาวะ PTSD และภาวะซึมเศร้ายังคงอยู่

Prof. Massimo Filippi จาก Scientific Institute and University Vita-Salute San Raffaele ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า "การศึกษาของเรายืนยันว่าปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับโรคโควิด-19 และปัญหาเหล่านี้ยังคงอยู่หลายเดือนหลังหายจากโรคแล้ว"

"ผลลัพธ์ที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการจดจ่อ วางแผน คิดอย่างยืดหยุ่น และจดจำสิ่งต่าง ๆ โดยอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่อยู่ในวัยทำงานมากถึง 3 ใน 4"

ผลการศึกษาครั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างประสิทธิภาพการรับรู้กับปริมาตรสมอง 

"เราจำเป็นต้องศึกษาในกลุ่มใหญ่ขึ้นและติดตามผลยาวนานขึ้น ถึงกระนั้น การศึกษาครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า โควิด-19 มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านการรับรู้และจิตใจ" Dr. Canu จาก San Raffaele Hospital ในมิลาน ซึ่งเป็นผู้ร่วมเขียนรายงาน กล่าวสรุป "การติดตามอาการและการรักษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยที่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอในการบรรเทาอาการเหล่านี้"      

[1] ผลการศึกษาด้านการรับรู้และพฤติกรรมของกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 หลังจากหายป่วย ซึ่งนำเสนอในการประชุมสถาบันประสาทวิทยายุโรป ครั้งที่ 7 ประจำปี 2564



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ