พช. จับมือเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติภาคอีสาน ร่วมลงแขกเอามื้อสามัคคี "โคก หนอง นา ปันบุญ"

จันทร์ ๒๘ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๐๙:๓๑
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายภารกิจให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายภคิน ศรีวงศ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงาน) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติภาคอีสาน นำโดย นายปริญญา นาเมืองรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติคนฮักถิ่น จังหวัดสกลนคร และประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติภาคอีสาน นายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิดระดับจังหวัด และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) อำเภอม่วงสามสิบ ร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ณ แปลงตัวอย่าง "โคก หนอง นา ปันบุญ" ซึ่งเป็นแปลงตัวอย่างตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." งบพัฒนาจังหวัดฯ ปี 2563 และพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบล (Community Lab Model for quality of life : CLM) ของนางพัฒนาพร แดงสะอาด บ้านดงยาง ตำบลดุมใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 

โดยมี นายศักดิ์สิทธิ บุญญะบาล อดีตประธานกลุ่ม SAVE UBON ในฐานะวิทยากรหลักประจำศูนย์เรียนรู้ แปลงตัวอย่าง "โคก หนอง นา ปันบุญ" บนพื้นที่ 33 ไร่ พร้อมด้วย นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และนางสาวพัฒนาพร แดงสะอาด เจ้าของแปลง ได้ร่วมให้การต้อนรับคณะจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติภาคอีสาน จำนวน 6 คน ซึ่งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์และน้อมนำแนวพระราชดำริไปสู่การปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่รัฐบาลและส่วนราชการหลายแห่ง ได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงาน "โคก หนอง นา" จึงถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ที่ได้ร่วมสนองนโยบายภาครัฐ และถือเป็นการร่วมทำบุญให้ชุมชน สังคม และผู้ได้รับผลกระทบจากภัยโควิด-19 ให้สามารถพึ่งตนเองได้และอยู่เย็นเป็นสุข นอกจากนั้น คณะฯ ยังได้ร่วมลงแปลงปรับพื้นที่และการเอามื้อสามัคคีหรือการลงแขกตามประเพณีดั้งเดิมของคนไทย ซึ่งเป็นกลวิธีในการขับเคลื่อนงาน โดยประสานความสามัคคีและเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ ไว้ด้วยกัน

สำหรับแปลงตัวอย่าง "โคก หนอง นา ปันบุญ" นั้น ได้การสนับสนุนการขุดปรับพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบล (Community Lab Model for quality of life : CLM) 15 ไร่ จากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 53 (นพค.53 ศรีสะเกษ) และงบพัฒนาจังหวัดปี 2563 พื้นที่ 8 ไร่ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันภายในศูนย์เรียนรู้ฯ มีทั้งหมด 9 ฐาน ประกอบด้วย 1)ฐานคนรักษ์แม่ธรณี 2)ฐานคนเอาถ่าน 3)ฐานคนรักษ์แม่โพสพ 4)ฐานคนมีน้ำยา 5)ฐานคนมีไฟ 6)ฐานคนรักษ์น้ำ 7)ฐานคนติดดิน 8)ฐานคนรักษ์ป่า และ 9)คันนาทองคำ ถือเป็นอีกหนึ่งผลผลิตและต้นกล้าแห่งความสำเร็จ จากโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" ที่หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และจังหวัดอุบลราชธานี ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณจนทำให้เกิดแปลงตัวอย่างที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบให้แก่ประชาชนทั่วไปพื้นที่ และขยายผลไปยังส่วนราชการ สถาบันการศึกษา ทหาร ตำรวจ ได้มาศึกษาเรียนรู้การพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้อย่างยั่งยืน

โอกาสนี้ นายศักดิ์สิทธิ บุญญบาล หรือ อาจารย์แขก เจ้าของแปลงและวิทยากรประจำฐาน ได้เปิดเผยว่า "การทำโคก หนอง นา มันคือทางรอด มิใช่ทางเลือก อย่างน้อยพื้นฐาน 4 พ. พอกิน พอใช้ พอกินและพอร่มเย็น ทำแบบคนมี คือ ใช้เงินทำงาน ไม่พึ่งตนเอง การทำแบบคนรวยก็จะไม่ประสบความสำเร็จกับการทำโคกหนองนา การทำโคกหนองนาที่จะสำเร็จก็คือการทำเรื่องของการพึ่งตนเองให้ได้ ทำอย่างไรให้พึ่งตนเองให้ได้ ถ้าพึ่งตนเองไม่ได้ พึ่งตนเองหมายถึงเรื่องอะไรบ้างตั้งแต่เรื่องของการที่จะต้องทำให้ตนเองมีกิน ทำให้ตนเองมีใช้ ทำให้ตนเองมีที่อยู่สมควรตามอัตภาพ มีพื้นที่ในการที่จะใช้ชีวิตให้มีความร่มเย็นแบบธรรมชาติ แต่ถ้าเกิดว่าเริ่มทำโคกหนองนาแล้วคิดว่ามันจะประสบความสำเร็จเหมือนเศรษฐกิจตาโต แต่ก่อนยาก เศรษฐกิจตาโต ก็คือ ทำเพื่อขาย ทำเพื่อให้ได้เงิน เป้าหมายสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโคก หนอง นา ก็คือ ระบบเครือข่าย ประโยชน์สูงสุดก็คือการที่จะทำให้สังคมกลับมาเกื้อกูลซึ่งกันละกัน สังคมมันจะดีขึ้น ดีขึ้นมาจากที่ทุกคนไม่อดยาก ทุกคนมีอยู่มีกิน เมื่อมีอยู่มีกินคนมันจะรู้สึกอิ่ม ก็คือเป็นบุญ เมื่อมันมีบุญมันก็จะสร้างบุญมันก็จะให้กันต่อไป ถ้าสังคมกลับมาแบบนี้สังคมมีความเอื้ออาทรสังคมมีการให้จะกลับมา อันนี้สูงสุดคือถ้าทุกคนทำได้แบบนี้ผมคิดว่าสังคมเราจะเป็นสังคมที่เกื้อกูล สังคมจะกลับมาเกื้อกูล สังคมมีความสุขจะกลับมา รอยยิ้มก็แบบเจอใครก็ยิ้มเพราะว่าทุกคนมีความสุข สวนของผมจึงตั้งชื่อว่า สวนปันบุญ" ศักดิ์สิทธิ์ บุญญบาล หรือ อาจารย์แขกกล่าวส่งท้าย 

ที่มา: อิมเมจ โซลูชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ