Fairbanc ได้รับเงินลงทุนจาก ADB, Accion, East Ventures และ Sampoerna เพื่อขยายการเข้าถึงผลิตภัณฑ์สินเชื่อแก่ผู้ค้ารายย่อยในอินโดนีเซีย

อังคาร ๒๙ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๐๘:๐๐
Fairbanc ประกาศว่าบริษัทได้รับเงินลงทุนเป็นตัวเลขเจ็ดหลักในการระดมทุนรอบ pre-Series A จาก ADB Ventures ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย, Accion Venture Lab, East Ventures, Sampoerna Strategic Group และผู้ลงทุนรายอื่น ๆ การสนับสนุนทางการเงินครั้งล่าสุดเกิดขึ้นภายหลังการลงทุนเมื่อไม่นานมานี้จาก 500 Startups และมหาเศรษฐีชาวอินโดนีเซีย Michael Sampoerna โดยเงินทุนก้อนใหม่จะช่วยให้ Fairbanc สามารถขยายการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับผู้ค้าปลีกรายย่อยของอินโดนีเซีย ซึ่งหลายรายประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุนหมุนเวียน

ธนาคารโลกประมาณการว่า วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ของอินโดนีเซียมีความต้องการสินเชื่อที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองถึง 166 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ Fairbanc ร่วมมือกับบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ขนาดใหญ่เพื่อเสนอตัวเลือก 'จ่ายทีหลัง' ผ่านคะแนนเครดิต (credit scoring) ที่มี AI เป็นขุมพลังขับเคลื่อน ซึ่งช่วยในการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อรายย่อยได้ทันที เครดิตจะช่วยให้ผู้ค้าที่ไม่มีบัญชีธนาคาร (unbanked) หรือเข้าไม่ถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน (underbanked) มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยการช่วยให้ผู้ค้าเหล่านี้สามารถเพิ่มสินค้าคงคลังได้

Mir Haque ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Fairbanc กล่าวว่า "สิ่งที่ทำให้ Fairbanc มีความพิเศษอย่างมากเมื่อเทียบกับฟินเทครายอื่น ๆ ก็คือการเชื่อมต่อกับแบรนด์คอนซูมเมอร์รายใหญ่ เช่น เครือข่ายผู้ค้าขนาดใหญ่ของ Unilever เพื่อเสนอเครดิต 'ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง' ให้แก่ผู้ค้าปลีกหลายหมื่นรายโดยไม่ต้องสมัครขอสินเชื่อหรือไม่จำเป็นต้องมีสมาร์ทโฟน การรวมระบบเข้ากับแอปจัดจำหน่ายของแบรนด์คอนซูมเมอร์ช่วยให้ Fairbanc เข้าถึงคำสั่งซื้อและประวัติการชำระเงินของผู้ค้า ซึ่งจะทำให้ Fairbanc สามารถใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลขั้นสูงและแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อรับประกันสินเชื่อและเพิ่มยอดขายของผู้ค้า ในขณะที่ยังคงอัตราการผิดนัดชำระหนี้และต้นทุนการดำเนินงานให้อยู่ในระดับที่ต่ำมาก"

นับตั้งแต่ก่อตั้ง Fairbanc ในปี 2562 สตาร์ทอัพรายนี้ได้ร่วมมือกับบริษัท FMCG รายใหญ่ เช่น Unilever, L'Oreal และ Danone เพื่อช่วยให้ MSMEs เพิ่มยอดขายได้มากกว่า 35% ในขณะที่จำกัดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ใกล้ระดับศูนย์

"Fairbanc กำลังเสริมศักยภาพและสร้างอนาคตให้กับบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Unilever ซึ่งหลายรายไม่มีบัญชีธนาคาร และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง" Francisca Ho หัวหน้าฝ่าย Customer Development Finance ของ Unilever Indonesia กล่าว พันธกิจในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินของ Fairbanc "สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Unilever ที่ต้องการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนนับล้าน ในขณะที่เราขยายธุรกิจของเราให้เติบโตไปพร้อมกัน"

ด้วยจำนวนผู้ค้าเกือบ 60,000 รายในเครือข่าย Fairbanc จะใช้เงินลงทุนก้อนใหม่นี้เพื่อขยายพันธมิตรผู้จัดจำหน่าย และเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมขายและทีมเทคโนโลยี นอกจากนี้ บริษัทกำลังพัฒนาระบบแนะนำผลิตภัณฑ์ให้มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึงการแจ้งเตือนในเวลาที่เหมาะสม เพื่อช่วยผู้ค้าวางแผนสินค้าคงคลังล่วงหน้าในกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับสภาพอากาศ ซึ่งอินโดนีเซียมีความเสี่ยงสูงในเรื่องนี้

"Fairbanc แสดงให้เราเห็นว่าบริษัทมีความสามารถและความชำนาญที่จะช่วยเชื่อมช่องว่างทางการเงินสำหรับผู้ค้าปลีกขนาดเล็กจำนวนมากในอินโดนีเซีย" Daniel Hersson ผู้จัดการกองทุนอาวุโสของ ADB Ventures กล่าว "การจัดหาสินเชื่อเพื่อสินค้าคงคลังและความเป็นผู้นำที่มีประสบการณ์ทำให้บริษัทแตกต่างอย่างโดดเด่นในตลาดฟินเทคที่มีผู้เล่นอยู่หนาแน่น และทำให้ Fairbanc เป็นพันธมิตรที่สำคัญสำหรับพันธกิจของเราในการเร่งขยายบริการทางการเงินให้ทั่วถึง และสนับสนุนความยืดหยุ่นในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก"

Michael Schlein ประธานและซีอีโอของ Accion กล่าวว่า "สถานการณ์การแพร่ระบาดในอินโดนีเซียยังไม่จบลงในระยะเวลาอันใกล้ และผู้ค้ารายย่อยเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโรคระบาด อย่างไรก็ดี Fairbanc กำลังอุดช่องว่างที่สำคัญในการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเหล่านี้ โดยช่วยให้พวกเขายังคงเปิดร้านและดำรงชีวิตต่อไปได้"

"Fairbanc ช่วยให้ผู้ค้ารายย่อยเข้าถึงโซลูชันทางการเงินเพื่อการวางแผนสินค้าคงคลังที่มีความจำเป็นมากได้อย่างราบรื่น ผ่านการฝังผลิตภัณฑ์ของตนลงในช่องทางจัดจำหน่ายของพันธมิตร งานของ Fairbanc สอดคล้องอย่างมากกับพันธกิจของเราในการสนับสนุนฟินเทคอย่างทั่วถึง และเราตั้งตารอที่จะได้ทำงานร่วมกับ Fairbanc เพื่อเข้าถึงธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อยทั่วอินโดนีเซียได้มากขึ้น" Paolo Limcaoco ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Accion Venture Lab กล่าว

"การสนับสนุน Fairbanc นั้นสอดคล้องกับพันธกิจของเราในการนำบริการทางการเงินที่ทั่วถึงมาสู่ผู้ค้าหลายล้านรายในอินโดนีเซียที่ยังไม่มีบัญชีธนาคาร เราเชื่อว่า Fairbanc เป็นส่วนเสริมที่แข็งแกร่งที่จะช่วยเร่งการปรับสินเชื่อห่วงโซ่อุปทานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" Melisa Irene หุ้นส่วนของ East Ventures กล่าว

สำหรับซีอีโอของ Fairbanc ได้แก่ Mir Haque ซึ่งเคยร่วมงานกับ McKinsey & Company, Deutsche Bank และ Adobe มาก่อนหนานี้ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัทคือ Kevin O'Brien ซึ่งเป็นอดีตซีทีโอของแพลตฟอร์มสินเชื่อรายย่อย Kiva ขณะที่หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของบริษัทคือ Siswanto Hadiprayitno ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปีในด้านการขายและการบริหารจากการร่วมงานกับบริษัทใหญ่ในอินโดนีเซีย ซึ่งรวมถึง Unilever Indonesia, Mead Johnson Indonesia และ Tiga Raksa Satria

สื่อมวลชนติดต่อ

Mir Haque: [email protected]
หมายเลขโทรศัพท์: +1-917-463-7582



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ