เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของภูมิคุ้มกันจะลดลง ทำให้ผู้สูงวัยมีความอ่อนไหวต่อโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่และปอดบวม ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ การฉีดวัคซีนยังคงเป็นหนึ่งในมาตรการที่คุ้มค่าใช้จ่ายมากที่สุดที่มีอยู่เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ
แม้ว่าการฉีดวัคซีนตลอดชีวิตจะมีประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด แต่ทว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงล้าหลังเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นของโลก โดยมีอัตราการสร้างภูมิคุ้มกันต่ำกว่า 75% เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกันที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก
จอห์น แจ็คสัน ประธานฟอรั่มเภสัชศาสตร์ประจำภาคพื้นแปซิฟิคตะวันตก กล่าวว่า "ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกตะวันออกเฉียงใต้กำลังให้ความสำคัญกับโควิด-19 ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ดี เราต้องให้ความสนใจกับปัญหาเร่งด่วนอีกเรื่องหนึ่งด้วย นั่นคือ สังคมสูงวัย เมื่อคนเราอายุมากขึ้น จะมีความอ่อนไหวต่อโรคแทรกซ้อนทางสุขภาพมากขึ้น โรคต่างๆ ที่ทำร้ายผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกัน ดังนั้นแล้ว บทบาทและคุณค่าของการฉีดวัคซีนตลอดช่วงชีวิต หรือการฉีดวัคซีนในทุกช่วงชีวิตหลังวัยเด็กยังคงเกิดขึ้นไม่เต็มภาคส่วน" พร้อมกันนี้ จอห์นได้เสริมว่า "จากรายงานของวันนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับรัฐบาลในภูมิภาคนี้ เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมภาวะสูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง ควบคู่ไปกับความเจริญทางเศรษฐกิจ"
จากรายงาน คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาค ประกอบด้วย :
- ตระหนักถึงการสร้างภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตเป็นส่วนสำคัญของการสร้างผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดี และการทุ่มเททรัพยากรเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี
- เชิญชวนผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ เป็นผู้นำทางความคิดและแนวร่วมในการสนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันตลอดช่วงชีวิต
- ให้การสนับสนุนในระดับรากหญ้า โดยการแบ่งปันเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีน ตลอดจนอุดช่องว่างทางดิจิทัลของผู้สูงอายุ ในการเข้าถึงข้อมูลและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน
- การปรับปรุงการเข้าถึงจุดฉีดวัคซีนสาธารณะ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ต้องการรับการฉีดวัคซีนสามารถทำได้ตามความสะดวก - ในสถานที่ใกล้เคียงกับกิจวัตรประจำวันของผู้สูงวัย
- ภาคเอกชน ช่วยสนับสนุนการฉีดวัคซีนประจำปีให้กับพนักงานตนเองซึ่งรวมอยู่ในสวัสดิการที่ให้พนักงาน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย ที่ออกโดยบริษัทประกันด้านสุขภาพซึ่งจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน
คริส ฮัมฟรีย์ ผู้อำนวยการบริหาร สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป กล่าวว่า "ในขณะที่คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นเสมอไป รายงานนี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่สามารถควบคุมได้ โดยสร้างประชากรวัยทำงานที่เป็นผู้สูงวัยให้มีสุขภาพแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะดำเนินการตามนโยบายที่ถูกต้อง ซึ่งรวมถึงการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันด้วย"
เอริค แมนชั่น ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ กล่าวว่า "การมีสุขภาพดี คือ ความมั่งคั่งของชีวิต ซึ่งการดูแลผู้สูงวัยเป็นเรื่องที่ให้ผลดีที่มากกว่าด้านการเงิน การเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดีจะช่วยให้กลุ่มประชากรผู้สูงวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงเวลาทองของชีวิต และสร้างผู้สูงวัยให้เป็นผู้ให้ต่อสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นรวมถึงเรื่องอื่นๆ ดังนั้นแล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตควรได้รับการจัดลำดับความสำคัญให้เป็นเรื่องเร่งด่วนในนโยบายผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นของสังคมผู้สูงอายุ และเพื่อป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน"
แจ็คสัน กล่าวเสริม "แม้ว่าการสร้างโปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันตลอดช่วงชีวิต จะเป็นการดำเนินการที่มีราคาแพงและซับซ้อน แต่ทางเลือกอื่น อาจจะมีราคาแพงมากกว่า ไม่ใช่แค่เพียงด้านการเงิน" พร้อมเสริมต่อว่า "ทั้งนี้ การดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาประชากรสูงวัยให้มีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นมาตรการที่จำเป็น และต้องเร่งดำเนินการอย่างรวดแร็วและเด็ดขาด และมิอาจรอช้าได้"
หากท่านสนใจ สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://healthyageingasean.org/
เกี่ยวกับรายงาน "ทศวรรษของผู้สูงวัยสุขภาพดีในอาเซียน: บทบาทของการสร้างภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต"
สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุดรป ร่วมกับ เคพีเอ็มจี สิงคโปร์ และได้รับการสนับสนุนจากซาโนฟี่ และฟอรั่มเภสัชศาสตร์ประจำภาคพื้นแปซิฟิคตะวันตก (Western Pacific Pharmaceutical Forum) จัดทำรายงานในหัวข้อเรื่องการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีและบทบาทของการสร้างภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แจ้งวาระและการเจรจาระดับสูงในภูมิภาคและท้องถิ่น รายงานครอบคลุม 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยมีข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 27 คนใน 6 ประเทศดังกล่าว รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา
ที่มา: พรีเชียส คอมมูนิเคชั่น